(สรุป) OR เคยมีธุรกิจอะไร และหันไปลงทุนในธุรกิจประเภทไหนบ้าง? ก่อนปิดดีลซื้อหุ้น 25% Kamu Tea

  • 99
  •  
  •  
  •  
  •  

Credit: i am Em / Shutterstock.com

 

กลายเป็นกระแสขึ้นอีกครั้งเมื่อวานนี้ หลังจากที่บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ได้เข้าซื้อหุ้นบริษัทคามุ คามุ จำกัด (KAMU) ธุรกิจเครื่องดื่มชาชื่อดัง ในวงเงินไม่เกิน 480 ล้านบาท เป็นการถือหุ้นในสัดส่วน 25% โดยบริษัท มอดูลัส เวนเจอร์ จำกัด (Modulus) บริษัทย่อยของ OR

ถือเป็นการตอกย้ำเส้นทางธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมัน (non-oil) ได้ชัดเจน ที่กลายมาเป็นอีกหนึ่งธุรกิจหลัก 30% (จากเดิมที่แบ่งสัดส่วนไว้ที่ 20%) เพื่อต้องการเข้าถึงไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคมากขึ้น โดยเป็นการใช้ช่องทางของสถานีบริการน้ำมัน PTT Station ที่มีอยู่กว่า 2,000 สาขาทั่วประเทศไทย

ด้วยแนวคิดของ OR ที่ต้องการเป็น ‘Retailing Beyond Fuel’ ให้กลายเป็นธุรกิจค้าปลีกที่ไม่ได้มีแต่น้ำมัน จากที่ก่อนหน้านี้ OR โฟกัสธุรกิจหลักไปที่ ธุรกิจน้ำมัน, ก๊าซธรรมชาติ NGV, ธุรกิจไฟฟ้าและสาธารณูปการ และอื่นๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ของคน

ทั้งนี้ positioning ของ OR ที่เปลี่ยนไป มีประเภทธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้นตอบโจทย์ไลฟ์ไตล์ที่แตกต่าง เราจึงอยากสรุปให้อ่านกันว่า ธุรกิจ non-oil สำหรับ OR มีอะไรบ้าง

 

ดำเนินธุรกิจโดย OR

 

  • Café Amazon แบรนด์ร้านกาแฟชั้นนำที่มีสาขากว่า 3,000 แห่งทั่วประเทศ
  • FIT Auto ศูนย์บริการยานยนต์ที่มีทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • Jiffy ธุรกิจค้าปลีกที่มีสินค้ากว่า 5,000 รายการ เปิดให้บริการทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • Moo & More หรือที่หลายคนเรียกว่า หมูปิ้งจิฟฟี่ เป็นการสร้างแบรนด์ในนาม Jiffy เพื่อขยายธุรกิจแฟรนไชส์
  • Pearly Tea ร้านชานมไข่มุกธุรกิจแฟรนไชส์ในเครือของ OR

 

 

OR เข้าซื้อหุ้น จับมือกับธุรกิจอื่นที่เป็น non-oil

 

  • Flash Express (ถือหุ้น 9%) บริษัทบริการด้านโลจิสติกส์จัดส่งพัสดุอันดับต้นๆ ของไทย
  • ORBIT Digital ธุรกิจที่จะเสริมในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นการร่วมลงทุนระหว่าง Bluebik (60%) กับ Modulus (40%) ที่เป็นบริษัทย่อยของ OR
  • Pacamara Coffee Roasters (ถือหุ้น 65%) แบรนด์กาแฟ Specialty สัญชาติไทยระดับพรีเมี่ยม และจำหน่ายเครื่องชงและอุปกรณ์กาแฟ
  • 7-Eleven ประกาศต่ออายุสัญญาจากสัญญาเดิมเป็นระยะเวลา 10 ปี
  • ร้านอาหารโอ้กะจู๋ (ถือหุ้น 20%) ร้านอาหารเพื่อสุขภาพมีทั้งหมด 14 สาขาในปัจจุบัน
  • ร้านอาหารญี่ปุ่น KOUEN (ถือหุ้น 25%) ร้านอาหารญี่ปุ่นพรีเมียมชื่อดัง ซึงปัจจุบันมีทั้งหมด 19 สาขา
  • Texas Chicken ร้านไก่ทอดชื่อดังจากอเมริกา ซึ่ง OR ได้รับอนุญาตเพียงรายเดียวสำหรับการซื้อแฟรนไชส์
  • ฮั่วเซ่งฮงติ่มซำ ติ่มซำระดับภัตตาคารที่ให้ OR เป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์เพื่อแตกไลน์ธุรกิจเจาะกลุ่มคนเดินทางกับเมนูทานง่าย 70 เมนู
  • Daddy Dough แบรนด์โดนัทระดับพรีเมียมที่เด่นเรื่องแป้งสูตรลับเฉพาะ โดย OR เป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์ในการขยายสาขาในปั๊มน้ำมัน ปตท.ทั่วประเทศ
  • Kamu Tea (25%) ชานมไข่มุกแบรนด์ไทยซึ่งเป็นดีลล่าสุดที่ OR เข้าซื้อหุ้นในมูลค่าไม่เกิน 480 ล้านบาท

 

จากมูฟเมนต์ที่เกิดขึ้นเห็นได้ชัดว่าธุรกิจ non-oil ของ OR กำลังเป็น flagship ที่มาแรงมากในเวลานี้ ซึ่งไม่ได้หมายถึงแค่อาหารหรือเครื่องดื่ม แต่ครอบคลุมทั้งหมดที่จะสามารถตอบไลฟ์สไตล์ลูกค้าได้ โดยการเข้าลงทุนและร่วมมือที่ผ่านมา ถือว่าอยู่ในเส้นทางแผนการลงทุนระยะ 5 ปี (2564-2568) มูลค่า 75,000 ล้านบาท ดังนั้น ในอนาคตคงจะได้เห็นความเคลื่อนไหวจาก OR เกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ


  • 99
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม
CLOSE
CLOSE