อัพเดท 4 พฤติกรรมการช็อปปิ้งออนไลน์ของคนจีนครึ่งปีแรก 2018

  • 1.1K
  •  
  •  
  •  
  •  

4พฤติกรรม

มีสถิติและรายงานที่น่าสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคจีนสำหรับการจับจ่ายทางออนไลน์ ในช่วงครึ่งปีแรก 2018 ซึ่งทางเพจได้นำข้อมูลมาสรุปออกเป็น 4 ประเด็นหลัก เพื่อที่ผู้บุกตลาดจีนจะได้อัพเดทต่อสถานการณ์และกระแสหลักสำหรับการบริโภคของคนจีนทางออนไลน์ในเวลานี้ครับ

1. น้ำยาบ้วนปากยอดขายมาแรงที่สุด

จากการแบ่งกลุ่มประเภทสินค้าราว 50 รายการ พบว่า 5 อันดับแรกของกลุ่มประเภทสินค้าที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด ได้แก่

  • น้ำยาบ้วนปาก ที่ร้อยละ 48.6
  • เครื่องใช้ในครัว ที่ร้อยละ 23.4
  • อาหารสัตว์ ที่ร้อยละ 17.5
  • เครื่องสำอาง ที่ร้อยละ 16.1
  • นมถั่วเหลือง ที่ร้อยละ 15.8

ทั้งนี้ในภาพรวมจะพบว่า สินค้ากลุ่มบริโภคและใช้ในครัวเรือน มีอัตราการเพิ่มสูงสุด โดยเฉพาะในตัวเมืองใหญ่ ซึ่งกลุ่มนี้ถือว่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงสองเท่า โดยเข้าใจได้ว่าเป็นผลมาจากรายได้โดยเฉลี่ยของคนในเมืองที่เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 25

2. หมากฝรั่งยอดขายโตช้าที่สุด

ถ้าหากน้ำยาบ้วนปาก มียอดขายเติบโตสูงสุด หมากฝรั่งก็กลายเป็นสินค้าที่มียอดขายเติบโตน้อยที่สุด ส่วนใน 5 อันดับแรกของยอดขายโตน้อยที่สุดได้แก่

  • น้ำยาบ้วนปาก ที่ร้อยละ -14.7
  • ผ้ากันเปื้อน ที่ร้อยละ -12.3
  • ผงชูรส ที่ร้อยละ -10.2
  • ของที่เกี่ยวกับจิตวิญญาณสำหรับชาวต่างชาติ (ของฝาก) ที่ร้อยละ –8.0
  • ผลิตภัณฑ์จากหนัง ที่ร้อยละ -6.8

ถ้าเทียบกับกลุ่มที่ยอดขายเติบโตสูงสุด จะเห็นว่าเป็นผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารและของใช้ในครัวเรือนเช่นกัน แต่อาจเพราะของที่ติดอันดับกำลังเป็นกระแสให้ลดการใช้ลง หรือเกี่ยวข้องกับสุขภาพของคนจีน

3. จีนภาคตะวันตกตอนในและภาคใต้กำลังขาขึ้น

มีการสำรวจต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2016-2017 เกี่ยวกับการเติบโตของ FMCG (Fast Moving Consumer Good) ในประเทศจีน พบว่าในทั่วประเทศ มีอัตราเพิ่มเฉลี่ยราวร้อยละ 4-5 เท่านั้น ซึ่งอยู่ในกลุ่มเมืองทางภาคตะวันตกเฉียงใต้และตอนกลาง ซึ่งก็ยังคงต่อเนื่องอยู่ส่วนหนึ่งอาจเพราะมาจากกำลังซื้อของผู้คนในเมืองกลุ่มนี้เริ่มสูงขึ้น จากความสำเร็จในภาคอุตสาหกรรม และอีกส่วนหนึ่งมาจากความพยายามของภาครัฐที่ผลักดันและกระตุ้นเศรษฐกิจในกลุ่มนี้ให้มากขึ้น ในขณะที่ภาคตะวันออกนั้นค่อนข้างมีเศรษฐกิจเติบโตอยู่แล้ว

สำหรับเมืองที่มีอัตราการเติบโตสูง เช่น นครฉงชิ่ง กวางซี หูหนาน หูเป่ย ซานซี เป็นต้น

4. แบรนด์จีนและแบรนด์ต่างชาติยังต้องแข่งกันต่อไป

แบรนด์จีนในท้องถิ่น และระดับภูมิภาคกำลังเติบโตและเข้มแข็งขึ้น ในขณะที่แบรนด์ชื่อดังจากตะวันตก และแบรนด์อื่นๆ จากต่างชาติ มีความพยายามที่จะเข้ามาบุกตลาดจีนกันเรื่อยๆ

แม้ว่าหลายแบรนด์ดังจากตะวันตกจะต้องถอยฉากไปในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา เพราะการป้องกันผูกขาดและระบบเซนเซอร์จากรัฐบาลจีน ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Facebook และ Google ต้องถอยออก แต่ในปีที่ผ่านมานี้ พวกเขาก็กลับมาใหม่พร้อมการรุกตลาดจีนที่ปรับเปลี่ยนไปมากขึ้น โดยไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์และบริการหลักของตนเข้ามาแข่งขัน แต่เป็นการหันไปร่วมดีลและร่วมทุนกับบริษัทในจีน เพื่อสร้างโอกาสด้าน Start Up แทน

สำหรับแบรนด์ท้องถิ่นในจีน กลายเป็นคนจีนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะช่วงอายุตั้งแต่ 15-25 ปี มีแนวโน้มที่จะเลือกซื้อสินค้าจากแบรนด์จีน และเชื่อถือในแบรนด์จีนมากขึ้น โดยมองว่าเป็นการช่วยเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้งยังมีค่านิยมใหม่ๆที่เกิดขึ้นในคนรุ่นใหม่ของจีนที่เห็นว่า แบรนด์จีนก็ไม่แพ้ใครในโลก และสามารถทดแทนแบรนด์ตะวันตกได้เช่นกัน

โดยสรุป

จากพฤติกรรมที่บ่งชี้มานี้ ทำให้เราอาจได้ข้อสรุปจากกระแสตลาดนี้ได้ว่า สินค้ากลุ่มเพื่อบริโภคและอุปโภคที่เป็นกลุ่มค้าปลีกยังเป็นตลาดใหญ่ในจีน และเป็นที่ต้องการสูง อีกทั้งแนวโน้มการเติบโตของเมืองใหญ่ในจีนทางภาคใต้และตะวันตกตอนกลาง ก็เป็นตลาดที่กำลังมาแรงและมีความต้องการกับกำลังซื้อสูง ขณะเดียวกัน แบรนด์จากไทยที่กำลังมองโอกาสบุกเข้าตลาดจีน ก็ยังต้องเจอกับการแข่งขันที่รุนแรงจากแบรนด์ตะวันตกและแบรนด์ในจีนเองเช่นกัน

เขียนโดย อิทธิชัย อรรถกระวีสุนทร
Expertise: China Marketing
อ่านบทความ Exclusive เพิ่มเติมได้ที่นี่

Copyright © MarketingOops.com


  • 1.1K
  •  
  •  
  •  
  •  
Ittichai
ผู้ก่อตั้ง บริษัท เลเวลอัพ โฮลดิ้ง จำกัด ที่ปรึกษาด้านการตลาดจีน เจ้าของเพจ Level Up Thailand, Level Up China และ เว็บไซต์ Level Up Thailand (https://www.levelupthailand.com) มีความรู้ด้านการตลาดออนไลน์ในจีน เป็นนักพูดสร้างสรรค์ และผู้เขียนหนังสือ “บุกตลาดจีนด้วยโซเชียลมีเดีย”