รู้จักบริการ Shutterstock AI ที่ปฏิวัติวงการ Generative AI สู่การนำไปใช้อย่างมีจริยธรรม

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

หลังจาก Generative AI สร้างปรากฏการณ์จนกลายเป็นเทคโนโลยีแห่งปี 2022 ที่ผ่านมาและถูกคาดการณ์ว่าจะเป็นอนาคตในอีกหลายมีข้างหน้า ล่าสุดเมื่อช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา Shutterstock เว็บไซต์ Stock Photo ชื่อดังได้เปิดตัวบริการ Shutterstock AI ที่เรียกได้ว่าเป็นบริการที่วางมาตรฐานทางจริยธรรม Generative AI ขึ้นใหม่ที่จะเป็นประโยชน์กับทั้งผู้ใช้และศิลปินผู้สร้างสรรค์ ดังนั้นในบทความนี้จะมาทำความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบริการนี้ของ Shutterstock และบริการอื่นๆที่เคยมีมา

Generative AI คืออะไร?

Generative AI คือปัญญาประดิษฐ์ (AI) แขนงหนึ่งที่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างคอนเทนต์ใหม่ขึ้นได้อย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ งานศิลปะ บทความ บทกวี เพลง วิดีโอ หรือแม้แต่โค้ดคอมพิวเตอร์ ได้จากคำสั่ง (Promt) ด้วยภาษามนุษย์ โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกป้อนให้ (Trian) ซึ่งบริการของ Shutterstock ก็คือ Generative AI ในการสร้างภาพตามคำสั่ง โดยอาศัยข้อมูลภาพจากระบบของ Shutterstock เองทั้งหมด

ปัญหาด้านลิขสิทธิของ Generative AI

หนึ่งในปัญหาที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในปัจจุบันนี้ก็คือการสร้างคอนเทนต์ของ AI ที่ถูก train โดยข้อมูลของศิลปินผู้สร้างสรรเจ้าของลิขสิทธิ์นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วหรือไม่ ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายหรือแนวปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมที่จะให้ความคุ้มครองผลงานของมนุษย์ที่ถูกนำไปให้ AI ใช้สร้างเป็นผลงานใหม่ขึ้นมา ซึ่งล่าสุดบริการ Shutterstock AI ก็ดูเหมือนว่าจะก้าวเข้ามาสร้างมาตรฐานใหม่ในเรื่องนี้เอาไว้โดยทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ AI สร้างภาพและนำไปใช้อย่างมีจริยธรรมมากขึ้น โดยศิลปินผู้สร้างผลงานเองก็จะได้ประโยชน์ไปด้วย

บริการ Generative AI ของ Shutterstock

Shutterstock เปิดตัวบริการ Shutterstock AI บริการสร้างภาพตามคำสั่งด้วย AI เมื่อวันที่ 25 มกราคมที่ผ่านมา บริการใหม่นี้มีขึ้นหลังจาก Shutterstock ประกาศความร่วมมือกับบริษัท OpenAI ผู้สร้าง AI ที่โด่งดังอย่าง ChatGPT โดย OpenAI ได้นำเอา AI สร้างภาพอย่าง Dall-E 2 มาใช้เป็นระบบเบื้องหลังให้กับ Shutterstock โดยจะนำเอาภาพในคลังของ Shutterstock มา Train ให้กับบริการในครั้งนี้

Shutterstock AI แตกต่างจาก AI สร้างภาพอื่นๆตรงที่ภาพในคลังที่ถูกนำมาใช้นั้นเป็นภาพที่มีลิขสิทธิ์อย่างชัดเจนและ Shutterstock ก็วางแผนที่จะจ่ายค่าลิขสิทธิให้กับศิลปินผู้สร้างสรรค์ภาพเหล่านั้นที่ถูกนำมาใช้ในกระบวนการ Generate ภาพของ AI ด้วยผ่าน Cash Fund ที่จะตั้งขึ้น นั่นจึงทำให้บริการนี้ของ Shuttetstock สร้างมาตรฐานใหม่ด้านจริยธรรมในเรื่องของลิขสิทธิ์ให้กับวงการ Generative AI ก็ว่าได้ ซึ่งเรื่องนี้กลายเป็นประโยชน์ทั้งสำหรับผู้ใช้งานที่สามารถสร้างภาพตามจินตนาการภายในไม่กี่วินาที ในขณะที่เจ้าของภาพผลงานที่ถูกนำมา Process ก็ได้รับเงินชดเชยในส่วนนี้ไปด้วย

วิธีใช้งาน Shutterstock AI

สำหรับคนที่จะใช้งานบริการ Shutterstock AI ได้อย่างน้อยจะต้องมีบัญชีฟรีของ Shutterstock ก่อนหลังจากนั้นเมื่อเข้าไปหน้าแรกของ Shutterstock ให้เข้าไปที่เมนูสร้างที่แถบเมนูทางด้านซ้ายของเว็บไซต์

หลังจากนั้นจะเข้ามาสู่หน้าต่างของ Shutterstock AI ที่สามารถใส่คำสั่งหรือ Promt เข้าไปในช่องอธิบายรูปภาพและสไตล์ศิลปะที่คุณคิดอยู่ในใจเข้าไปเพื่อสร้างสรรค์ผลงานได้ตามต้องการ นอกจากนี้ระบบยังมีรูปแบบงานต่างๆให้เลือกด้านล่างเพื่อสโคปผลงานให้แคบลงเช่น ภาพถ่าย, ศิลปะ, ดิจิทัล, 3D รวมถึงมีสไตล์งานศิลปะแนะนำ เพิ่มเติมมาให้เราเลือกด้านล่างด้วย

และนี่ก็คือผลงานของ Shutterstock AI จากคำสั่ง “astronaut close up face with blur mars surface in background” พร้อมกับเลือกสไตล์ที่แนะนำเป็น “3D” และนีออน

ซึ่งหากสนใจจะดาวน์โหลดรูปภาพเมื่อ Download ระบบก็จะมีระบบชำระเงินให้เลือกทั้งแบบ Subscription และแบบ On-Demand มาให้เลือกต่อไป

ราคาแพ็คเกจต่างๆของ Shutterstock (สำหรับผู้ที่สนใจบริการของ Shutterstock สามารถติดต่อตัวแทนจำหน่าย Shutterstock ในไทยได้ที่ number24.co.th )

นั่นก็คือบริการใหม่ของ Shutterstock ที่มีการนำ AI เข้าไปผสานรวมอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว และยังเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับงานสร้างสรรค์ด้วย AI ในเรื่องของจริยธรรมและเรื่องของลิขสิทธิ์ที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันในเวลานี้ด้วย อย่างไรก็ตามภาพที่สร้างขึ้นด้วย AI นั้นแม้จะมีข้อดีที่เราสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบภาพต่างๆตามต้องการได้เพียงแค่ไม่กี่วินาทีด้วยการพิมพ์คำสั่ง แต่ก็ยังคงมีข้อจำกัดในเรื่องของคุณภาพของภาพ ที่บางครั้งใบหน้าอาจบิดเบี้ยวเป็นรูปทรงแปลกๆหรือนิ้วมือไม่เป็นธรรมชาติ ซึ่งก็ต้องเข้าใจว่าเทคโนโลยี AI นั้นเพิ่งเริ่มต้นและอาศัยการเรียนรู้ฝึกฝนเพื่อให้ผลงานออกมาสมบูรณ์มากขึ้นเช่นกัน


  •  
  •  
  •  
  •  
  •