เปิดฐานข้อมูลนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกที่เข้ามาเที่ยวเชิงการแพทย์ในไทย

  • 1.4K
  •  
  •  
  •  
  •  

ภาพประกอบMedia Briefing 18DEC18 - 1-700

ไม่ใช่แค่ฟ้าสวย ทะเลใส ประเทศไทยยังโดดเด่นในเรื่องการให้บริการเชิงการแพทย์ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก โดยเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวต้องการเข้ามท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourism) เป็นอันดับต้นๆ ของโลกที่ และมีแนวโน้มขยายตัวขึ้นทุกปี ทำให้สถานพยาบาลต่างๆ เพิ่มบริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสุขภาพ เพื่อเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์

จากข้อมูลของ การท่องเที่ยวแห่งรประเทศไทย (ททท.) เผยว่า ปี 2560 ประเทศไทยสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ที่เข้ามาใช้บริการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและความงามกว่า 23,000 ล้านบาท และคาดว่าปี 2561 จะเพิ่มสูงขึ้น 13.9% หรือประมาณ 26,000 ล้านบาท

ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ที่เดินทางมาไทยมักมาเพื่อรักษาโรคเฉพาะทาง ตรวจสุขภาพ บริการด้านการชะลอวัย และศัลยกรรมความงาม เนื่องจากบริการเหล่านี้ในไทยมีชื่อเสียงและมาตรฐานใกล้เคียงโรงพยาบาลในยุโรป ทั้งเรื่องเทคโนโลยี ระยะเวลาในการรอคิว และค่าใช้จ่ายที่ประหยัดกว่าประเทศอื่นๆ

shutterstock_515200255

จากข้อมูลของ วีซ่า และ Oxford Economics เผยว่า ภาพรวมตลาดท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพระดับโลกในปี 2016 มูลค่าตลาดอยู่ที่ 100 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีจำนวนนักท่องเที่ยว 11-14 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 25%

4 บริการทางการแพทย์ที่เติบโตที่สุดในไทย

สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาไทยเพื่อใช้บริการการแพทย์มากที่สุดคือ จีน เนื่องด้วยการปรับนโยบายใหม่ ที่อนุญาตให้แต่ละครอบครัวมีลูกได้ 2 คน ทำให้บริการการรักษาผู้มีบุตรยาก IVF ได้รับความนิยมอย่างมาก และเป็นบริการที่มีค่าใช้จ่ายสูงสุด อยู่ที่ 200,000 – 400,000 บาทต่อครั้ง นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวจีนยังใช้บริการ Anti-Aging & Wellness มากที่สุด ซึ่งสร้างรายได้ให้ประเทศไทยกว่า 23,000 ล้านบาท

Slide7 Slide8 Slide9 Slide10

10 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเดินทางมาใช้บริการเพื่อสุขภาพในไทย

หากมองในเรื่องคุณภาพการรักษาและค่าใช้จ่ายต่อครั้งแล้ว ทำให้ไทยติด Top 10 ของประเทศที่มีการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพดีที่สุด และเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ค่าใช้จ่ายต่อครั้งก็ประหยัดกว่าด้วย โดยเฉลี่ยมีค่าใช้จ่ายต่อครั้ง 30,000 – 90,000 บาท จากตารางด้านล่างจะเห็นว่าไทยเป็นรองแค่ประเทศอินเดียเท่านั้น

Slide5

Slide17

ผลพลอยได้คือ กระตุ้นการท่องเที่ยว

นอกจากการมาเพื่อรับบริการด้านสุขภาพแล้ว นักท่องเที่ยวยังถือโอกาสนี้มาเที่ยวด้วย ส่วนใหญ่มาเพื่อช้อปปิ้ง ทำสปา เที่ยวทะเล และชมเมืองเก่า ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองมาตรฐานในระดับสากล JCI (Joint Commission International Accreditation) 64 แห่ง มากเป็นอันดับ 1 ของภูมิภาค AEC และเป็นอันดับ 4 ของโลก ซึ่งสถานพยาบาลส่วนใหญ่อยู่ในเมืองท่องเที่ยว ครอบคลุม 12 จังหวัดทั่วประเทศ อาทิ กรุงเทพฯ เขาใหญ่ พัทยา หัวหิน เกาะช้าง เกาะสมุย เกาะพะงัน ภูเก็ต เป็นต้น

นอกจากค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพแล้ว ค่าใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวต่อทริปก็ไม่น้อยเช่นกัน เฉลี่ยอยู่ที่ 32,000 – 98,000 บาท นอกจากค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพแล้ว ค่าใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวต่อทริปก็ไม่น้อยเช่นกัน เฉลี่ยอยู่ที่ 32,000 – 98,000 บาท ทำให้ททท. ต่อยอดจัดแคมเปญชวนนักท่องเที่ยวมาเที่ยวเมืองรอง

Slide35

 


  • 1.4K
  •  
  •  
  •  
  •