เราจะพาย้อนรอย Timeline การแพร่ระบาด COVID-19 ว่าจริงๆ แล้วเกิดขึ้นได้อย่างไร?

  • 60
  •  
  •  
  •  
  •  

ในขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาด Coronavirus ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ยังไม่มีท่าทีว่าจะยุติได้เร็วๆ นี้เลย ซึ่งตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลกในวันนี้ (30 มี.ค. 63) พุ่งทะลุไปแล้วเกิน 720,000 คน ขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตยังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อยู่ที่ 33,925 ราย

โดย ‘สหรัฐอเมริกา’ ยังคงเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงที่สุดในโลก อยู่ที่ 140,886 คน รองลงมา คือ อิตาลี ส่วน สเปน และเยอรมนี ก็ถือว่ายังอยู่ในรายชื่อประเทศ Top5 ของโลกที่มีผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 สูงเช่นเดิม

ทั้งนี้ ทุกคนต่างก็รู้กันดีว่า COVID-19 นั่นมีแหล่งเพาะเชื้อแห่งแรกที่เราพบเคสแรก มาจาก ‘อู่ฮั่น’ ศูนย์กลางการขนส่งอยู่ในมณฑลหูเป่ยของจีน ซึ่งมีประชากรราวๆ 11 ล้านคน ในวันนี้ MarketingOops อยากจะพาทุกคนย้อนรอย timeline ตั้งแต่ที่เกิดวิกฤตการระบาดนี้ไปด้วยกัน

โดยข้อมูลของ The New York Times น่าสนใจตรงที่ เป็นบทความการวิเคราะห์ที่เชื่อมโยงเหตุและผล ที่ทำให้การแพร่ระบาดนั้นทะลุออกมาจาก ‘จีน’ จนลุกลามไปสู่เมืองต่างๆ และการระบาดได้เข้าสู่เกือบ 50 ประเทศทั่วโลกในที่สุด

ในบทความมีประโยคหนึ่งน่าสนใจ “Stop travel, stop the virus” ซึ่งประโยคนี้ฟังดูเหมือนจะง่าย….แต่กลับไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะอะไรรู้มั้ย? เราลองมาดูกัน

  • เริ่มต้นจากช่วงต้นเดือน ธ.ค. 62 ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยที่มีอาการ ‘ปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส’  จำนวน 4 คน จนเพิ่มเป็นหลาย 10 คนในระยะเวลาไม่กี่วัน โดยแพทย์จีนลงความเห็นเพียงว่า ผู้ป่วยเหล่านั้นมีอาการที่ไม่ตอบสนองการรักษาของแพทย์
  • Trevor Bedford จากศูนย์วิจัย Hutchinson ของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ประเมินว่า “ขนาดความรุนแรงของการแพร่ระบาดของไวรัสในเมืองอู่ฮั่นในช่วงเวลานั้น ที่จริงแล้วน่าจะมีจำนวนมากกว่าที่จีนเปิดเผย เกือบ 1,000 ราย”
  • ทั้งยังกล่าวด้วยว่า “โดยปกติผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อทางปอดจากไวรัส จะไม่มีการแพร่กระจายต่อ แต่ในกรณีนี้กลับเพิ่มจำนวนผู้ป่วยมากขึ้น แต่เจ้าหน้าที่ของจีนกลับไม่ยอมแถลงการณ์เพื่อเตือนพลเมืองให้ป้องกันตัว”
  • จนเมื่อวันที่ 31 ธ.ค.62 รัฐบาลจีนได้ออกแถลงการณ์ พร้อมชี้แจงต่อองค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อแสดงความมั่นใจว่า โรคที่พบในจีนจะสามารถป้องกัน และควบคุมได้”
  • วิกฤตการแพร่ระบาดอาจจะไม่แย่ลง หากชาวจีนหลายร้อยล้านคนไม่เดินทางบ้านภูมิลำเนาเดิม ในช่วงวันหยุดตรุษจีน ซึ่งตรงกับวันที่ 1 ม.ค. 63 ซึ่งปรากฏการณ์การเดินทางนี้เองทำให้หายนะของไวรัสทวีความรุนแรงขึ้น
B.Zhou
  • เฉพาะที่ ‘อู่ฮั่น’ เมืองเดียวมีชาวจีนชาวอู่ฮั่นเดินทางออกนอกเมืองจำนวน 175,000 คน แค่วันนั้นวันเดียว
  • จากนั้นเวลาเพียง 3 สัปดาห์แรกของเดือน ม.ค. ชาวอู่ฮั่นเดินทางออกนอกเมือง จนเหลือแค่ 7 ล้านคน ก่อนที่รัฐบาลจะสั่งจำกัดการเดินทางทั่วเมืองอู่ฮั่น
  • เมื่อวันที่ 21 ม.ค. Jeffrey Shaman ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย Columbia ชี้ว่า นักเดินทางชาวจีนหลายพันคนที่เดินทางออกนอกเมือง/ประเทศ ช่วงวันหยุดตรุษจีน และมีอาการป่วยติดเชื้อทางปอด
  • ในวันเดียวกันนั้น เจ้าหน้าที่จีนแถลงยอมรับเป็นครั้งแรก ระบุว่า พบเชื้อไวรัสที่สามารถแพร่ระบาดเชื้อจาก ‘คนสู่คน’ ขณะที่เริ่มมีรายงานข่าวเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในเซียงไฮ้, ปักกิ่ง และหัวเมืองใหญ่ๆ ว่าเริ่มพบผู้ติดเชื้อ
  • ในวันที่ 23 ม.ค. มีหลายเมืองในจีนที่ถูกสั่งปิดการเดินทางทั้งภายในประเทศ และเดินทางออกนอกประเทศด้วย
  • ในบทวิเคราะห์ดังกล่าวชี้ว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสที่เกิดขึ้นในจีน ได้กระจายไปยังประเทศอื่นๆ บ้างแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. เพราะชาวจีนหลายหมื่นคนเดินทางออกนอกประเทศตั้งแต่ช่วงเวลานั้น
  • ข้อมูลของรัฐบาลจีนยืนยันว่า โดยเฉลี่ยแล้วในทุกๆ เดือนจะมีชาวจีนที่เดินทางไป ‘นิวยอร์ก’ ประมาณ 900 คน, ไปยังนครซิดนีย์ กว่า 2,200 คน และ ‘ไทย’ จุดหมายปลายทางยอดนิยมที่สุด ซึ่งมีชาวจีนเดินทางเข้ามามากกว่า 15,000 คนต่อเดือน
katherinekycheng
  • สำหรับ case แรกที่เกิดขึ้นในไทย พบว่าเป็น ‘หญิงชาวจีน’ อายุ 61 ปี ที่เดินทางมาจากเมืองอู่ฮั่น เข้ามายังกรุงเทพฯ ในช่วงกลางเดือน ม.ค.63 โดยพบว่า เธอมีอาการปวดหัว, มีไข้เล็กน้อย และรู้สึกเจ็บคอ (อาการเหมือนไข้หวัดทั่วไป)
  • และในช่วงเวลาใกล้ๆ กัน เมื่อวันที่ 23 ม.ค. พบว่ามีชาวจีนที่เดินทางไปยัง กรุงโตเกียว, สิงคโปร์, โซล เมืองหลวงเกาหลีใต้, ฮ่องกง และในเมืองที่ใกล้ๆ กับซีแอตเทิลของสหรัฐอเมริกา ทั้งยังพบว่ามีอาการป่วยใกล้เคียงกับที่เราพบในกรุงเทพฯ
  • Jeffrey Shaman ผู้เชี่ยวชาญด้านนักระบาดวิทยา จากมหาวิทยาลัย Columbia กล่าวถึงเชื้อไวรัสเป็นครั้งแรกว่า คาดการณ์ว่า 85% ของผู้ที่เดินทางจากจีนและมีอาการติดเชื้อ ‘ไม่แสดงอาการ’
  • เมื่อวันที่ 31 ม.ค. เป็นครั้งแรกที่รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศ ‘สั่งห้าม’ ไม่ให้ชาวจีนเดินทางเข้ามาในสหรัฐฯ รวมไปถึงสั่งห้ามพลเมืองชาวอเมริกัน ห้าม*เดินทางไปยังเมืองอู่ฮั่นด้วยเช่นกัน
  • แต่ดูเหมือนว่าสถานการณ์การสั่งห้ามนี้น่าจะสายเกินไป เพราะในวันเดียวกัน มีรายงานว่า พบการระบาดจากเชื้อไวรัสที่พบในอู่ฮั่น ใน 30 เมือง 26 ประเทศทั่วโลกเป็นที่เรียบร้อย ทั้งยังพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากอู่ฮั่น เข้ามาตั้งแต่ช่วงต้นเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา
Roman Sigaev
  • ต่อมาเมื่อวันที่ 14 ก.พ. มีประกาศจากหลายๆ ประเทศเพิ่มเติม ถึงที่มาของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ว่าส่วนใหญ่มาจาก ‘พื้นที่ปิด’ ที่มีคนหนาแน่น และมีการเคลื่อนย้ายผู้คนบ่อยๆ เช่น ร้านอาหาร และ โบสถ์
  • เมื่อวันที่ 1 มี.ค.ที่ผ่านมา เป็นการรายงานข่าวครั้งแรกว่า พบผู้ป่วยติดเชื้อจากไวรัสในอิตาลี, อิหร่าน และเกาหลีใต้ ซึ่งเป็น 3 ประเทศที่มีจำนวนผู้ป่วยมากหลายพันคน
  • ในช่วงเวลาเดียวกัน พบว่า ทางฝั่งของจีนได้เริ่มมีการทดสอบเกี่ยวกับการรักษาโรค, เฝ้าระวัง, แยกผู้ป่วยอย่างมีระบบ ทั้งยังพบว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่น้อยลงด้วย ขณะที่มาตรการดังกล่าวเริ่มใช้กันมากขึ้น ในสิงคโปร์, เกาหลีใต้ และฮ่องกง
  • ในวันที่ 11 มี.ค. 63 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ได้ประกาศระงับการเดินทางเข้าประเทศ(ชั่วคราว) สำหรับผู้คนที่มาจากประเทศยุโรป (ยกเว้นสหราชอาณาจักร) เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสมากขึ้น ทั้งเป็นการลดความหนาแน่นของคนในประเทศด้วย
  • ถึงอย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 20 มี.ค. มีรายงานข่าวจากหลายเมืองของสหรัฐ ไม่ว่าจะเป็นในซีแอตเทิล, นิวยอร์กซิตี้ และอีกหลายๆ เมือง ที่ยืนยันว่า ไวรัสยังคงแพร่ระบาดอย่างรุนแรง ขณะที่ในหลายๆ เมืองสินค้าทางการแพทย์เริ่มขาดตลาดแล้ว
The New York Times

ขณะนี้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ได้กินเวลาแล้ว 4 เดือนเต็มๆ แต่ตัวเลขการติดเชื้อในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งในไทย ยังพุ่งทะยานไม่มีวี่แววว่าจะลดลงเร็วๆ นี้ WHO ได้ยกระดับให้ Coronavirus เป็นวิกฤตระดับโลก ทั้งยังแสดงความคิดเห็นว่า รัฐบาลในหลายประเทศที่กำลังได้รับผลกระทบต้องเร่งมือยุติการแพร่ระบาดให้เร็วขึ้น

ขณะที่นักวิเคราะห์ และผู้เชี่ยวชาญจากหลายๆ ศาสตร์ ยังประเมินในทิศทางเดียวกันว่า วิกฤตนี้เป็นไปได้ว่าอาจจะลาดยาวไปถึงถึงกลางปีนี้ หรือตลอดทั้งปี!

ดังนั้น หากเราทุกคนให้ความร่วมมือ ‘หยุดเคลื่อนย้าย’ หยุด! เดินทาง ช่วยกัน…หยุดเชื้ออยู่แต่บ้านตามมาตรการของรัฐบาล “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ก็มีโอกาสที่เราจะรอดพ้นจากวิกฤตนี้ไปด้วยกันในเร็ววัน #stayhome #ไทยช่วยไทย

 

 

ที่มา : nytimes


  • 60
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม