The EM District People ชวนปล่อยคลื่นพลังความสุข ผ่านงานศิลป์ #HAPPYNOISE

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

HAPPYNOISE-1

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า ศุกร์ที่ 3 ของเดือนมิถุนายน มีการกำหนดให้เป็นวันหยุดกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์ หรือ Stop Cyberbullying Day ด้วยความที่สังคมออนไลน์หรือสังคมโซเชียลเน็ตเวิร์คเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่คุณธรรมทางจิตใจลดน้อยลงทุกที ดังนั้น กลุ่มเอ็นจีโอกลุ่มหนึ่งจึงร่วมกันจัดตั้งวันนี้ขึ้นเพื่อต่อต้านและให้กำลังใจแก่ผู้ที่กำลังเผชิญปัญหานี้อยู่

สำหรับเมืองไทยนั้นก็เพิ่งเกิดข่าวดราม่าไปไม่นานเกี่ยวกับพนักงานสาวที่ถูกเพื่อนรุ่นพี่กระทำการ Cyberbullying ด้วยการโพสต์ภาพของเธอนำไปวิจารณ์อย่างเสียๆ หายๆ และล่าสุดรุ่นพี่คนนั้นก็ได้รับบทลงโทษทั้งการแซงก์ชั่นทางสังคมและบทลงโทษจากทางบริษัทด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ปัญหาเหล่านี้จะไม่เกิดเลยหากเราใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กเป็นเครื่องมือในการสื่อสารข่าวสารดีๆ มากกว่าในทางร้ายๆ

และด้วยแนวคิดที่ต้องการสร้างสังคมออนไลน์ที่ดีให้เกิดขึ้น เพื่อลดมลภาวะแย่ๆ ในโลกออนไลน์ให้หมดไป ลดการแชร์ข่าวร้าย ลดการส่ง Hate speech โดยการผลักดันให้เกิดพลังด้านบวกเพิ่มขึ้นในสังคมออนไลน์ The EM District People จึงได้จัดกิจกรรม #HAPPYNOISE ภายใต้แคมเปญ “Whenever You Feel Like Smiling”

HAPPYNOISE-2

กิจกรรม #HAPPYNOISE เกิดจากไอเดียที่ว่า ต้องการสร้างสรรค์และชวนมา “ปล่อยคลื่นพลังความสุข” หรือ #HAPPYNOISE ให้เกิดขึ้นในสังคมไซเบอร์ เพื่อให้ผู้คนที่ถูกจู่โจมด้วยข่าวสารซึ่งไม่ได้ช่วยให้เกิดความสุขในชีวิต ได้หันกลับมาค้นพบกับแรงบันดาลใจ ไอเดีย และความรื่นรมย์ใหม่ๆ ผ่านผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์ และ Quote คำพูดที่จะช่วยปลุกพลังให้กับชีวิตคุณได้ จากคิวเรเตอร์ด้านทัศนศิลป์ 5 คนของไทย ซึ่ง The EM District People ตั้งใจเลือกบุคคลเหล่านี้มาสร้างพลังด้านบวกให้กับคนไทยทุกคน

HAPPYNOISE-3

สำหรับคิวเรเตอร์ทั้ง 5 คนนั้น ได้แก่ คุณหมู นนทวัฒน์ Ductstore, คุณมะลิ จาตุรจินดา be>our>friend studio, คุณโน๊ต กฤษดา James Dean, คุณแต๊บ วรทิตย์ เครือวาณิชกิจ Farmgroup และ คุณปู จิรัฏฐ์ พรพนิตพันธุ์ แห่ง Cheeze & Looker Magazine โดยทั้ง 5 ท่านนี้จะทำหน้าที่เป็น #HAPPYNOISE Vibe Creator สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ 25 ชิ้นร่วมกับศิลปินรับเชิญจากหลากหลายวงการ อาทิเช่น แป้ง-ภัทรีดา ประสานทอง, Kelvin Wong, โอ๋-หทัยรัตน์ เจริญชัยชนะ, พัชทรี ภักดีบุตร, อารยา อินทรา, พลัฏฐ์ พลาฎิ, รักกิจ ควรหาเวช, ดวงฤทธิ์ บุนนาค และ ธาดา วาริช ฯลฯ

ผลงานศิลปะทั้ง 25 ชิ้นนั้น สร้างสรรค์บนการตีความผ่าน 5 ส่วนผสมหลัก (#HAPPYNOISE ingredients) ด้วยกัน ได้แก่ Inspiring Passion, Sharing Good Feeling, Wide Openness, Kind Ambience, และ Beautiful Attitude ส่วนแต่ละธีมเป็นอย่างไรนั้น ลองชมค่ะ

“Inspiring Passion” โดย หมู นนทวัฒน์ เจริญชาศรี Ductstore

HAPPYNOISE-4

“พลังสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจ”

คือสองสิ่งที่ทำให้ชีวิตมีความหมาย เป็นจุดตั้งต้นของกระบวนการคิดและสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ที่ช่วยขับเคลื่อนชีวิตความมุ่งมั่นในสิ่งที่ทำอย่างไม่ลดละ ไม่หยุดนิ่งค้นหา และคงมั่นกับเส้นทางที่เป็นตัวเอง เหล่านี้คือตัวแทนกลุ่มคนที่ขับเคลื่อนชีวิตด้วยพลังสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจ

HAPPYNOISE-5

“ชีวิตของเราก็คือเงาของความคิด”

Quoter: W.Vajiramedhi, Monk- Dharma Writer & Lecturer
Visualizer: Tada Varich, Photographer

Inspiration: วิธีการถ่ายทอดคำสอนของท่าน ว.วชิรเมธี สามารถเข้าใจได้ง่ายและเข้าถึงคนในยุคปัจจุบันได้ความคิดหรือจิตคล้ายว่าเป็นสิ่งเดียวกัน และสามารถแปลงเป็นการกระทำได้ ซึ่งผลของความคิดนำไปสู่การกระทำในวันนี้นั้นก็จะกลายเป็นชีวิตของเราในวันพรุ่งนี้ อะไรที่เกิดขึ้นกับเราแล้วเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา ไม่มีเราและสถานการณ์นั้นในวิธีอื่น มันก็เป็นแบบที่มันเป็นและไม่ได้เป็น

“Sharing Good Feeling” โดย คุณมะลิ จาตุรจินดา be>our>friend studio

HAPPYNOISE-6

“ความสุข บทกวี คำเขียน แสง ดนตรี ภาพวาด การสั่นสะเทือน ลายเส้น งานสุข”

สำหรับนิทรรศการนี้ เป็นการรวมกลุ่มคนที่ทำงานด้วยความสุขทั้งที่เคยร่วมงานกันมานานและอยากร่วมงานด้วยกันมานานแล้ว งานแต่ละชิ้นมีกระบวนการทำงานแตกต่างกันไปตามความถนัดของแต่ละคู่ ซึ่งล้วนเกิดจากความสนุกที่ได้ร่วมงานกันและเกิดเป็นความสุขที่ถ่ายทอดออกมาผ่านชิ้นงาน สิ่งที่น่าสนใจคือผลงานที่เกิดจากการทำงานร่วมกันของคู่ที่มีความต่าง

HAPPYNOISE-7

“ความสุขคือการที่ไม่ต้องคิดว่าอะไรคือ ‘ความสุข’”

Quoter: Manoon Tongnoparat, Writer
Visualizer: P7 x Mali, Graffiti x Graphic Designer

Inspiration: งานนี้เป็นบทสนทนาแบบ freestyle painting ที่เกิดจากการตั้งโจทย์จากความหมายของคำว่าความสุข เป็นงาน painting เชิงทดลองครั้งแรกของ graffiti artist รวมกับ calligrapher โดยเกิดจากการส่งต่อ frame ผืนผ้าใบเดียวเพื่อทำงานต่อกัน บทสนทนามีความทับซ้อนกันตามความรู้สึก สร้างสรรค์งาน painting แบบอิสระและปฏิเสธเหตุผลต่างๆ

“Wide Openness” โดย โน๊ต กฤษดา ภควัตสุนทร James Dean

HAPPYNOISE-8

“การเปิดกว้างและเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ ทำให้เราเห็นความสุขในมุมที่คุณอาจไม่เคยรู้”

จากบทสัมภาษณ์และการถ่ายทอดประสบการณ์ทางความคิดของผู้คนที่ใช้ชีวิตประจำวันอยู่ใน The EM District ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ร่วมกันของคนที่อาจไม่มีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่รู้จักกัน ผ่านงานประติมากรรมที่เป็นตัวแทนของความสุข ในเชิงรูปธรรม ก่อเกิดเป็นชิ้นงานที่เป็นตัวเชื่อมโยงทุกๆ คนในพื้นที่แห่งนี้ไว้ด้วยกัน เพราะความสุขนั้นอยู่รอบตัวเราเอง เพียงแค่เราเปิดใจรับ ก็จะพบความสุขในแบบที่ไม่เหมือนใคร

HAPPYNOISE-9

“เสียงของแม่คือเสียงแห่งความสุข ก็เหมือนเพลงลูกทุ่งที่มีเนื้อหาดีๆ”

Quoter: Thanakom Kruepetch, Security @ BTS Phrom Phong
Visualizer: Araya Indra, Director & Fashion Stylist

“Kind Ambience” โดย แต๊บ วรทิตย์ เครือวาณิชกิจ Farmgroup

HAPPYNOISE-10

“นิยามของบรรยากาศนั้น ครอบคลุมเหนือไปกว่าเพียงแสง สี เสียง กลิ่น รส ตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อบรรยากาศก็คือมนุษย์ ที่เปล่งพลังในรูปแบบที่แตกต่างกันออกมา พลังงานที่ถ่ายทอดออกมาจากมนุษย์ในพื้นที่ย่อมมีผลต่อบรรยากาศของพื้นที่นั้นๆ”

“Kind Ambience” หมายถึงบรรยากาศที่อบอุ่นเป็นกันเอง เมื่อศิลปินอยู่ท่ามกลางเพื่อน หรือบุคคลที่ตั้งใจทำงาน สร้างสรรค์ สร้างแรงบันดาลใจและที่สำคัญคือมีจิตใจดีงาม

HAPPYNOISE-11

“คุณเท่านั้นที่จะให้สิ่งดีๆ กับตัวคุณเอง เมื่อใจบริสุทธิ์”

Quoter: Pichet Klunchun, Independent Solo Dance Artist
Visualizer: Farmgroup, Multi-discipline Design

Inspiration: ถ้าเราต้องการคำพูดที่มีความหมายและเป็นที่จดจำ มันจะต้องมาจากคนที่มหัศจรรย์มากๆ ต้องเป็นคนที่เป็นทั้งครูและนักเรียน ทั้งดื้อและเป็นอิสระ ต้องเป็นคนที่เห็นคุณค่าของประเพณี แต่ให้ความสำคัญกับนวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์ไม่แพ้กัน ท้ายที่สุดก็ไม่เห็นใครที่เหมาะไปกว่า พิเชษฐ กลั่นชื่นพิเชษฐ เป็นนักเต้นและนักออกแบบท่าเต้นที่ผสมผสานภาษาราฏศิลป์ไทยเข้ากับอารมณ์ที่ร่วมสมัยได้อย่างลงตัว

ปัญญาคือแสงที่ส่องสว่าง เมื่อต้องการการชี้นำและทิศทาง ดังนั้น จึงต้องการให้ผู้ที่มาชมงานรู้สึกเหมือนตัวเองได้รับของขวัญอันแสนมีค่านี้จากศิลปิน นั่นคือเหตุผลที่ว่าเพราะอะไรผู้ชมถึงต้องป้องมือไว้ในกล่อง เช่นเดียวกับเวลาที่รับพร เพื่อที่จะอ่านถ้อยคำแห่งปัญญานั่นเอง

“Beautiful Attitude” โดย ปู จิรัฏฐ์ พรพนิตพันธุ์ Cheeze & Looker Magazine

HAPPYNOISE-12

“รอยยิ้มของโลกจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้คนบนโลกใช้ชีวิตด้วยทัศนคติที่งดงาม ศิลปินที่เข้ามาร่วมงานกับผมนั้น ล้วนเป็นศิลปินผู้มีทัศนคติดีงาม และมีความจริงใจ อันสะท้อนผ่านผลงานที่ช่วยส่งต่อความปรารถนาดีไปยังผู้ที่ได้พบเห็นทุกคน”

HAPPYNOISE-13

“หาเพลงเก่าที่เคยชอบมาฟัง เหมือนได้ย้อนเวลากลับไปเจอเพื่อน เพลงนั้นจะเคยสุขหรือเคยเศร้า แต่ตอนนี้มีความสุข”

Quoter: Tiew Disaya, Kidnapper Vocalist
Visualizer: Jeep Kongdechakul, Designer – Illustrator

Inspiration: ภาพบรรยากาศ โมเม้นที่เราได้เจอเพื่อนพูดคุยสังสรรค์บนโต๊ะกินข้าว น่าจะเป็นสถานที่ของทุกๆคนในแต่ละวัยที่สามารถพูดคุย บรรยาย ปรับทุกข์ให้เพื่อนฟัง

ผลงานทั้งหมดนี้ได้ถูกจัดแสดงอยู่ที่ #HAPPYNOISE Base Space บริเวณทางเชื่อมระหว่างลาน The Em District กับสถานีบีทีเอสพร้อมพงษ์ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ถึง 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นงาน On-ground โดยมุ่งหวังที่จะให้ผลงานศิลปะเหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจ เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดพลังของการสื่อสารที่ดี เกิด #HAPPYNOISE ออกไปสร้าง Pollutions แห่งความสุขบนโลก Online ด้วย

นอกจากนี้ หากผู้คนที่สัญจรผ่านไปมาหรือนักท่องเที่ยวพบเห็นแล้วเกิดเป็นแรงบันดาลใจและอยากจะส่งต่อสร้างพลังคิดบวกให้เกิดการกระเพื่อมในโลกโซเชียล ก็สามารถที่จะนำภาพหรือโค้ทคำพูดในงานโชว์เคสนี้ไปแชร์ต่อได้ ซึ่งนอกจากผลงานที่จัดแสดงในพื้นที่ของ The EM District แล้วก็จะมีใน เฟซบุ๊ก The EM District People และอินสตาแกรม @theemdistrictpeople อีกด้วย เป็นการแผ่กระจายคลื่นความสุขออกไปในวงกว้าง ซึ่งเป็นส่วนนหนึ่งของกิจกรรม Let’s spread your #HAPPYNOISE ของแคมเปญนี้เช่นกัน

HAPPYNOISE-14

เรียกได้ว่างานโชว์เคสครั้งนี้ของ The EM District People เป็นงานที่ Integrate กันทั้ง Online และ On-ground ซึ่งเราพบได้ไม่บ่อยนักในงานการตลาดของไทย ถือเป็นอีกหนึ่งงานที่สร้างความแตกต่างอีกเช่นเคยของแลนด์มาร์คย่านการค้าสำคัญแห่งนี้ และถ้าใครชื่นชอบหรืออยากจะติดตามกิจกรรมอื่นจาก The EM District People ก็สามารถเข้าไปได้ที่ Facebook และ Instagram : The EM District People

WHENEVER YOU FEEL LIKE SMILING


  •  
  •  
  •  
  •  
  •