Exclusive: เราเรียนรู้อะไรจากการเปิดตัวบริการท่องเที่ยว “AirBnB Trips” ในไทย?

  • 191
  •  
  •  
  •  
  •  

กระแสการเอาที่พักอาศัยของตัวเองมาให้คนอื่นที่เราไม่เคยเจอหน้ากันมาก่อนกำลังมาแรงขึ้นเรื่อยๆ และการมีเทคโนโลยีเข้ามา ทำให้สตาร์ทอัพที่เล่นกับกระแสนี้เป็นที่รู้จักขึ้นในหมู่ผู้ที่มีบ้านพักอาศัยและนักท่องเที่ยว AirBnB เป็นสตาร์ทอัพเจ้าแรกๆที่ทำไอเดียให้เกิดขึ้นจริง

มาคราวนี้ AirBnB ไม่ได้หยุดแค่ให้เราเอาที่อยู่ของตัวเองมาให้เช่า แต่เราสามารถเป็นเจ้าของโปรแกรมทัวร์ได้ง่ายๆได้กับ AirBnB Trip ที่ “โจ เกบเบีย” หนึ่งในผู้ก่อตั้ง AirBnB บินตรงมากรุงเทพเพื่อเปิดตัว

แต่เราเรียนรู้อะไรจาก AirBnB Trip ที่เพิ่งเปิดตัวไป? นี่คือ 5 บทเรียนสำคัญที่เหล่าสตาร์ทอัพไม่รู้ไม่ได้

 

Joe Gebbia

“โจ เกบเบีย” หนึ่งในผู้ก่อตั้ง AirBnB บินตรงมากรุงเทพเพื่อเปิดตัว AirBnB Trip 

 

1. ไม่ยึดติดกับโมเดลธุรกิจเดิมๆ

ABAB

เวลาเราพูดถึง AirBnB เราจะนึกถึงแอปพลิเคชันที่ช่วยให้เจ้าของที่พักสามารถให้คนแปลกหน้าสามารถเช่าที่พักได้ และ AirBnB จะเก็บค่าธรรมเนียมจากทั้งผู้เช่าและผู้ให้เช่า

แต่ AirBnB ไม่ได้แค่ให้บริการเพียงการแชร์ที่พักครบวงจร แต่บริการด้านงานบริการท่องเที่ยวที่นำเสนอประสบการณ์แบบท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะผ่านที่พัก ประสบการณ์และสถานที่ มีคำแนะนำจากประสบการณ์ตรง เพื่อให้คนในพื้นที่ได้แนะนำแขกที่ใช้บริการที่พักผ่าน AirBnB รวมถึงผู้ที่ไม่ได้ใช้บริการด้วย

 

2. AirBnB Trip แก้ปัญหาที่ “เจ็บปวดที่สุด” ของคนชอบเที่ยว

Airbnb Travel

ที่น่าปวดหัวที่สุดสำหรับคนชอบเที่ยวคือจะเที่ยวแต่ละครั้งต้องเสียเวลาหาข้อมูลมาวางแผนเที่ยว ต้องเปิดเว็บไซต์และอีกหลายแอปฯเพื่อหาข้อมูลสถานที่สำคัญ กีฬานอกบ้าน อีเวนท์ที่น่าสนใจในแต่ละเมือง เอาข้อมูลมาปะติดปะต่อกัน เพื่อให้ได้แค่ทริปเดียว

แต่ AirBnB รวบรวมโปรแกรมกิจกรรมในแต่ละเมืองมาให้นักท่องเที่ยวได้เลือก หาข้อมูลและจองโปงแกรมกิจกรรมได้ในแอปฯเดียว ทำให้จัดตารางทัวร์ได้ง่าย ประหยัดเวลาและสมบูรณ์แบบ หมดปัญหาไม่รู้ว่าจะไปเที่ยวไหนดี AirBnB จะจัดการให้เรา ทุกคนจะแชร์สิ่งที่ชอบให้คนอื่นได้เห็นได้ยิน ชอบ แล้วเราก็เข้าไปดูรีวิวทริปนั้นได้ไม่ยากเลย

 

3. ประสบการณ์กลายเป็นบริการที่ซื้อขายกันในตลาดได้บนปลายนิ้ว

โอกาสที่คนในพื้นที่ที่มีความชำนาญได้แสดงพรสวรรค์และภูมิปัญญา แนะนำมุมมองการท่องเที่ยวในเมือง เป็นไกด์นำทัวร์ได้ มอบประสบการณ์ใหม่ๆ นำไปสู่สถานที่ที่เป็นเอกลักษณ์ มีคุณค่าสำหรับในพื้นที่นั้น ซึ่งน้อยคนได้สัมผัส หรือได้ไปในเวลาปกติ หรือสถานที่ที่คนทั่วไปไม่สามารถเข้าไปเที่ยวได้ ทำให้เที่ยวไม่ซ้ำใครได้ง่ายๆในแอปฯเดียว ได้เชื่อมต่อวัฒนธรรมท้องถิ่นผ่าน AirBnB เที่ยวเหมือนคนท้องถิ่น

เพียงแค่ออกแบบโปรแกรมกิจกรรมสำหรับนักท่องเที่ยวหรือผู้ที่สนใจเข้าร่วม ก็ทำรายได้ให้กับเจ้าของโปรแกรมแล้ว

 

Joe_Gebbia-World_Tour_BBK-Low02

โจ เกบเบียไปต่อยมวยไทย ไปรู้จักศิลปการต่อสู้มวยไทย ได้ดูมวยไทยของแท้ สนามมวยลุมพีนี ได้เห็นประวัติศาสตร์ เห็นพิธีการต่างๆ และได้ไปโรงเรียนสอนมวยไทย ได้ต่อยจริง ชมยิมมวยจริงๆ รู้ความหมายของการไหว้ครู ครบเครื่อง จนรู้สึกประทับใจ เป็นประสบการณ์ที่หายาก

 

[BKK] Muay Thai

โปรแกรมมวยไทย

ร่วมใช้ชีวิตในค่ายมวยไทยที่เวทีมวยนานาชาติรังสิต โดยเริ่มจากทัวร์ค่ายมวยไทยคงสิทธา เรียนรู้การต่อสู้ด้วยอาวุธแขนและขา 8 ส่วน ต่อสู้ 3 ยกบนสังเวียน ฝึกการไหว้ครู และฝึกความแข็งแกร่งและการปรับสภาพร่างกายประจำวัน จบด้วยร่วมรับประทานผัดไทและชมมวยไทยติดขอบเวที

 

[BKK] Thai Fruit Carving

แกะสลักผลไม้ไทย

เรียนรู้การทำอาหารไทยไปกับนักชิมท้องถิ่น นักท่องเที่ยวจะได้พบกับคุณแววมณี  มีความสุขไปกับอาหารพื้นเมืองที่ภัตตาคารโต๊ะเดียวตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร จากนั้นไปนั่งรถตุ๊กตุ๊กไปตลาดสด ได้รู้จักกับผลไม้หลากสีและแผงขายผัก และเลือกผลไม้ที่จะนำมาแกะสลักตามแบบไทย

 

[BKK] Local Flavors in a Glass

รสชาติท้องถิ่นในแก้ว

มุ่งหน้าไปสู่ย่านสุดฮิปอย่างทองหล่อ เรียนรู้ศิลปะของการชงคอกเทลโดยใช้ส่วนผสมพื้นเมืองของไทยจากคุณรณพร

 

4. ธุรกิจโรงแรมและทัวร์งานเข้า เมื่อ AirBnB ย้ายความมั่งคั่งไปสู่มือชุมชนและท้องถิ่นมากขึ้น

trips-og-1280x630-9de9c338cc3fd9b5663fb80be0cbe8c2

ตอนนี้การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่มักเอาแต่ทำเงินโดยบริษัททัวร์ นักท่องเที่ยวต้องไปต่อคิวยาวๆ ไปสถานที่ท่องเที่ยว แลนด์มาร์คเหมือนๆกันและถ่ายรูปมุมเดียวกัน จนมันไม่สนุกแล้ว ซึ่งจริงๆแล้วในเมืองมีสิ่งที่น่าสนใจมากกว่าสถานที่ท่องเที่ยวเดิมๆ ที่ทัวร์ชะโงกไป ไม่ได้รับรู้ตื่นเต้น

แต่จากสถิติทั่วโลกแล้วมี 86% ของนักเดินทางอยาก ‘พักอาศัยให้เหมือนคนท้องถิ่น’ และมี 79% ของนักเดินทางอยากสำรวจท้องถิ่นจริงๆ

ฉะนั้นหาก AirBnB ได้รับความนิยมมากขึ้น ธุรกิจโรงแรมและธุรกิจทัวร์อาจจะต้องเจอคู่แข่งอย่างคนในท้องถิ่นที่ให้เช่าที่พักอาศัยตอบโจทย์นักท่องเที่ยวที่ต้องการประสบการณ์แบบท้องถิ่นเหมือนได้ใช้ชีวิตในพื้นที่นั้นจริงๆ ไม่ใช่พักที่โรงแรมที่ไม่ได้สัมผัสประสบการณ์ในเมืองนั้นมากนัก อีกทั้งยังได้ทำกิจกรรมที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำกับโปรแกรมทัวร์ทั่วไปโดยมีคนในท้องถิ่นหรือผู้เชี่ยวชาญเป็นไกด์แทนไกด์ที่ทำงานประจำกับบริษัททัวร์ สร้างรายได้เสริมให้กับคนในท้องถิ่นแข่งกับธุรกิจทัวร์และธุรกิจโรงแรม

 

5. กฎหมายยังเป็นอุปสรรคต่อนวัตกรรมของสตาร์ทอัพ

airbnblegal2

ยังน่าเป็นห่วงสำหรับสตาร์ทอัพที่ช่วยให้ผู้บริฌภคทำรายได้จาก Sharing Economy ไม่เว้นแต่ AirBnB ด้วยซึ่งแค่บริการให้เช่าที่อยู่อาศัยก็อาจไม่ได้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และ พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ. 2478 อาจเข้าข่ายการกระทำผิดจากการนำอาคารชุดที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นโรงแรมออกมาให้เช่า เนื่องจากเข้าข่ายการจดทะเบียนผิดประเภท

และเมื่อ AirBnB เปิดตัว AirBnB Trip ในประเทศไทย คนที่เป็นเจ้าของโปรแกรมเที่ยวก็อาจทำผิดกฎหมายเนื่องจากไม่มีใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ได้

ซึ่งโจ เกบเบียก็ได้ให้ความสำคัญกับกฎหมายอขงแต่ละประเทศ และจะทำให้บริการของ AirBnB ปรับตัวตามกฎหมายของแต่ละเมือง ให้รัฐบาลและผู้บังคับใช้กฎหมายได้เข้าใจเรื่องของ Sharing Economy หาทางปรับกฎระเบียบที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานและรัฐได้ลงตัว

 

10 ข้อที่ต้องรู้กว่าจะมาเป็น AirBnB

Temple-Airbnb-Logo

1. สตาร์ทอัพ AirBnB เริ่มจากคน 3 คนที่เพิ่งจบจากมหาวิทยาลัยและพักในบ้านเดียวกัน เป็นนักออกแบบและวิศวกร และฝันอยากสร้างบริษัทร่วมกัน

2. AirBnB เริ่มจากเมืองซาน ฟรานซิสโก ในปี 2007 มีงานออกแบบในเมือง มีโรงแรมเต็มไปหมด ค่าเช่าอพาร์ทเมนท์แพงจนไม่มีปัญญาจ่าย ผู้ก่อตั้ง AirBnB ทั้งสามคนจึงต้องรีบหาเงินมาประทังชีวิต

3. ไอเดียของ AirBnB เกิดจากการให้เช่าพื้นที่ห้องนั่งเล่นกับคนที่กำลังมองหาที่พักอยู่ เพื่อหารายได้เสริม ซึ่งตอนนั้นไม่มีเตียงเสริม แต่มีเตียงลม เลยเอาเตียงลมวางในห้องรับแขกของตัวเองเกิดเป็นบริการ AirBed & Breadfast โดยโฆษณาเว็บไซต์ง่ายๆโฆษณาห้องนั่งเล่นของตัวเอง จนมีแขกทั่วโลกอีเมลติดต่อเพื่อจะมาเช่าอยู่

4. ผู้ก่อตั้งทั้ง 3 คนจึงต้องเลือกคนที่จะมาอาศัยอยู่ ซึ่งลูกค้ารายแรกก็ได้ประสบการณ์รู้สึกเหมือนได้อาศัยได้เที่ยวในซานฟรานซิสโกจริงๆกับคนท้องถิ่นจริงๆ ไม่ใช่แค่ไปเยี่ยมไปชมเมือง จนทำรายได้เสริมมาใช้เงินเพื่อพัฒนาตัวเอง

5. แรงบันดาลใจในการทำ AirBnB เกิดจาก ไอเดียที่ว่า ถ้าให้บริการทุกคนบนโลกนี้ ได้อยู่ที่ไหนก็ได้ในหลายๆเมืองทั่วโลก ให้ได้รับประสบการณ์เหมือนได้อยู่และรู้สึกผูกพันกับพื้นที่นั้นจริงๆ

6. AirBnB จึงเริ่มต้นจากการ เข้าร่วมโครงการ Y Combinator ใน Silcon Valley และมีห้องรับแขกเป็นออฟฟิศ และออกแบบเว็บไซต์ง่ายๆมี 8 หน้าบนกำแพง และขบคิดกันว่าจะทำอย่างไรให้คนที่ไม่เคยเจอหน้ากันมาก่อนให้เชื่อใจกัน

7. ธุรกิจ AirBnB เติบโต จนปัจจุบันมีสำนักงาน 19 แห่งทั่วโลก มีบ้าน 3 ล้านแห่งที่ไปเช่าอยู่ได้ทั่วโลกกว่า 65,000 เมืองใน 190 ประเทศ มีผู้ใช้บริการ AirBnB เกิน 160 ล้านคน พัฒนาจนกลายเป็นบริการที่ให้ประสบการณ์การท่องเที่ยวในเมืองที่ไม่คุ้นเคย

8. จุดหมายปลายทางยอดนิยม 10 ประเทศที่มีนักเดินทาง AirBnB เข้าไปสูงสุดคือ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น แคนาดา ออสเตรเลีย เยอรมนี โปรตุเกส

9. ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่เป็นที่นิยมสำหรับนักเดินทางของ AirBnB โดยมีอัตราการเจริญเติบโต ร้อยละ 150 ต่อปี โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจำนวน 774,000 คน จากประเทศต่างๆ ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และ เยอรมนี

10. ไทยมี AirBnB 45,000 แห่ง โดยจำนวน 3 ใน 10 นักเดินทางที่มาเที่ยวเมืองไทยได้พักอาศัย ณ ที่พักของ AirBnB

 

จุดที่ AirBnB ต้องระวังอีกอย่างหนึ่งคือมาตรฐานของบริการที่พักและโปรแกรมท่องเที่ยวที่ถูกเสนอบนช่องทางของ AirBnB Trip เพราะเมื่อบริการไม่เหมือนกัน คนใช้บริการก็ต้องคำนึงถึงคุณภาพ ซึ่งโจ เกบเบียก็ได้บอกว่า AirBnB มีระบบ Grading System เพื่อสื่อสารกับผู้เช่าในมาตรฐานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเช็คอิน ความสะอาด เป็นมาตรฐานที่ Host ต้องทำให้ได้ ถ้าผู้ใช้บริการไม่ชอบก็มีการรีวิว ถ้าไม่ทำตาม ก็ต้องคุยกันว่าจะพัฒนาบ้านให้ตรงตามมาตรฐานได้อย่างไร มีการถ่ายรูปสวยๆ ไปถ่ายให้เจ้าของบ้านฟรี และต้องให้ภาพของที่ทักบน AirBnB ตรงกับของจริง แถมมีการประกันค่าเสียหายกับผู้ใช้งาน

 

ซึ่งหาก AirBnB ไม่สามารถแก้ปัญหาตรงนี้ได้ก็อาจเปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพหน้าใหม่ที่ทำได้ดีกว่าก็ได้

 

แหล่งที่มา

Press Conference งาน AirBnB Trip โดย Joe Gebbia ที่ Greyhound Café สยามเซ็นเตอร์ชั้น 3 วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม 2560


  • 191
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th