การบริหารลูกน้องคนรุ่นใหม่และเก่าในยุคดิจิทัล ผู้นำองค์กรจะต้องเลือกบริหาร Command or Compromise ถึงจะมีประสิทธิภาพ

  • 200
  •  
  •  
  •  
  •  

บริหารงานในองค์กรยุคดิจิทัล

ปัจจุบันการบริหารงานภายในองค์กรยุคดิจิทัลที่มีเทคโนโลยีมากมายให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย บวกกับต้องบริหารงานอยู่บนภายใต้สภาวะแวดล้อมกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน อย่าง ภายโควิด -19 ที่เป็นตัวเร่งให้รูปแบบการทำงานในองค์กรเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด จากที่ต้องเดินทางมาทำงานที่ออฟฟิศ แต่ต้องย้ายไปทำงานไปอยู่ที่บ้านแทนเพื่อให้เข้ากับยุคสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงถือว่าเป็นความท้าทายในบริบทหนึ่งของผู้นำองค์กร

โดยเฉพาะองค์กรที่มีคนรุ่นใหม่ ถือเป็นความท้าทายอย่างมากของผู้บริหาร young generation จะมีวิธีการบริหารลูกน้องในทีมอย่างไรให้ทั้่งคนรุ่นใหม่และคนรุ่นทำงานได้อย่างมีความสุข โดยจะมีวิธีการเลือกจัดการระหว่าง Command หรือ Compromise ซึ่ง พรทิพย์ กองชุน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเติบโต (Chief Growth Officer) บลจ.จิตตะ เวลธ์ และโศรดา ศรประสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Publicis Groupe Thailand (Chief Executive Officer, Publicis Groupe Thailand) ผู้นำองค์กรคนรุ่นใหม่ ได้ให้แง่คิดของการบริหารลูกน้องในยุคนี้ ผ่านงาน Creative Talk Conference 2022 (CTC 2022) ในหัวข้อ The Art of Leadership: Command or Compromise ได้อย่างไร

ยุคนี้ประเภทธุรกิจมีความสำคัญในการการบริหารคนในองค์กรหรือไม่?

ในความเป็น Leadership การเป็นผู้นำขององค์กรทั้งด้านธุรกิจและพนักงานในองค์กร ซึ่ง พรทิพย์ บอกว่า หลักการบริหารจะเหมือนกัน แต่เวลานำไปปฎิบัติกับพนักงานในองค์กรอาจจะมีความแตกต่างกันได้ เพราะว่าบางธุรกิจคนที่ทำด้านโรงงานก็อาจจะแตกต่างจาก บลจ.จิตตะ เพราะเราทำเทคโนโลยีเป็นสตาร์ทอัพ ที่เน้นในเรื่องของ Innovation เพราะฉะนั้นเราจะให้แนวทางในการเป็นผู้นำองค์กรในรูปแบบเดียวกัน อาจจะมีความแตกต่างกันบ้าง

แต่ ณ ปัจจุบันการบริหารอาจจะค่อนข้างผสมผสานกันมาก ๆ เพราะต่อให้ธุรกิจต่างกัน รูปแบบการบริหารองค์กรที่ต่างกัน แต่ทุกคนจะมีจุดที่ต้องมาเจอเหมือนกันที่เป็น Trigger Point คือ โลกมันหมุนไปเหมือนกันเลย ณ ขณะนี้ ตอนนี้มีผันผวน มีความเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้นการปรับตัวของทุกคนจะเหมือนในจุดที่คล้าย ๆ กัน เพราะทุกวันนี้สิ่งที่ต้องปรับ และเราจะเป็นผู้นำแบบไหนจะสามารถนำองค์กรแบบไหนมันเหมือนกับ Reset เพื่อเริ่มต้นมองบริบทโลกทำให้ ธุรกิจ เศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงไป คนมี Miset ที่เปลี่ยนไป

ขณะที่ โศรดา ได้เสริมข้อมูลว่า การเป็น Leadership ไม่ต่างกัน เพียงแต่มีเรื่องของ Under Standing ที่ต้องปรับตัวมาก ๆ อย่างที่บอก พอเราต้องทำงานกับคนที่หลากหลายมาก ๆ การทำงานกับคนที่มีความแตกต่างกัน พอนำมารวมกันจริง ๆ แล้วความต้องการของคนนั้นไม่เหมือนกัน และการแก้ไขปัญหาในการทำงานของครีเอทีฟ วิธีการทำงานก็ไม่ได้เหมือนกันซะทีเดียวกับทางมีเดีย ไม่ได้เหมือนกับกับฝั่งของพีอาร์ มันเลยทำให้เราต้องจับหลักของแต่ละคนว่า จริง ๆ แล้ว พื้นฐานของแต่ละของคนเป็นอย่างไร จากนั้นค่อยมา Under Standing ที่เราต้องทำความเข้าใจ พอทำความเข้าใจแล้ว ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารจะใช้หลักการ Command หรือ Compromise เมื่อเข้าใจแล้วจะใช้สิ่งนั้นมาตัดสินใจที่นอกเหนือปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นการใช้ศิลปะในการบริหารคนอย่างหนึ่ง

บริหารงานองค์กรยุคดิจิทัล

นิยาม Leadership ในความหมายของผู้บริหารเป็นอย่างไร

Leadership ในความเป็นผู้นำมุมของ Startup พรทิพย์ บอกว่า เคยได้ฟังคุณอนันต์ ไม่ได้คิดเองไปฟังเค้าเล่ามาอีกว่า คุณอนันท์ ปันยารชุนน อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ให้นิยามไว้ว่า ผู้นำคือคนที่มีผู้ตาม ผู้นำคือ Leader ได้คุณต้องมีผู้ตาม เพราะฉะนั้นหากย้อนไปในสมัยก่อนก็ทำให้บริบทเปลี่ยนแปลงจากในยุคปัจจุบัน การที่จะเป็นผู้นำได้คือ ต้องเป็นคนที่มีอำนาจอยู่ในมือ ต้องมีตำแหน่ง ถึงจะเรียกว่า เป็นผู้นำได้

แต่ปัจจุบันนิยามของ Leadership คือ

1.ความเป็นผู้นำที่มีอิทธิพล หรือเป็นคนที่สามารถโน้มน้ามให้คนเหล่านั้่นได้หรือไม่ ในอิทธิพลทางความคิด แต่ต้องมาดูอีกทีว่า บุคคลผู้นั้นมีอะไร ทำไมถึงต้องตามคนนี้ เช่น บริษัทแห่งนี้อาจจะมีแนวความคิดที่คล้ายกัน มีวิสัยทัศน์ที่ตรงจุดกับเขา จึงสามารถทำให้คนเหล่านั้นพร้อมที่จะเดินตามผู้นำที่เป็น Leader ได้

2.หลังจากนั้นพอบุคคล คนนั้นได้เข้าไปร่วมงานกับองค์กรที่ตรงกับความคิดของตัวเองแล้ว เพราะเขาอยู่ในองค์กรนี้ได้เรียนรู้ สิ่งที่ Leader หรือบริษัทมีประสบการณ์ และพร้อมที่จะเติบโตไปกับองค์กร หรือเติบโตขึ้นจากการได้เรียนรู้จาก Leader คนนี้

3.Leader ต้องมีการช่วยเหลือพนักงาน หรือสนับสนุนให้พนักงานในองค์กรได้เติบโตในหน้าที่การงานได้ เช่น บลจ.จิตตะ เป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่กำลังมีการเติบโต ฉะนั้น Leader มองดูแล้วในองค์กรมีคนเก่งที่พร้อมจะเติบโตต้องคอยสนับสนุน หรือขยับตำแหน่ง ทำให้พนักงานอยากจะเข้ามาทำงานหรือตาม Leader อย่างเต็มใจเพราะทำให้พนักงานได้ประโยชน์ในสิ่งที่เขาจะตามนั่้นเอง

เพราะฉะนั้น Leader ที่ดีควรทำอย่างไรให้เค้าได้ประโยชน์ หรือได้สิ่งที่พนักงานกำลังมองหา และสิ่งที่พนักงานต้องการด้วย อันนี้คือ Leader ที่ดี ไม่เช่นนั้นพนักงานคนนั้นจะตัดสินใจมาเป็นผู้ตามของคนนี้ หรือบริษัทนี้ทำไม

ส่วน คำนิยามของ โศรดา Leader คือ

L – Love ความรัก ความเอาใจใส่เป็นหลักเพราะเรารู้สึกอยู่เสมอว่า เมื่อไม่รักในสิ่งที่ตัวเองทำ มันทำไม่ได้ มันไม่สามารถที่จะทุ่มเทชีวิตจิตใจลงไปได้

E – Enable ให้คนทำในสิ่งที่เขาอยากทำ ทำในสิ่งที่เขาอยากจะไป ทำในสิ่งที่เขาอยากจะเติบโต เราในฐานะ Leader มีหน้าที่เป็นฐาน มีหน้าที่ทำ Coaching ที่มีหน้าที่คอยผลักดัน และมีหน้าที่เปิดทางทุกอย่างให้กับพนักงาน

A – Active ต้องไม่หายไปไหนทุกอย่างควรทำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งควรมีพลังและก้าวไปด้วยกัน ไม่ใช่ทำอยู่แล้วหายไปนั่นเอง

D – Dealing มีความเชื่อว่า ในทุก ๆ วันที่เราอยู่ด้วยกัน เราไม่ได้ทำงานอยู่ด้วยกันอย่างเดียว เราใช้ชีวิต เรามีเรื่องต้องพูดคุยกันทั้งในเรื่องของความคิดที่ต เพราะเราทำงานเอเจนซี่ เรามีในเรื่องของความคิดที่เราต้องแชร์กัน เรามีเรื่องของทามไลน์ที่เราต้องดิวกัน

E – Evolve การพัฒนา Leader ต้องมีการพัฒนาให้กับพนักงานไปด้วยกัน พัฒนาในเรื่องของ Skill ในเรื่องขององค์กรเพื่อให้ก้าวไปข้างหน้า

R – Rialistic คิดว่าคนที่เป็น Leader ในภาพรวมคนที่เป็นฐานให้กับลูกน้องที่จะพัฒนาและเติบโตก้าวไปข้างหน้า ต้องสนับสนุนในทุก ๆ ทาง แต่ไม่ได้สนับสนุนทุกอย่างจนไม่อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง จะทำให้หนักเกินไป หรือเครียดเกินไป หรือมี KPI ที่สูงจนไม่มี Rialistic เลย อันนี้เป็นความคิดด้านการทำงานส่วนตัวที่ทำอยู่ ซึ่งคิดว่า Leader คือการสนับสนุนให้คนนั้นในองค์กรได้เติบโต

บริหารงานองค์กรยุคดิจิทัล

หลักการการบริหารในองค์กรจากประสบการณ์จริงในยุคปัจจุบัน

การบริหารคนที่ยากในยุคปัจจุบัน โศรดา บอกว่า คือ Generation ที่แตกต่างกัน ซึ่ง Environment จะเป็นตัวผลักดันให้Generation เรียนรู้ในสิ่งที่ต่างไปจากเรื่องเดิมในชีวิตเรา เพราะอยากที่บอกการพัฒนาของเทคโนโลยี มันเป็นตัวผลักดันให้คนมีการเรียนรู้ที่เท่าเทียม คนมีการเรียนรู้ในแบบพร้อม ๆ กัน คนมีโอกาสที่จะเปิดกว้างในรูปแบบที่ใคร ๆ ก็เรียนรู้ได้ ในปัจจุบัน

เพราะฉะนั้น เราจะทำอย่างไรที่จะบริหารจัดการในรูปแบบในเรื่องของความเชื่อ ในเรื่องของประสบการณ์ ที่เราต้องทำให้พนักงานเข้าใจว่า มันต้องตีคู่ไปด้วยกัน มันไม่มีสิ่งใดที่เป็นความรู้ที่อ่านมา แล้วยังไม่ได้ลงมือทำ และไม่ได้การันตี 100% ว่า ในสิ่งที่เป็นข้อมูลในการเรียนรู้สิ่งนั้่นบอกเราทำครบแล้วจริง ๆ แต่การลงมือทำต่างหากจะบอกเรา เพราะต้องอาศัยเวลา อาศัยประสบการณ์ อาศัยองค์รวมสิ่งแวดล้อมค่อนข้างเยอะ ซึ่งตรงนี้น่าจะเป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้พนักงานของเราเข้าใจสองอย่างที่จะต้องมาด้วยกัน ไม่ได้หมายความว่า รู้แล้วว่าสมการนี้แก้อย่างนี้ ไม่ใช่ว่ารู้ว่าทำงานได้แล้วเก่งแล้ว โดยที่ไม่มีประสบการณ์ใด ๆ ฉะนั้นแล้วมันยังต้องตีคู่กันกับประสบการณ์ทั้งลองผิดลองถูกเพื่อให้เกิดการเรียนรู้

ขณะที่ พรทิพย์ แชร์ประสบการณ์ว่า หลักการค่อนข้างมีหลากหลายเพราะต้องศึกษาเยอะ แต่จริง ๆแล้ว ต้องดูว่า เป้าหมายขององค์กรคืออะไร ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในแง่ของ Leadership จากประสบการณ์ที่เคยอยู่บริษัท Google จะบอกเสมอว่า ต้องมี Vision ซึ่งคิดว่ามันคือสิ่งที่ดี เพราะพนักงานจะเห็นภาพว่า เรากำลังจะไปจุดไหนด้วยกัน และจะทำอย่างไรกับพนักงานของเรา เพื่อนร่วมงานของเราทุกคนจะสามารถรับรู้ถึงเป้าหมายขององค์กรอย่างแท้จริง และจะให้พนักงานทำงานได้ และเกิดการเรียนรู้ ออฟฟิศก็จะเอาในเรื่อง OKR (Objective and Key Results) นำมาใช้ค่อนข้างเยอะ และทำไปตามเป้าหมาย ถ้าเราทำได้ถือว่าดีมาก มันทำให้เราได้เรียนรู้ หากทำไม่ได้เราต้องรีบปรับปรุงเปลี่ยนแปลง แล้วเราได้เรียนรู้กับสิ่งที่เราผิดพลาดได้อย่างไร เพื่อให้เกิดการเติบโตให้ได้มากที่สุด

บริหารงานองค์กรยุคดิจิทัล

Leader กับพนักงานในยุคปัจจุบันต้อง Command หรือ Compromise มากกว่ากัน

โศรดา บอกว่า การบริหารจัดการ Command กับ Compromise ต้องมาด้วยกัน แต่ถ้าตามหลักทฤษฎี Command จะเหมาะกับการบริหารจัดการองค์กรที่ค่อนข้างใหญ่ และ Compromise จะใช้ได้ดีในองค์กรที่สร้างพูดคุยกันได้ทั่้วถึง หรือองค์กรที่ไม่ใหญ่มากนัก แต่ในมุมมองของส่วนตัวที่ทำงานมาจะใช้ควบคู่กันเสมอ แต่ Command จะเลือกใช้ในเหตุการณ์ที่ฟังทุกคนที่ทุกอย่างไม่ได้เช่น การออกกฎระเบียบของบริษัทเพื่อประโยชน์ต่อการทำธุรกิจหรือ เพื่อการตัดสินใจในการทำแล้วแต่สถานการณ์ แต่จะใช้ร่วมกัน

ด้าน พรทิพย์ บอกว่า จะใช้ Compromise มากกว่า เพราะเราจะต้องมีความ Create ร่วมกัน สร้างสรรค์งานเวลาที่เราจะหาข้อสรุปอะไรบริษัทจะให้พนักงานทุกคนได้เข้ามาแสดงความคิดเห็น ร่วมกัน และ Leader จะมีหน้าที่ฟังว่าคนนี้เสนออะไร คนนี้เสนออะไร และมาหาข้อสรุปร่วมกัน และ Leader จะคนที่พูดทีหลัง

การเป็นผู้นำในในยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก คนอายุน้อยลงที่มักจะประสบความสำเร็จต้องมีการพูดคุยกับคนเยอะ ๆ หาประสบการณ์เยอะ ๆ เพื่อให้เกิดความแตกต่างเพื่อให้องค์กรก้าวไปสู่การเติบโตในอนาคตได้


  • 200
  •  
  •  
  •  
  •  
sabuysuk
การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นทุกวัน ล้วนแล้วแต่ได้กำไร