[PR] ไมโครซอฟท์จัดสัมมนาสนับสนุนหญิงแกร่งแห่งโลกเทคโนโลยี

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

ERA_2815_resize

“พลังของการทำงานร่วมกัน ที่เกิดขึ้นจากการหลอมรวมกันของผู้คนที่มีความสามารถจากพื้นฐานที่แตกต่างกัน มาร่วมกันเพื่อมุ่งสร้างสรรค์พัฒนาสิ่งใหม่ๆ นับเป็นแรงผลักดันที่สาคัญในการสร้างความสาเร็จให้กับไมโครซอฟท์ มายาวนานกว่า 30 ปี”

บิล เกตส์ ผู้ก่อตั้ง และที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี บริษัท ไมโครซอฟท์

นับตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2518 ที่บริษัท ไมโครซอฟท์ ถืงกำเนิดขึ้นบนโลกเทคโนโลยีแ ความเป็นอยู่ ความรู้สึกนึกคิดและบริบทของสังคมโลกเข้าสู่จุดพลิกผันอันสำคัญ ผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ไม่ใช่เพียง “ของเล่น” ที่ทำให้ผู้รากมากดีหรือคนร่ำรวยตื่นตาตื่นใจกับเทคโนโลยีชั้นสูง แต่เป็นสินค้าที่พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนทุกคนอย่างเท่าเทียมด้วยการเปิดโอกาสให้เข้าถึงความรู้ เปลี่ยนโฉมรูปแบบการทำงาน ยกคอมพิวเตอร์จากสินค้า premium มาสู่สินค้าที่ทุกครัวเรือนสามารถจับต้องได้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าไมโครซอฟท์เป็นส่วนหนึ่งอันสำคัญที่ช่วยอุดช่องว่างทางความเลื่อมล้ำทางสังคมและส่งเสริมการทำงานของมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะมีความแตกต่างด้านเพศสภาวะ ฐานะ เชื้อชาติ สีผิว หรือแม้แต่แนวคิดทางสังคม

เพื่อตอกย้ำปรัชญาการทำงานดังกล่าว เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2557 บริษัท ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย จัดสัมมนาในหัวข้อ Women Leaders and the New Asian Century ที่โรงแรมอันนตรา สาธร เพื่อเผยแพร่และสนับสนุนการทำงานของสตรีรวมถึงกลุ่มคนด้อยโอกาสในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี โดยมีวิทยากรและผู้ร่วมสัมมนาผู้มีชื่อเสียงร่วมงานกันอย่างคับคั่ง

ERA_2944_resize

มร.ฮาเรซ คูบจันดานิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย มีจุดยืนเพื่อสังคมในการพัฒนาบุคคลากรด้านเทคโนโลยีอย่างจริงจัง โดยสนับสนุนบริษัทเปิดใหม่กว่า 300 บริษัทผ่านโครงการ Bizspark ฝึกอบรมคณาจารย์กว่า 5.6 แสนคน และนักเรียนกว่า 5.5 หมื่นคนผ่านโครงการต่างๆ

ด้านการส่งเสริมความหลากหลายในสถานที่ทำงาน สัดส่วนของพนักงานผู้หญิงใน ไมโครซอฟท์ ทั่วโลกมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและคงที่ ที่ 24% ตั้งแต่ปี 2011 – 2013 โดยมีสัดส่วนของชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์เพิ่มสูงขึ้นทุกปี 35% (2011) 36% (2012) และ 38% (2013) เมื่อเทียบกับพนักงานทั้งหมด

ขณะที่สำหรับ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย มีสัดส่วนซีอีโอผู้หญิงคิดเป็น  55.6% พนักงานฝึกหัดในโปรแกรม MACHS (The Microsoft Academy for College Hires ) กว่า 50% เป็นผู้หญิง และยังจ้างงานพนักงานในหลากหลายวัยตั้งแต่ Baby Boomer จนถึง Gen Z

“การที่ไมโครซอฟท์ ไทยแลนด์ มีสัดส่วนของพนักงานสตรีมากขนาดนี้ ส่วนหนึ่งมาจากปรัชญาการทำงานของบริษัทที่ส่งเสริมให้ทุกคนสมดุลชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัว โดยเรามีนโยบายการทำงานที่ไม่ต้องผูกติดตัวเองกับเวลาเข้าออกงาน ผู้บริหารจะประเมินผลพนักงานจากผลงานแบบเป็นรูปธรรม เราเคารพความเป็นส่วนตัวของพนักงานและส่งเสริมให้พวกเขาใช้เทคโนโลยีในการออกแบบชีวิตการทำงานด้วยตัวเองอย่างอิสระ” คูบจันดานิกล่าวและกล่าวว่า โดยส่วนตัวเห็นว่าความหลากหลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบริษัทเทคโนโลยีอย่างมาก เนื่องจากปัญหาหนึ่งๆ หากแก้ไขด้วยมุมมองที่แตกต่างจากคนที่มีพื้นฐานทางสังคมต่างกันแล้ว ก็จะได้ผลลัพธ์ที่รอบด้านและใกล้เคียงกับคำว่าสมบูรณ์แบบมากที่สุด

ERA_2271_resize

 

มร.ฮาเรซ คูบจันดานิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) 

ด้าน คุณชุติมา สีบำรุงสาสน์ ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย มีนโยบายส่งเสริมการทำงานของผู้หญิงอย่างเป็นรูปธรรม โดยส่งเสริมและมีนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมให้ผู้จัดการในแผนกต่างๆ พิจารณาการจ้างงานสตรี นอกจากนี้ยังมีการอบรมให้ผู้จัดการรับสมัครพนักงานอย่างปราศจากอคติทางเพศ นอกจากนี้ยังมีการเทรนนิ่งพิเศษสำหรับผู้หญิงที่เข้ามาทำงานในบริษัทอีกด้วย

“ในตอนที่เข้ามาทำงานกับไมโครซอฟท์แรกๆ พ่อและแม่ของดิฉันเข้าโรงพยาบาลพร้อมกันทั้งสองคน เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากมากแต่ก็สามารถผ่านพ้นไปได้ด้วยดีเพราะความช่วยเหลือและความร่วมมือจากผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน การออกแบบชีวิตการทำงานของตัวเองได้เป็นสิ่งที่เหมาะสมมากสำหรับทั้งผู้หญิงโสดและผู้หญิงที่มีครอบครัวแล้ว” คุณชุติมากล่าว

สำหรับ ดร แอสทริด ทูมิเนซ ผู้อำนวยการระดับภูมิภาคฝ่ายกฏหมายและองค์กรสัมพันธ์ ไมโครซอฟท์ ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระบุว่า อันที่จริงแล้วทั้งผู้หญิงและผู้ชายต่างมีศักยภาพที่จะขึ้นเป็นผู้นำหรือเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทได้อย่างเสมอภาค ไม่เฉพาะแต่ในสาขาอุตสาหกรรมเทคโนโลยี แต่สิ่งที่เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งยวดคือความมั่นใจของผู้หญิงที่จะก้าวขึ้นทำงานใหญ่ โดยผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งหนึ่งระบุว่า ผู้หญิงมีความเหมาะสมในการขึ้นนั่งตำแหน่งซีอีโอมากกว่าผู้ชายในแง่ความสามารถในการต่อรองผลประโยชน์ ใส่ใจรายละเอียด และรู้ว่าจะหาข้อมูลจากใคร ถามอะไรใคร ได้ถูกที่ถูกเวลา อย่างไรก็ตาม ผลวิจัยยังพบอีกว่า เมื่อผู้หญิงถูกถามว่าจะเป็นซีอีโอหรือผู้ก่อตั้งบริษัทในอนาคตหรือไม่ กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ถูกทดลองบอกว่าไม่เคยมีความคิดและไม่มีความมั่นใจพอ

“ความได้เปรียบทางกายภาพของผู้ชายไม่ได้ทำให้พวกเขามีสิทธิขึ้นมาเป็นผู้นำเหมือนอย่างสมัยก่อนอีกต่อไปแล้ว เมื่อปัจจุบันความสามารถทางสมองเป็นเรื่องที่สำคัญกว่า เราจึงเห็นผู้นำหญิงมากความสามารถผุดขึ้นมาเป็นผู้บริหารองค์กรต่างๆ อย่างสมศักดิ์ศรีเพิ่มขึ้นทุกขณะ” ทูมิเนซ กล่าวปิดท้าย

ERA_2560_resize

 

คุณชุติมา สีบำรุงสาสน์ (ซ้าย) และ ดร แอสทริด ทูมิเนซ (ขวา)

 

เก็บตกภาพบรรยากาศงาน

ERA_2836_resize ERA_2656_resize ERA_2944_resize ERA_2674_resize

 


  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
อุ้งทีนหมี
เตาะแตะในโรงเรียนชายล้วนแถวยศเส ก่อนเติบโตต่อในมหาวิทยาลัยริมฝั่งน้ำเจ้าพระยา ที่สุดจับพลัดจับผลูเข้าทำงานในนแวดวงสื่อสารมวลชนมาแล้วกว่า 4 ปี โต้ลมโต้ฝนทั้งในวงการข่าวต่างประเทศ เยาวชน ธุรกิจ การเมือง สังคม ฯลฯ แต่สุดท้ายกลับลำมาหลงรักวงการมาร์เก็ตติ้งที่ข้ามน้ำข้ามทะเลไปขี่จิงโจ้เรียนปริญญาโทมา เลยตัดสินใจหันหางเสือออกสู่การผจญภัยครั้งใหม่อีกสักตั้ง
CLOSE
CLOSE