ในสหรัฐอเมริกา ผู้คนขับรถน้อยลงเรื่อยๆอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 เป็นต้นมา แม้ว่าบางฝ่ายจะให้เหตุผลว่าเป็นเพราะวิกฤตเศรษฐกิจช่วงปี 2008 แต่อีกฝ่ายก็มองว่าเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนนั้นแล้ว และแม้ช่วงสองปีนี้เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวแล้ว ผู้คนส่วนใหญ่ก็ยังใช้รถน้อยลงอยู่ดี
ที่ว่าใช้รถน้อยลงนี้ หมายถึงขับรถเป็นระยะทางที่สั้นลง ข้อมูลนี้มาจากการเก็บข้อมูลระยะทางใช้รถโดยรวมทั้งประเทศ หรือ ตัวเลขระยะทางที่ยานพาหนะแต่ละคันวิ่ง (VMT = Vehicle Mile Driven) ว่าผู้คนขับรถกันเป็นระยะทางรวมทั้งปีเป็นระยะทางเท่าไร
ระยะทางที่แต่ละคนขับรถต่อเดือนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี คศ. 1980 มาถึงจุดสูงสุดในเดือนกรกฎาคม 2004 ที่ 900 ไมล์ (1,448 กม.) ต่อเดือน จากนั้นแนวโน้มก็กลับทิศลงและดูเหมือนจะลงดิ่งในอัตราเร่งมากขึ้นเรื่อยๆ แม้จำนวนประชากรจะมากขึ้นและเศรษฐกิจพ้นวิกฤตแล้วก็ตาม
มีการวิเคราะห์กันว่า นี่เป็นผลจากการที่ IT และอินเตอร์เน็ตพัฒนารวดเร็วจนลดความจำเป็นของการที่ต้องเดินทางไปติดต่องานหรือประชุมพบปะกันลงเรื่อยๆ ฉะนั้นคนที่ขับรถก็น้อยลงตาม ส่วนคนหนุ่มสาวก็มี social media ให้พูดคุยสื่อสารกันสะดวกกว่ายุคเก่ามาก ไม่จำเป็นต้องขับรถไปหากันเท่าสมัยก่อน และอีกเหตุผลที่อาจเป็นได้ก็คือ ราคาน้ำมันและพลังงานอื่นๆก็แพงขึ้นมาเรื่อยๆ
นอกจากนี้ smartphone, tablet, และ gadget อื่นๆสารพัดก็มาเบียดเบียนงบประมาณใช้จ่ายของคนรุ่นใหม่ให้ลดการใช้จ่ายในการขับรถไกลๆหรือแม้แต่ลดความสนใจในการซื้อรถลงด้วย
ในไทยเรา ดูเหมือนการใช้รถโดยรวมจะสูงสุด ณ จุดนี้ตอนนี้นี่เอง ที่รถจากโครงการรถคันแรกออกมากันครบหมดแล้ว แต่นับจากนี้ไป ไม่แน่ว่าจะมีแต่การลดลงต่อเนื่องเหมือนในสหรัฐฯหลังปี 2005 ก็เป็นได้
source :