“งานหนักไม่เคยฆ่าใคร” ใช่เหรอ?? มารู้จัก “โรคคาโรชิ” อาการของคนที่ทำงานจนตาย

  • 7.8K
  •  
  •  
  •  
  •  

japan-salarymen-752x501

เราอาจเคยได้ยินวลี “งานหนักไม่เคยฆ่าใคร” แต่เราอยากบอกความจริงกับคุณ ว่างานหนักมีส่วนในการฆ่าคนมาแล้วมากมาย ในระดับที่ถูกบัญญัติเป็นอาการด้วยชื่อ Karoshi Syndrome หรือ “โรคคาโรชิ”การทำงานหนักเกินไปจนนำไปสู่ความตาย (death from over work) คาโรชิเริ่มขึ้นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นในช่วงปี 1970s เป็นยุคฟื้นฟูหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นช่วงก่อเกิดค่านิยมการทำงานหนักเพื่อส่วนร่วมของคนญี่ปุ่น ซึ่งให้ความสำคัญกับการร่วมกันทำงานเพื่อสร้างชาติ และเพื่อศักดิ์ศรีองค์กร

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2559 รัฐบาลญี่ปุ่นได้เปิดเผยรายงานเรื่อง “โคโรชิ” เป็นครั้งแรก ว่าปัจจุบันมีบริษัทในญี่ปุ่นกว่า 20% ที่มีการทำงานล่วงเวลาในแต่ละเดือนเกิน 80 ชั่วโมง เดือน(OT) หลังข่าวพนักงานบริษัทเดนท์สึ (บริษัทโฆษณาใหญ่ในญี่ปุ่น)ฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดหอพักพนักงาน เพราะถูกกดดันจากภาระงานที่หนักเกินไป ในคืนวันที่ 25 ธันวาคม 2015 ก่อน CEO จะประกาศลาออกในปีถัดมาหลังผลสอบสวนเผยว่าคณะผู้บริหารมีส่วนทำให้เกิดเหตุสลดในครั้งนี้จากการไม่ใส่ใจในคุณภาพชีวิตของพนักงาน อ่านข่าวเพิ่มเติม >> https://goo.gl/nklv34

japan_worker_1

โดยธรรมชาติของวัฒนธรรมการทำงานในคนญี่ปุ่นจะค่อนข้างมีลำดับขั้น มีแบบแผนที่ชัดเจน เน้นการทำงานเป็นทีมซึ่งแต่ละองค์กรจะมีกระบวนการที่คนในบริษัทต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด ห้ามล้ำเส้น ห้ามทำเกินหน้าที่แม้จะเป็นไปด้วยความหวังดีก็ตาม คือคุณต้องตั้งใจทำส่วนของคุณให้ดีที่สุด อย่าผิดพลาด อย่าให้ใครต้องมารับผิดชอบในการกระทำของคุณ หากคุณสามารถปฏิบัติตามกระบวนการ และโมเดลของสังคมในบริษัทได้คุณจะมีพื้นที่ในสังคมนั้น ซึ่งคนรญี่ปุ่นมองว่าเป็นเกียรติและเป้นคุณค่าค่าต่อตนเอง

คนทำงานในญี่ปุ่นนั้นค่อนข้างให้ความสำคัญกับ “คุณค่าในตัวเอง” และคุณเชื่อไหมว่า คุณค่าในตัวเองนี่แหละเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิด “โรคคาโรชิ” สาเหตุการตายจากโรคคาโรชินั้นเกิดได้ 2 แบบ คือ ป่วยตาย เช่น ทำงานหนักจนหัวใจวาย แบบที่ 2 คือ ฆ่าตัวตาย สาเหตุมาจากความเครียด ความกดดัน  ที่เกิดจากการพยายามตั้งคุณค่าในการทำงานให้ตัวเองมากเกินไป ซึ่งอาจเกินขีดจำกัดของร่างกายและจิตใจตัวเอง เพราะคนญี่ปุ่นค่อนข้างเชื่อว่าค่าของคนอยู่ที่ผลงาน ผลงานทำให้ตัวเองมีตัวตนในสังคม เป็นที่ยอมรับ มีศักดิ์ศรี ทำให้คนทำงานในญี่ปุ่นต้องอดทนต่อแรงกดดันทางวัฒนธรรมเช่นนี้

 

karoshi-japan-work

อันที่จริงไม่ใช่เฉพาะเค่เรื่องงาน การไปดื่มสังสรรค์กับรุ่นพี่เป็นเรื่องจำเป็นอย่างหนึ่งในการสร้างคุณค่าให้ตัวเอง ต่อให้งานวันนี้จะหนักแค่ไหนหากรุ่นพี่ชวนก็ควรไป เพราะการกินดื่มเที่ยวหลังเลิกงานเป็นวัฒนธรรมที่ถูกยอมรับและให้ค่าในสังคมญี่ปุ่น ไม่ใช่การบีบบังคับกันโดยตรง แต่หากใครไม่ปฏิบัติตนไปตามระบบนี้ก็จะถูกกีดกันออกไปอย่างอ้อมๆด้วยรูปแบบของตัวระบบเอง ซึ่งการไม่ได้รับการยอมรับหรือการถูกเพิกเฉย เป็นเรื่องร้ายแรงต่อจิตใจพอสมควรในสังคมการทำงาน ธรรมเนียมปฏิบัติและวัฒนธรรมที่เป็นปัจจัยหนุนนี้ เป็นคำตอบชัดเจนว่าทำไมอัตราการตายด้วยโรคคาโรชิในญี่ปุ่นจึงสูงกว่าประเทศอื่น

 

รับมือกับ คาโรชิ อย่างไร​??

รัฐบาลญี่ปุ่นเองทราบดีถึงตัวเลขผู้เสียชีวิตจาก คาโรชิ ที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงออกนโยบาย “Premium Friday” เมื่อช่วยต้นปีที่แล้ว โดยอนุญาตให้พนักงานบริษัทสามารถกลับบ้านได้ก่อนเวลาเลิกงาน 2-3 ชั่วโมงในวันศุกร์ แต่… ไม่ใช่ทุกวันศุกร์ เฉพาะศุกร์ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนเท่านั้น แน่นอนว่านี่คือการแก้ปัญหาปลายเหตุที่จะไม่ช่วยให้อัตราของการเกิดคาโรชิลดลง

 

จากสาเหตุของโรคด้านบนเห็นได้ชัดว่า คนไม่ได้ตายเพราะงานโดยตรง แต่ตายเพราะ “วิธีการคิด” ที่เกิดจากความกดดันจากสังคมรอบตัว และตำแหน่งหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ  ซึ่งทำให้คนตั้งความหวังไว้เกินขีดจำกัดของตัวเอง และเรียกสิ่งนั้นว่าคุณค่า ซึ่งคงไม่มีใครคาดคิดว่า อาจจะมีคนต้องจบชีวิตลงด้วยคุณค่าที่มองไม่เห็นแต่หยั่งรากลึกอยู่ในสังคมญี่ปุ่น

 

ง่ายที่สุดคือเริ่มที่ตัวเอง แม้งานสำคัญ แต่ถ้าสมรรถภาพร่างกายและจิตใจไม่พร้อม เราอาจรักษามาตรฐานตัวเองได้อีกไม่นาน ดังนั้นคนทำงานหนักจำเป็นต้องมีจังหวะหยุดนิ่งชั่วคราว เพื่อไตร่ตรองสุขภาพและสภาพจิตใจของตัวเอง การพูดคุยหรือปรึกษาคนที่ไว้ใจสามารถช่วยได้ แม้บางคนอาจไม่ต้องการให้คนใกล้ตัวรับรู้ถึงความเหนื่อยล้าอ่อนแรง แต่ประสบการณ์หรือไอเดียจากคนอื่นอาจช่วยให้เรามองเห็นหนทางในการแก้ปัญหาได้ บางทีการจมอยู่กับตัวเองนาน หรือจมอยู่กับงานเดิมนานๆ อาจทำให้เราสูญเสียความสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา นอกจากตัวพนักงานแล้ว องค์กรมีส่วนสำคัญอย่างมากในการป้องกันการเกิด คาโรชิ ควรตรวจสอบความสอดคล้องของปริมาณงานกับจำนวน resource ที่ตัวเองมีอย่างสม่ำเสมอ สภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมองค์กรมีผลอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตในการทำงาน

 

57ccdd820f6835f3e5d0751a27cfc64b

 

Copyright © MarketingOops.com


  • 7.8K
  •  
  •  
  •  
  •  
CLOSE
CLOSE