4Ps ถอยไป โลกยุคใหม่ต้องเน้น 4Es

  • 6.8K
  •  
  •  
  •  
  •  

4e

ทุกคนคงจำ market mix แบบ classic ของ  Edmund Jerome McCarthy ได้ที่มี 4Ps คือ Product Price Place Promotion ใช่ไหมคะ ตอนนี้มีแนวคิดใหม่ ที่น่าสนใจและปรับเข้ากับยุคปัจจุบันมากกว่า คือ 4Es ลองมาเรียนรู้เพื่อปรับใช้ในงานของคุณกันคะ

1) From Product to Experience

การทำธุรกิจสมัยใหม่ หมดยุคที่เรามุ่งเน้นแต่สินค้าแล้ว ลองจินตนาการว่าถ้าคุณอยากกินกาแฟ หลายๆครั้งคุณไม่อยากได้แค่กาแฟอร่อย แต่มันคือร้านที่บรรยากาศดี พนักงานเป็นกันเอง และจำชื่อคุณได้ด้วย นั่งก็สบาย เป็นเหตุผลที่ทำให้คุณต้องจ่ายแพงกว่าเพื่อซื้อประสบการณ์ทั้งหมด ที่มากกว่าแค่สินค้า

ในทางตรงกันข้ามธุรกิจที่ไม่เข้าใจเรื่องการสร้างประสบการณ์จะประสบความสำเร็จยาก เช่น ถ้าคุณไปทานร้านเสต็กร้านหนึ่ง ร้านนี้เน้นแต่สินค้าคือ อร่อยมาก แต่ที่จอดรถไม่เคยมี พนักงานพูดจาแย่มาก และคุณแอบเห็นแมลงสาบเดินเล่นในร้านด้วย ธุรกิจนี้คงอยู่ยากแน่นอน ดังนั้นจำเป็นที่นักการตลาดยุคใหม่ ต้องบริการประสบการณ์ที่ดีตลอด Customer Journey เช่นตัวเองข้างล่างนี้ (มีโอกาสจะมาเล่าเรื่องการสร้าง Customer Experience แบบเจาะลึกคะ)

customer-journey

2) From Place to Everyplace

สมัยก่อน ธุรกิจอาจมีช่องทางการขายอาจมีแค่ช่องทางเดียว แต่ตอนนี้การแข่งขันที่สูงขึ้น นักการตลาดมีหน้าที่ทำให้สินค้าและบริการอยู่ทุกที่ที่ผู้บริโภคสะดวกและเข้าถึงง่ายที่สุด การแข่งขันในโลกยุคใหม่คือใครเข้าถึงลูกค้าได้มากกว่ากัน  ดังนั้นความท้าทายคือแบรนด์ของเราจะเข้าถึงลูกค้าได้แบบ right time, right place ได้อย่างไร? เพื่อให้การเข้าถึงนั้นเป็นการเจอกันในเวลาที่เหมาะสม (Intercept) ไม่ใช่เป็นการรบกวน (Interrupt) ดังนั้นแบรนด์จึงจำเป็นต้องพบเจอกลุ่มเป้าหมายในหลายๆจุด ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ใครใกล้ชิดกับลูกค้ามากที่สุดคือผู้ที่ได้เปรียบคะ ไม่ต่างจากการจีบผู้หญิงเลยใช่ไหม?

3) From Price to Exchange

ผู้เขียนเจอนักการตลาดหลายท่าน วงเวียนอยู่กับการตั้งราคาให้จูงใจ เช่น ราคาต่ำกว่าหรือใกล้เคียงคู่แข่ง ลักษณะการตั้งราคาจูงใจนั้น ไม่ได้เรียกว่าใช้ฝีมือด้านการตลาด เพราะการตั้งราคาต่ำเพื่อจูงใจนั้นเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด หลายๆคนจึงเลือกใช้ แต่ไม่ดีกับธุรกิจเลยในระยะยาว

ดังนั้นปัจจุบัน สิ่งที่นักการตลาดควรทุ่มเทคือ การสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์ของเรา ต้องตอบผู้บริโภคให้ได้ว่าแบรนด์เรามี ”คุณค่า” ที่แตกต่างจากยี่ห้ออื่นๆอย่างไร เพื่อแลกกับเงินที่ลูกค้ายินดีจะจ่าย ดังนั้นอย่าไปเน้นที่ตั้งราคา เพราะต่อให้เราตั้งราคาถูก แต่สินค้าไม่มีคุณค่าในสายตาลูกค้า แบรนด์นั้นก็ไม่มีความหมาย

4) From Promotion to Evangelism

การทำโปรโมชั่น เช่น ลด แลก แจก แถม นั้นไม่เพียงพอในยุคนี้ รวมถึงการสื่อสารแบรนด์ของแบบโฆษณาดั้งเดิมคือเน้นที่ตัวสินค้านั้นล้าสมัยมากแล้ว ไม่มีใครชอบโฆษณาที่ยัดเยียดไปด้วยการขายของ (เช่น เวลาที่คุณเจอโฆษณาบางตัวใน YouTube)

แต่การสื่อสารแบบใหม่คือ การที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายนั้นเข้าไปมีประสบการณ์กับแบรนด์แล้วมีความรู้สึกชื่นชอบอยากที่จะบอกต่อเพื่อให้คนอื่นๆได้เข้ามาสัมผัสกับประสบการณ์นี้ร่วมกันโดยการบอกต่อนั้นอาจใช้วิธีพื้นฐานที่รู้จักกันดีอย่าง Word-of-mouth หรือใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยอย่างเช่นสื่อ Social Network ต่างๆ

ยกตัวอย่างเช่น จักรเย็บผ้า Pinn ต้องการปลุกกระแส การเย็บผ้าเองในบ้าน ที่เหมาะกับคนยุคใหม่ที่อยากมีสไตส์ของตัวเอง ด้วยการทำของเก๋ๆด้วยฝีมือตัวเอง

แทนที่ Pinn จะเน้นไปแต่คุณสมบัติของจักรเย็บผ้าเหมือนโฆษณาแบบดั้งเดิมที่ไม่มีใครอยากฟัง แต่ Pinn กลับเน้นการเอาผลงานเก๋ๆ ที่สามารถทำได้จากจักรแต่ละเครื่อง มาให้ดูเป็นแรงบันดาลใจ ทำให้กลุ่มเป้าหมายสนใจและอยากได้ รวมถึงมีการตั้งคลับสำหรับคนรักงาน Sew เพื่อขยายความชื่นชอบในการทำงานปักเย็บเองในบ้าน จึงเป็นกลยุทธ์ในการสร้าง Brand Evangelist ที่ได้ผลมากทีเดียว

ig1 ig2

 

 

เขียนโดย บังอร สุวรรณมงคล
ผู้ก่อตั้งบริษัท Hummingbirds ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการวางแผนการตลาดเชิงกลยุทธ์โดยผ่านงานวิจัยการตลาด

อ่านบทความ Exclusive Insider เพิ่มเติมได้ที่นี่

Copyright © MarketingOops.com

 


  • 6.8K
  •  
  •  
  •  
  •  
Bangorn Suwanmonkol
คุณบังอรหลงใหลในการวางแผนการตลาดเชิงกลยุทธ์ เพราะเชื่อว่า Strategy สำคัญกว่า Tactic ปัจจุบันคุณบังอร เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Hummingbirds ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการวางแผนการตลาดเชิงกลยุทธ์ โดยผ่านงานวิจัยการตลาด