การสร้างแบรนด์ให้ GOOD GROWTH ในระยะยาว ต้องรับผิดชอบต่อโลกและสังคม

  • 10
  •  
  •  
  •  
  •  

GOOD GROWTH

กลยุทธ์การตลาดในยุคนี้มีความท้าทายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา ในยุควิกฤตโควิด-19 ที่ต้องให้ความสำคัญ และสร้าง Brand Awareness อย่างต่อเนื่องมากขึ้น ที่ผู้บริโภคนอกจากจะจดจำ และเพิ่มการรับรู้ในตัวสินค้า จนกลายเป็นความเชื่อมั่นในแบรนด์และต่อยอดต่อไป

ซึ่งการสร้างแบรนด์หลังจากนี้คงใช้รูปแบบเดิม ๆ ไม่ได้ แต่แบรนด์ต้องสามารถต่อยอดไปสู่ GOOD GROWTH ในระยะยาวได้ พิทักษ์ อินทรทูร กรรมการผู้จัดการ Mindshare Thailand ได้แชร์ประสบการณ์ EMBRACING THE ERA OF GOOD GROWTH ให้มากที่สุด เร็วที่สุดในยุคของการเปลี่ยนถ่ายที่เร็วที่สุด อย่างที่รู้กันอยู่ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ได้มีการเปลี่ยนจากโควิด-19 การจะทำธุรกิจรูปแบบเดิมคงไม่ได้ ต้องมีความรับผิดชอบต่อโลก ต่อสังคมด้วย

สิ่งที่เป็น Fundamental ของ GOOD GROWTH

โดยสิ่งที่ สิ่งที่ Mindshare ทำในช่วงที่ผ่านมา จะนึกถึงแคปเปญที่ทำในช่วงสั้น ๆ GOOD GROWTH ทำให้มองย้อนกลับมา ในช่วง Short Term แค่การมองผ่าน Demand หรือ แค่ Sales via Platform Ecosystems แต่ให้มองภาพไปใน Long Term ด้วยว่า สามารถสร้าง Building Trust & Enduring Relationships รวมถึงสร้าง Brand Building ในระยะยาวได้อย่างไร ไปจนถึง Value ในช่วง Long Term จะสร้างได้อย่าไร นี่คือสิ่งที่เป็น Fundamental ของ GOOD GROWTH

ส่วน Good System ของ Mindshare ซึ่งมีขั้นตอนตั้งแต่ Discovery การค้นหา Insight ได้ เพื่อหา Audience Mindset Design และสุดท้ายก็คือการ Media Plan Delivery ซึ่งถือว่าเป็นระบบที่ค่อนข้างง่าย แต่ว่ามีการนำ GOOD GROWTH เข้ามาในระบบการจัดการ ภายใต้การทำงาน GOOD GROWTH คือเรื่องของ Precisely Human Intelligence

GOOD GROWTH

ตัวอย่าง กรณีศึกษางานโฆษณาที่มี GOOD GROWTH

ตัวอย่างที่ถือว่าเป็นกรณีศึกษาทั้งของในประเทศไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวกับเรื่องของ GOOD GROWTH ที่เราเห็น ทั้ง GOOD GROWTH ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว กับ GOOD GROWTH ในระยะยาวที่สามารถสร้างสังคมได้

1.กรณีศึกษา แบรนด์ซุปไก่สลัด กับแคมเปญ ฮึบ For Hero นี่คือหนึ่งตัวอย่างที่เป็นลูกค้าของ Mindshare โดยการจับช่วงที่มีวิกฤติ 2 ปีที่ผ่านมาทุกคนเหนื่อยยากลำบากมาก บุคลากรแถวหน้าทางการแพทย์เหนื่อยยากลำบากมากกับการที่ต้องต่อสู้กับโรคโควิด-19 แบรนด์ก็เลยมีแคมเปญนี้ออกมาเพื่อให้ทุกคน ฮึบ เพื่อให้จะเป็น Hero ของสังคมไม่ใช่แค่แบรนด์จะส่งต่อให้กับคนแถวหน้าเหล่านี้ แต่แบรนด์ยังทำหน้าที่ในการส่งต่อไปยังผู้คนเหล่านั้นให้ได้ง่ายขึ้นด้วยซ้ำ ให้เครดิตกับคนแถวหน้าว่า บุคคลเหล่านี้คือ Hero ของเรา เป็นหนึ่งในแคมเปญที่ทำแล้วได้เข้าชิงในหลาย ๆ รางวัลในอุตสาหกรรมธุรกิจเดียวกัน

2. กรณีศึกษา แบรนด์ สินค้า Dove จากประเทศสวีเดน ได้มองเห็นว่า ปัญหาของมะเร็งเต้านมในผู้หญิงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ในขณะเดียวกันหากมันไม่เกิดขึ้นผู้หญิงส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก สิ่งที่ Dove ทำก็คือ มีแอพพลิเคชั่นที่สอนให้ผู้หญิงมีท่าตรวจเช็คได้เองว่า ขั้นตอนแรกจะต้องทำอย่างไรที่จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าเป็นมะเร็งเต้านมแล้วหรือยัง ซึ่งก็เป็นการให้ความรู้ และเป็นการนำ GOOD GROWTH มาใช้กับ แบรนด์ด้วย ไม่ใช้สนใจเพียงยอดขายเพียงอย่างเดียว

3. กรณีศึกษา แบรนด์สินค้า Lifebuoy จากประเทศเวียดนาม ไม่ใช่แค่แบรนด์สามารถช่วยในเรื่องของโควิด -19 เพียงการแจกสบู่เพื่อป้องกันเพียงอย่างเดียว แต่สิ่งที่ Lifebuoy ทำเข้าไปศึกษาคนเหล่านั้นด้วยว่า วิธีการป้องกันตัวเองจากโควิด-19 ต้องทำอย่างไร แต่เป็นวิธีการเอ็นเตอร์เทน โดยการมีท่าเต้นขึ้นมาเพื่อสอนประชาชนทั่วไปได้รู้ถึงวิธีการป้องกันตัวจาก Social Distancing ได้อย่างไร ขณะเดียวกันพอมีเรื่องของข่าวเฟคนิวส์ออกมา สิ่งที่ Lifebuoy พยายามปล่อยข่าวที่เป็นจริงออกมาตามสถานที่ต่าง ๆ ให้คนรู้ว่าข่าวจริง เรื่องจริงมันคืออะไร ถือเป็นอีหนึ่งตัวอย่างที่ดีในการทำ GOOD GROWTH กับสิ่งที่เกิดขึ้น

4.กรณีศึกษา แบรนด์สินค้า Dove ประเทศไทยกับแคมเปญ “เพื่อหยุดกฎการตัดผม เพื่อทุกคน” ผู้หญิง 7 ใน 10 คน เคยเสียความมั่นใจจากการถูกบังคับตัดผม หากมองย้อนกลับไปว่า หาก Dove ไม่ได้นำเรื่องนี้ชูขึ้นมาเป็นประเด็น ว่าในสมัยก่อนเด็กนักเรียนต้องตัดผมสั้น จึงมีการตั้งคำถามเหล่านี้กับเด็กคนรุ่นใหม่ การทำให้สังคมได้ฉุกคิดปัญหาเหล่านี้ เพื่อถึงความมั่นใจให้กลับเข้ามาสู่เด็กผู้หญิงไทยอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้รู้สึกเกิดความมั่นใจในตัวเองเป็นเรื่องที่สำคัญมากกับการที่จะบังคับในเรื่องของการ GOOD GROWTH ให้กับเด็กสมัยใหม่ ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า Dove จับเอา Insight ตรงนี้ขึ้นมา ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีแนวทางที่น่าสนใจเพื่อเป็นแนวทางให้กับประเทศไทย

GOOD GROWTH

Precisely Human Intelligence หัวใจสำคัญของ การทำ GOOD GROWTH

Precisely Human Intelligence สิ่งที่ Mindshare มองว่าเป็นหัวใจสำคัญของการทำ GOOD GROWTH ก็คือ
Accuracy คือความแม่นยำ ขณะเดียวกันก็มี Empathy คือการมองเห็น ซึ่งมากกว่าการที่เห็นอกเห็นใจเท่านั้น มันเป็นการที่ต้องนำตัวเองเข้าไปอยู่ตรงนั้นด้วยว่า ลูกค้ามีความคิดอย่างไร มีพฤติกรรมยังไง โดยเป็นการร่วมศาสตร์กับศิลปะ เข้ามีรวมกันไม่ว่าจะเป็น Data Strategy , Commerce , Analytics นำมาใช้เพื่อให้เกิดความแม่นยำ ขณะเดียวกัน Empathy ก็ต้องมี Consumer Insights , Content & Creative เพื่อที่จะผลิตออกมา รวมถึง Innovation ที่จะทำ และ Comms Planning ที่จะต้องทำแผนงานนออกมาให้แม่นยำถูกต้อง เหล่านี้เข้ามารวมกันก็จะกลายเป็น “Precisely Human Intelligence” ที่จะช่วยความเป็น GOOD GROWTH ให้กับแบรนด์

สำหรับ Mindshare ประเทศไทย จัดอันดับเป็นที่ 2 ของโลก ที่ตั้งออฟฟิศขึ้นมา ปัจจุบัน Mindshare ประเทศไทยเป็น 1 ใน 12 ออฟฟิศสูงสุดในตลาดโลกเป็นบริษัทที่แข็งแกร่งที่สุด 1 ในประเทศไทย ซึ่งนั้นมาจากลูกค้าที่พาร์ทเนอร์ที่เป็นบลูชิพชั้นนำที่มีทีมงานแข็งแกร่งด้วยกัน

อย่างไรก็ตาม Mindshare ไม่สามารถแข็งแกร่งได้คนเดียว GroupM  เป็นเบอร์ 1 ของการซื้อสื่อทั่วโลก 30% ของ global media ซึ่งมาจาก GroupM ขณะที่ในแง่ของการเติบโตมองไปในพื้นที่ใหม่ ๆ เสมอ e-commerce ทำให้ GroupM มีการเติบโตเพิ่มขึ้นในปี 2021 อยู่ที่ 60%

สุดท้าย Mindshare มองถึงเรื่อง GOOD GROWTH ไม่ใช่แค่เพียงลูกค้าเท่านั้นแต่ เราเองก็ยังต้องก้าวไปสู่ Next Zero ในปี 2030 ด้วยเช่นกัน นี่ถือว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวที่สำคัญในการทำการตลาดในยุคแห่งอนาคตต่อไป


  • 10
  •  
  •  
  •  
  •  
sabuysuk
การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นทุกวัน ล้วนแล้วแต่ได้กำไร