10 ข้อที่จะพาคุณไปรู้จัก “AirAsia” สายการบินที่ซื้อมาในราคา 0.25 ดอลลาร์

  • 40
  •  
  •  
  •  
  •  

เคยลองคิดเล่นๆไหมว่าเดี๋ยวนี้จะไป สิงคโปร์ เกาหลี ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไปง่ายกว่านั่งรถไฟไปเชียงใหม่เสียอีก หากนึกย้อนกลับไปเมื่อสักสิบกว่าปีก่อนการนั่งเครื่องบินแต่ละครั้งดูเป็นอะไรที่ค่อนข้างยิ่งใหญ่โดยเฉพาะการเดินทางในประเทศ การนั่งเครื่องดูจะไม่ค่อยเป็นความสามัญของการเดินทาง อีกทั้งราคาตั๋วยังสูงมากเมื่อเทียบกับปัจจุบัน ทำให้การเข้าถึงการคมนาคมที่สะดวกสบายและประหยัดเวลาเช่นนี้ ถูกจำกัดอยู่แค่คนที่มีกำลังในการจ่ายเท่านั้น

แต่การมาของสายการบินทุนต่ำหลากหลายเจ้า ที่กระหน่ำเปิดเส้นทางอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นเรื่องน่ายินดีสำหรับคนไทยที่สามารถเดินทางไปได้ไกลหลากหลายพื้นที่ในราคาที่ประหยัดขึ้น  วันนี้เราจึงนำเรื่องราวของ  AirAsia สายการบินราคาประหยัดเจ้าของสโลแกน “Everyone can fly” มาบอกเล่าให้ได้รู้จักแอร์เอเชียกันมากขึ้น

 

1.  ซื้อต่อจากเจ้าของเดิมในราคา 0.25  ดอลลาร์สหรัฐ

แอร์เอเชียเริ่มให้บริการครั้งแรกปี 2001 ด้วยเครื่องบินเก่าจำนวน 2 ลำ โดยซื้อมาจากแอร์เอเชียที่บริหารโดยเจ้าของเดิมในช่วงภาวะใกล้เจ๊ง โดยจ่ายไปเพียง 1 ริงกิตมาเลเซีย (0.25 ดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งเดิมทีแอร์เอเซียก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1993 โดยบรรษัท DRB-Hicom ในมาเลเซียมีรัฐบาลเป็นเจ้าของ แต่ด้วยภาระหนี้สินอย่างหนัก ทำให้แอร์เอเซียถูกขายต่อให้  Tony Fernandes  นักธุรกิจชาวมาเลเซียในราคา 0.25 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมหนี้สินกว่า 400 ล้านบาท  

 

2.  การเริ่มต้นที่ไม่งดงาม

ด้วยภาระหนี้สินที่มี บวกกับสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก และ เหตุการณ์ 911 ที่ทำให้วงการอุตสหกรรมการบินสั่นคลอน การเริ่มต้นของ AirAis ในปี 2001 จึงไม่ง่าย แต่ผ่านไปเพียงไม่กี่ปี Tony Fernandes ก็สามารถทำกำไรให้แอร์เอเชียได้ด้วยกลยุทธ์ที่ไม่เหมือนใคร 

ปัจจุบันบริษัทแม่ หรือ headquartered ของแอร์เอเชียอยู่ใกล้เมืองกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ภายใต้การบริหารของกลุ่ม Tune Group โดยมีนาย Tony Fernandes กุมบังเหียนเป็น Co-founder และ CEO  ปัจจุบันแอร์เอเชียมีพนักงานมากกว่า 14,000 คนจากจุดเริ่มต้นที่มีเพียง 250 คน ในปี 2001 

airasia-plane-aug-19-2014

 

3.  กลยุทธ์ที่ไม่เหมือนใครของต้นแบบสายการบินราคาประหยัด

แอร์เอเชียโดดเด่นในเรื่องราคาประหยัด สะท้อนจุดยืนในเรื่องที่ทำให้เครื่องบินเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ใครๆก็ใช้บริการได้  ด้วยการให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อบริการเสริมอื่นๆนอกเหนือจากการเดินทางได้ตามต้องการ แน่นอนว่าผู้โดยสารบางรายต้องการเพียงแค่เดินทางถึงที่หมายโดยสวัสดิภาพ บริการเสริมอย่างอาหาร ผลิตภัณฑ์เครื่องนอนบนเครื่องบิน Inflight Comfort สามารถเลือกซื้อเพิ่มได้ตามความพอใจ อีกทั้งระบบการจอง เช็คอิน หรือการตรวจสอบข้อมูล ผู้โดยสารสามารถทำทุกขั้นตอนได้ด้วยตัวเองผ่านระบบของแอร์เอเชีย ทำให้สามารถประหยัดต้นทุนมาก และตั้งราคาค่าตั๋วแบบ low-cost ได้

Air_Asia

 

4.  นวัตกรรมที่ช่วยประหยัดต้นทุน

แอร์เอเชียเป็นสายการบินแรกที่ใช้ อากาศยาน Airbus A320 เป็นเครื่องรุ่นที่มีอุปกรณ์พิเศษที่เรียกว่า “Sharklets” ติดอยู่ตรงปลายปีก ซึ่งมีประสิทธิภาพในการช่วยลดแรงลากที่คอยต้านเครื่องบิน ทำให้สามารถประหยัดเชื้อเพลิงในการบินได้มากยิ่งขึ้น

maxresdefault

 

5.  รหัสสายการบิน

  • AK    แอร์เอเชีย
  • FD    ไทยแอร์เอเชีย
  • QZ    อินโดนีเชียแอร์เอเซีย
  • D7    แอร์เอเชียเอ็กซ์
  • Z2    ฟิลิปปินส์แอร์เอเชีย
  • XJ    ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์
  • I5      แอร์เอเชียอินเดีย

6.  Airbus

แอร์เอเชียใช้อากาศยาน Airbus A320-200 สามารถจุผู้โดยสารได้  180 คน ซึ่งประจำอยู่ในท่าอากาศยานทั้งหมด 188 ลำ แต่ละลำมีอายุการใช้งานเฉลี่ยเพียง 3.5 ปี และยังมีเครื่องที่อยู่ระหว่างการสั่งซื้ออีก 41 ลำ   ส่วน  “A320 neo” เป็นเครื่องรุ่นใหม่ที่จุผู้โดยสารได้ 186 คน อยู่ในระหว่างการสั่งซื้อเพิ่มเข้ามาอีก 300 ลำ

(ข้อมูลอัพเดทล่าสุด July 2015)

 

Teaser16

7. จำนวนเครื่องบินที่ประจำการอยู่ในแต่ละประเทศ

  • AirAsia (Malaysia) – 82
  • Thai AirAsia – 44
  • Indonesia AirAsia – 29
  • AirAsia Zest – 18
  • Philippines AirAsia – 10
  • AirAsia India – 5

(ข้อมูลอัพเดทล่าสุด July 2015)

 

8.  เส้นทางการบินของ AirAsia

จุดเริ่มต้นของเส้นทางการบินแอร์เอเชียคือเส้นทาง ระหว่างกัวลาลัมเปอร์และลังกาวี ด้วยเครื่องบิน 2 ลำและพนักงาน 250 คนในปี 2002 จนกระทั่งปัจจุบันแอร์เอเชียให้บริการรับส่งผู้โดยสารไปยัง 88 ประเทศจุดหมายปลายทาง ซึ่งแอร์เอเชียค่อนข้างโดดเด่นในเรื่องเปิดเส้นทางการบินใหม่ๆ ที่เข้าถึงเมืองเล็กในภูมิภาคต่างๆ

AirAsia___Route_map___Explore_our_wide_network_

 

9. ไทยแอร์เอเชีย

เดิมทีสายการบินที่ได้รับอนุญาตให้บินตรงภายในประเทศไทยได้มีเพียงสายการบินแห่งชาติเท่านั้น (การบินไทย) จนกระทั่งปี 2002 รัฐบาลได้เปิดเสรีการบินในไทย ทำให้สายการบินเอกชนสามารถให้บริการบินตรงภายในประเทศได้ จุดนี้เองที่ทำให้เกิดสายการบินต้นทุนต่ำขึ้นในไทย

“บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด” ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 19 กันยายน 2546 ประกอบธุรกิจสายการบินราคาประหยัด โดยใช้ชื่อว่า Thai AirAsia ปัจจุบัน  บมจ. เอเชีย เอวิเอชั่น คือบริษัทในไทย ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 55 และ AirAsia Berhad (ผ่าน AirAsia Investment ที่ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100) ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ในประเทศมาเลเซียถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 45  มีทุนจดทะเบียนจำนวน 435,555,600 บาท

Air_Asia_X

 

 

10. เครื่องบินของ ไทยแอร์เอเชีย

 ไทยแอร์เอเชีย เริ่มต้นด้วยเครื่อง Boeing 737-300  จำนวน 2 ลำ ให้บริการเส้นทางบินเชิงพาณิชย์แบบ Point-to-point ครั้งแรกในเส้นทางกรุงเทพฯ-หาดใหญ่เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2547  ปัจจุบันได้ขยายเส้นทางการบินทั้งในประเทศและระหว่างประเทศเพิ่มอย่างต่อเนื่อง และปลดประจำการเครื่องบิน Boeing ทุกรุ่น โดยเปลี่ยนมาใช้ Airbus 320  ซึ่งรองรับผู้โดยสารได้ 180 คน (เที่ยวบินของแอร์เอเชีย ที่ใช้เวลาเดินทางน้อยกว่า 4 ชั่วโมง) และ Airbus 330  รองรับผู้โดยสารได้ 377 คน (เที่ยวบินของแอร์เอเชีย เอกซ์ ที่ใช้เวลาเดินทางมากกว่า 4 ชั่วโมง) ภาพด้านล่างเป็นที่นั่งผู้โดยสารของเครื่อง Airbus 320

 

AirAsia_interior

 

 

Source: AirAsia.com
Source: Wikipedia
Source: Time Magazine


  • 40
  •  
  •  
  •  
  •