เข้าใจความหมายจริงๆ ของ 2 คำที่คนมักเข้าใจผิด! “Innovation ไม่ใช่ Disruption”

  • 2.8K
  •  
  •  
  •  
  •  

 

เป็น 2 คำที่หลายคนน่าจะคุ้นเคยกันอยู่แล้ว เพราะช่วงหลังๆ มีการพูดถึงบ่อยมากในวงการธุรกิจ วงการเทคโนโลยี และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หลายคนเข้าใจว่า นวัตกรรม (Innovation) คือการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ๆ ซึ่งจะพูดว่ามีความจริงอยู่เพียงครึ่งหนึ่งก็ว่าได้ ดังนั้น เราจึงอยากสรุปคำอธิบายจากคุณท็อป – จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา, CEO ของ Bitkub ซึ่งเป็น unicorn ตัวที่ 3 ของประเทศไทย ที่ได้พูดในงาน Marketing Day 2022

คุณท็อป พูดว่า “ที่จริง Innovation ไม่ใช่ Disruptionเพราะสำหรับคำว่า Innovation จริงๆ แล้วมันคือ “การพัฒนาบนสิ่งเดิมให้ดีขึ้นทีละนิด”

โดยยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้นคือ หากตั้งโจทย์ว่าถ้าเราต้องการทำให้แสงสว่างมันอยู่ได้นานมากขึ้น จะทำได้อย่างไรเพื่ออธิบายความหมายของ 2 คำนี้

โดย Innovation ในโจทย์นี้จะหมายถึงการพัฒนา ‘เทียนไข’ ให้มันใหญ่ขึ้น ยาวขึ้น จุดไฟได้นานขึ้น ซึ่งก็คือการ innovate + infrastructure เดิมที่มีอยู่แล้วทำให้มันดีขึ้นกว่าเดิม อาจจะดูทันสมัยขึ้น ใช้ประโยชน์ได้นานขึ้น ฯลฯ แต่มันไม่ใช่สิ่งใหม่

เพราะคำที่เราจะใช้พูดว่ามันคือสิ่งใหม่ สิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนได้ ก็คือคำว่า Disruption ซึ่งในโจทย์นี้ที่คุณท็อปใช้อธิบาย จะหมายถึง การพัฒนาไฟฟ้า ที่ไม่ได้มาจากการพัฒนาเทียนไขทุกวันๆ จนทำให้เป็น ‘หลอดไฟ’ เพราะมันคือการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เปลี่ยนทุกอย่างทั้งรูปแบบ โครงสร้าง คุณสมบัติในการใช้งาน ฯลฯ

 

Credit: Marketing Day 2022

 

ทั้งนี้ คุณท็อป ได้ย้ำด้วยว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้าโลกของเราจะไม่มีการพูดถึง Innovation แล้ว ดังนั้นต้องเปลี่ยนคำใหม่เป็น Disruption เปลี่ยนวิธีคิดใหม่ วิธีทำและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ไม่ได้พึ่งพาสิ่งเดิมแต่สร้างมันขึ้นมาบนกาแล็กซี่ใหม่ โดยได้พูดต่อเนื่องไปถึง ‘Web 3.0’ ว่ามันคือสิ่งที่จะมาในอีก 10 ปีข้างหน้า ความแตกต่างก็คือ ‘Read-Write-Own’ ไม่ใช่แค่อ่านได้อย่างเดียว แต่ขยายขีดจำกัดของผู้ใช้งานให้สามารถเป็นเจ้าของได้ด้วย ทั้งยังเป็นระบบ open-system ไม่ใช่ co-system เหมือนในปัจจุบันด้วย สิ่งสำคัญที่สุดคือ ธุรกิจ นักการตลาด หรือคนที่เกี่ยวข้องต้องปรับตัวให้ทันสิ่งที่จะเกิดขึ้น

 

 

 

ข้อมูลโดย Marketing Day 2022


  • 2.8K
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม
CLOSE
CLOSE