แบรนด์ร้านอาหารอย่ามองข้าม! กลุ่มลูกค้า “ทานอาหารคนเดียว” อาจช่วยเพิ่มยอด ผ่านกลยุทธ์ “การตลาดคนเหงา” (Lonely Marketing)

  • 326
  •  
  •  
  •  
  •  

เนื่องในโอกาสช่วงเวลาวันตรุษจีน ภาพที่ผุดมาในหัวคงไม่พ้นซองสีแดง ๆ พร้อมคำพูด “อั่งเปา ตั่ว ๆ ไก๊” (ขออั่งเปาอีกเยอะ ๆ) และภาพบรรยากาศของวันรวมญาติหรือกินโต๊ะจีน 

แต่! ถึงไม่ใช่คนจีนก็สามารถกินอาหารจีนได้ เพราะอาหารจีนอยู่คู่วัฒรธรรมไทยมาเนิ่นนาน และที่ดูเหมือนจะเป็นเทรนด์มาแรงแซงทางโค้ง ฮิตฮอตในหมู่วัยรุ่น วัยทำงาน กินได้ทุกเพศที่วัยก็คือ “หม้อไฟสไตล์จีน” ที่มีรสอันจัดจ้าน พร้อมน้ำซุปเผ็ดร้อนจนลิ้นชา ที่เรียกกันว่า “หม่าล่า”

แน่น่อนว่าด้วยด้วยรสชาติที่แตกต่างพร้อมเอกลักษณ์เฉพาะตัว ใคร ๆ ก็ย่อมอยากลิ้มลอง หรือลองแล้วติดใจก็อยากมากินใหม่ สำหรับหลาย ๆ คนอาจจะต้องรอมากินพร้อมเพื่อนฝูง แต่ก็มีอีกกลุ่มที่โนสนโนแคร์ว่าจะมีใครมากินด้วยหรือไม่ เพราะสตรองพอที่จะไปกินคนเดียว 

ดังนั้นในบทความนี้ ทาง Marketing Oops! จะพามาทำความรู้จักกับพฤติกรรมของคนที่กินข้าวคนเดียว ผ่านมุมมองของการตลาดแบบ “Lonely Marketing” โดยยกเคสหม้อไฟสไตล์จีนชื่อดังในไทยอย่าง “สุกี้จินดา” กับเชนชื่อดัง “Haidilao”

 

เทรนด์พฤติกรรมการกินคนเดียวในไทย ที่นิยมมากขึ้นจากมาตรการ social distancing  

ขอเริ่มจากการชื่นชมคนสตรองทุกคน ที่สามารถนั่งซดซุปหม่าล่าร้อน ๆ เผ็ดซี๊ดซ๊าดอย่างไม่สนใจสายตาใครคนเดียวได้ คุณเก่งมาก!

แต่อันที่จริงแล้ว เทรนด์การกินอาหารคนเดียวมีมานานแล้ว อย่างประเทศเกาหลีเองก็มีแนวคิดที่เรียกว่า “Honjok” (อ่านว่า ฮนจก) ซึ่งหมายถึงการอยู่ได้โดยลำพัง ทำกิจกรรมต่าง ๆ คนเดียว กินข้าวคนเดียว และมีความสุขได้ด้วยตัวคนเดียว และอย่างประเทศญี่ปุ่นเองก็มี ปรัชญาการใช้ชีวิตแบบ “โอฮิโตริซามะ” (Ohitorisama) ที่หมายถึงการออกไปใช้ชีวิตคนเดียว เพื่อชาร์จแบตให้กับให้กับตัวเอง 

และอันที่จริงประเทศไทยเราเองก็มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตคนเดียวมานานแล้วเช่นกัน เพียงแต่อาจเห็นได้ชัดคือช่วงสถานการณ์ covid-19 ทำให้การ solo dining เป็นพฤติกรรมที่เริ่มชัดเจนขึ้น จากการที่ต้องปรับไลฟ์สไตล์ของใครหลาย ๆ โดยเฉพาะการนั่งกินคนเดียวจากมาตรการ social distancing ทำให้หลายคนเกิดความเคยชิน 

ในมุมการตลาด เทรนด์นี้ดูจะเหมาะกับ Lonely Marketing มากที่สุด เป็นพฤติกรรมการใช้ชีวิตคนเดียวของผู้บริโภค ทำกิจกรรมคนเดียว ไปไหนมาไหนคนเดียว รวมถึงการกินข้าวคน เคยมีผลวิจัยระบุบว่า คนไทย 26.75 ล้านคน จากประชากรทั้งหมด 66.41 ล้านคน ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ “คนเหงา” โดยกลุ่มวัยทำงานเป็นกลุ่มเหงามากที่สุด และเป็นสิ่งที่แบรนด์ไม่ควรมองข้ามหากต้องการตอบโจทย์ลูกค้าที่กินคนเดียวทั้งหลาย

 

กลยุทธ์ที่ช่วยครองใจชาวคนเหงา

การที่จะช่วยครองใจคนเหงาไม่ใช่เรื่องยาก แค่แบรนด์ต้องใส่ใจรายอะเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เหมาะสำหรับคนเหงา ทางแบรนด์อาจจะจัดโซนที่นั่งไว้สำหรับคนกลุ่มนี้ อาจจะเป็นมุมเล็ก ๆ ไม่เสียงดัง เพราะคนเหงามักไม่ชอบอะไรที่เสียงดัง อีกอย่างถ้าเป็นไปได้จัดเมนูสำหรับคนเหงาจะเป็นอะไรที่ดีสุด ๆ เพราะคนเหงา มาคนเดียว แต่ส่วนใหญ่แล้วร้านอาหารมักจะมีแต่เมนูอาหารที่มากินกับเพื่อนหรือเป็นแบบครอบครัว ไม่ได้มีเมนูสำหรับมากินคนเดียวมากนะ ถ้าทางแบรนด์เพิ่มช้อยในจุดนี้ เชื่อว่าคนเหงาพร้อมเข้าร้านอย่างแน่นอน

 

ตัวอย่างแบรนด์หม้อไฟไตล์จีนกับการตอบโจทย์กลุ่มทานคนเดียวด้วย Lonely marketing

รูปภาพจาก : เพจ facebook สุกี้จินดา

เคสอย่างสุกี้จินดา อาจจะไม่ได้ทำมาเพื่อตอบโจทย์กลุ่มนี้โดยตรง แต่ด้วยดีไซน์แบบแบบสายพานหรือการที่ทางร้านให้ 1 คน ต่อ 1 หม้อไม่ต้องเรียกพนักงานหรือยกมือเรียก เพราะทางร้านใช้การเสิร์ฟเมนูด้ายสายพาน  อยากกินอะไรก็สามารถหยิบได้เลย การดีไซน์จึงอาจถูกใจสำหรับกลุ่มนี้ในทางอ้อม (secondary target) ซึ่งก็เป็นการงัดใช้ Lonely marketing ไปโดยไม่รู้ตัว 

รูปภาพจาก : แอป lemon 8

และอีกเคสแบรนด์หม้อไฟสไตล์จีน Haidilao ก็มีการเล่นกับคนที่มากินข้าวคนเดียวด้วยการนำน้องตุ๊กตามานั่งกินเป็นเพื่อน ซึ่งอาจทำให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจ(และไม่เหงา) บ่งบอกถึงการที่แบรนด์มีความใส่ใจรายละเอียดเล็ก ๆ ในตรงนี้ เพิ่ม cusomer experience ที่น่าประทับใจ และแน่นอนว่าตอบโจทย์ Lonely marketing ไปในตัว

ถ้าแบรนด์ร้านอาหารร้านไหน อยากลองจับกลุ่มคนที่ทานคนเดียว ก็อาจลองใช้ Lonely marketing มาเสริมดู อาจจะยังไม่ต้องถึงกับเป็นกลุ่มหลัก (primary target) แต่ถ้าได้มาเสริมเป็นกลุ่มลองจากที่ได้กล่าวไปขั้นต้นอาจจะช่วยกระตุ้นยอดขายให้กับร้านได้ไม่มากก็น้อย


  • 326
  •  
  •  
  •  
  •  
CLOSE
CLOSE