สรุป Highlight พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปทิศทางไหน ‘ออนไลน์’ เข้ามามีบทบาทอย่างไร

  • 251
  •  
  •  
  •  
  •  

 

พฤติกรรมของมนุษย์มักจะเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัยเป็นวิถีปกติ แต่สำหรับในช่วงที่มีการะบาดของไวรัส COVID-19 ซึ่งเป็นเหตุการณ์แบบไม่ปกติ ทำให้เกิดพฤติกรรมหลายๆ อย่างได้เปลี่ยนไป โดยเฉพาะการใช้ชีวิตประจำวันกับอินเทอร์เน็ตที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นกว่าเดิม

คุณณีว มาวิจักขณ์ และ คุณแพน จรุงธนาภิบาล จาก GroupM ได้พูดถึงผลการสำรวจครั้งล่าสุดของปีนี้ ซึ่งมีความพิเศษตรงที่ ใช้วิธีแบบ re-visit ถึง 3 ครั้ง เพื่อให้ข้อมูลที่ได้มาแม่นยำที่สุด เป็นความจริงมากที่สุด (จากจำนวนผู้ที่ทำการสำรวจ ทั้งหมด 200 คน)

 

 

สิ่งหนึ่งที่เห็นอย่างชัดเจนที่สุด ก็คือ ผู้คนเสพติดความสะดวกสบายมากขึ้น ขณะที่การระบาดของไวรัสทำให้เกิดความกังวลอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน จากจุดประสงค์เดิมๆ ที่คนจะใช้สื่อโซเชียลเพื่อความบันเทิง ก็เปลี่ยนไปเพื่อการค้นหาข้อมูล และติดตามข่าวสารมากขึ้น

 

ทั้งนี้ ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจครั้งล่าสุดนี้ และน่าสนใจในแง่การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค เช่น

  • ออนไลน์ กลายเป็นแหล่งรายได้ใหม่ (บางคนเป็นแหล่งรายได้หลัก)
  • ใช้ติดต่อสื่อสาร มีการส่งข้อมูลหากันมากขึ้นตั้งแต่ที่เกิดการระบาด COVID-19
  • เพิ่มความสะดวกสบายให้กับตัวเอง หันมาช้อปปิ้งออนไลน์มากขึ้น
  • หาความสนุกสนาน ใช้เพื่อเอ็นเตอร์เทนเมนต์มากขึ้น
  • ค้นหา inspiration/passion จากพื้นที่ออนไลน์

 

 

 

Delivery Riders และ Live ยังคงมีอยู่ และเพิ่มจำนวนมากขึ้น

จากการลงพื้นที่สำรวจในครั้งนี้ สิ่งที่เห็นอีกอย่างหนึ่งก็คือ อาชีพใหม่ที่เกี่ยวข้องกับ ‘delivery’ โดยทางทีมของ Group M บอกว่า ‘ผู้ชาย’ เกือบจะทุกคนที่เราทำการสำรวจเคย/กำลังทำอยู่ คือ เป็นไรเดอร์ของเดลิเวอรี่แบรนด์ต่างๆ

ขณะที่ ‘ผู้หญิง’ ก็เริ่ม Live กันมากขึ้นในแพลตฟอร์มที่มีฟีเจอร์ตรงนี้ เช่น Facebook หรือ Instagram ยิ่งในช่วงที่มีการระบาดอย่างหนัก เราจะยิ่งเห็นกลุ่มคนที่เพิ่มแหล่งรายได้จากทางออนไลน์กันมากขึ้น

 

 

‘Twitter’ ได้รับความนิยมมากที่สุดในการเสพข่าว

มีอีกหนึ่งข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค โดยทาง GroupM ได้บอกว่า ความกังวลที่เพิ่มมากขึ้นในระหว่างนี้ ตั้งแต่ที่เกิดวิกฤตการระบาด ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่เริ่มเสพข่าวสารที่เป็นประโยชน์ และช่วยอัพเดทอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นแพลตฟอร์มสื่อโซเชียลจึงครองใจมาเป็นอันดับหนึ่ง นั่นก็คือ Twitter ซึ่งส่วนใหญ่จะเลือกอ่านข่าวที่ติดแฮชแท็ก # ตามความสนใจเท่านั้น

ส่วนสื่ออื่นๆ ที่ได้รับความนิยมตามมา ก็คือ Facebook และเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ ดังนั้น ข้อมูลจากตรงนี้ค่อนข้างน่าสนใจว่า สัดส่วนของผู้คนที่เสพข่าวในช่วงนี้จะมาจากโพสต์สั้นๆ แต่ต้องได้เรื่องความเร็วมาเป็นปัจจัยสำคัญสุด

 

ปัจจัยเรื่อง ‘Money Out’ ส่วนใหญ่คนรอ โปรโมชั่น

พฤติกรรมในการใช้จ่าย น่าจะเป็นเรื่องสำคัญมากๆ เรื่องหนึ่งสำหรับธุรกิจและแบรนด์ เพราะจากการสำรวจครั้งนี้พบว่า ผู้บริโภคเลือกที่จะรอโปรโมชั่นสำหรับสินค้าที่รอได้ ไม่ว่าจะเป็นแคมเปญ 11.11 หรือ 9 เดือน 9 เป็นต้น

ส่วนสินค้าที่เป็นชิ้นใหญ่ๆ เช่น Big Bike, บ้าน, คอนโดมิเนียม คนเลือกที่จะรอก่อน ชะลอการซื้อออกไปก่อน แล้วเลือกที่จะเซฟเงินสดกับตัว

 

 

ดังนั้น เราลองมาดูกันว่าสำหรับ Money Where ที่ผู้คนเขาซื้อสินค้ากัน หากลองแบ่งตามหมวดหมู่ และแหล่งที่ซื้อจะอยู่ที่ไหนกันบ้าง

  • กลุ่มสินค้าที่ซื้อทางออฟไลน์ เช่น ผัก&ผลไม้, เนื้อสัตว์, อาหารทะเล, อาหารสด และ เครื่องดื่มแอลกฮอล์
  • กลุ่มสินค้าที่ซื้อทางออนไลน์ เช่น เบเกอรี่, ขนมขบเคี้ยว, ของหวาน, เครื่องดื่ม (ชาไข่มุก, กาแฟเย็น, ฯลฯ), สินค้าความงามและสุขภาพ, สินค้าใช้ภายในบ้าน และ สินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง
  • กลุ่มสินค้าที่ซื้อตามโปรโมชั่น (ทั้งออฟไลน์&ออนไลน์) เช่น สินค้าสำหรับแม่และเด็ก, เครื่องปรุงซอสต่างๆ, อาหารถุงจากร้านค้าทั่วไป และร้านอาหาร

 

ทั้งนี้ expert ทั้ง 2 คนจาก GroupM ได้พูดทิ้งท้ายว่า สิ่งสำคัญสำหรับการอยู่รอดในยุคนี้ และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงเร็ว มีหลักๆ อยู่ 4 เรื่องที่ต้อง remind ก็คือ ‘ปิดการขายให้เร็ว – ต่อยอด Data ให้ได้ – คุยและใช้ influencers ให้ถูกจุด – อย่าลืมทำ branding เพื่อการเติบโตแบบ long term’

 

 

 

 

ข้อมูลจากงาน GroupM FOCAL 2020


  • 251
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม