ไม่ปรับตัว ไม่รอดแน่! ฟัง 3 เซียนธุรกิจดิจิทัลในงาน “Transform ธุรกิจพิชิตการเปลี่ยนแปลง”

  • 2.2K
  •  
  •  
  •  
  •  

ทำกำไรได้ อย่าเพิ่งวางใจ ต้องรีบปรับตัว ไม่งั้นไม่รอด!

เทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป

อย่างในภาคการเงินที่ผู้บริโภคเริ่มเข้าธนาคารตามสาขาน้อยลง หันมาทำธุรกรรมผ่านแอปฯบนมือถือที่ทั้งสะดวก ถูกและรวดเร็วมากขึ้น FinTech สตาร์ทอัพที่มาพร้อมกับโมเดลใหม่และธุรกิจใหม่จึงเกิดมากขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านรวมมีมูลค่ากว่า 5 หมื่นเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 1.65 ล้านล้านบาท!

ขนาดสตาร์อัพอย่าง Whatsapp ถูก Facebook ซื้อไปในราคาตั้ง 16,000 ล้านเหรียญ มูลค่ามากกว่าธนาคารไทยพาณิชย์ที่มีมูลค่าตลาดอยู่แค่ 5 แสนล้านบาท หากธนาคารไม่ปรับตัว ก็เตรียมตัวหายไปจากวงการเงินการธนาคารไปได้เลย

หรือถูก “Disrupt” อย่างที่เกิดขึ้นในธุรกิจอื่นๆไม่ว่าจะเป็น Kodak หรือ Blackberry

18527951_1808624306118734_3433009074335094904_n

 

วงการสื่อสิ่งพิมพ์ก็ไม่เว้น โดน Disrupt ไปตามระเบียบ

เพราะอินเตอร์เน็ตที่พัฒนาขึ้น มือถือติดตัวและสื่อสังคมออนไลน์ที่เข้าถึงคอนเทนต์ได้ฟรีๆ ทำให้คนหันมาเสพย์คอนเทนต์ออนไลน์กันมากขึ้น สื่อสิ่งพิมพ์ที่อาศัยรายได้จากโฆษณาอย่างเดียวก็เริ่มเลี้ยงตัวเองไม่ไหว จนต้องปิดกินการไปในที่สุด โดยเฉพาะนิตยสารดังๆบางเจ้า แม้แต่สื่อออนไลน์ที่อาศัยรายได้จากแบนเนอร์อย่างเดียวก็ไม่พอเช่นกัน

โรงพิมพ์ไม่ค่อยมีงาน สิ่งพิมพ์ค่อยๆหายไป

เมื่อสิบปีที่แล้วเงินโฆษณาลงกับหนังสือพิมพ์ 17% แมกกาซีน 7% ปีนี้เงินโฆษณาลงกับหนังสือพิมพ์เพียงแค่ 9% แมกกาซีน 2% เท่านั้น บริษัทแมกกาซีนที่ใช้ค่าโฆษณาเลี้ยงบริษัทจะขาดทุนในเรื่องค่าพิมพ์ ส่วนแมคกาซีนที่คนสมัครรับจะยังมีให้เห็นอยู่ สายส่งก็เลิกส่งหนังสือ แผงหนังสือก็ทยอยปิดตัว ธุรกิจที่ทำสิ่งพิมพ์ก็มีช่องทางขายน้อยลง ได้รับผลกระทบเรื่องรายได้อีก ยิ่งคนอ่านสิ่งพิมพ์น้อยลง ยิ่งทำให้สื่อสิ่งพิมพ์ต้องดิ้นรนหาทางรอด

 

18581969_1808622656118899_4656267585979835865_n

“เมื่อสิบปีที่แล้วเงินโฆษณาลงกับหนังสือพิมพ์ 17% แมกกาซีน 7% ปีนี้เงินโฆษณาลงกับหนังสือพิมพ์เพียงแค่ 9% แมกกาซีน 2% เท่านั้น” คุณป้อม ศิวัตร เชาวรียวงษ์ 

 

เกมธุรกิจเปลี่ยน ใครรู้ตัวก่อนก็ชนะ

เพราะทำธุรกิจต้องได้เงิน แต่เราต้องคิดว่าจะได้เงินมาอย่างไร พอเกิด Disrupt แล้วต้องถามว่าโมเดลธุรกิจนี้ยังใช่อยู่หรือเปล่า เราอยู่ในธุรกิจอะไร อย่างธุรกิจ WeChat และ Line ก็จำเป็นต้องแตกบริการมากกว่าบริการแชทแอปฯ และต้องคิดด้วยว่าพอลูกค้าใช้บริการแล้ว ต้องจ่ายเงินค่าบริการอย่างไรด้วย

ถ้าเกมเปลี่ยน กฎก็ต้องเปลี่ยน การทำธุรกิจก็ต้องเปลี่ยน ปัญหาคือต้องรู้ว่าเกมเปลี่ยน กฎเปลี่ยน ถ้าทำงานแบบเดิม ทำธุรกิจก็ไม่ชนะ

 

ไม่มีใครต้องการธนาคาร แต่ทุกคนยังต้องการทำธุรกรรมทางการเงิน

เช่น ถ้าโจทย์เดิมของธนาคารคือทำอย่างไรให้เราใกล้ชิดกับลูกค้าเอาไว้เพราะต้องมีคนมาใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคารแน่ๆ ต้องเก็บค่าธรรมเนียมให้มากที่สุด แต่วันนี้โจทย์ต้องเปลี่ยนเป็นจะทำอย่างไรให้ลูกค้ายังใช้บริการของเรามากที่สุด บางเรื่องธนาคารไม่ได้รายได้ด้วย โมเดลธุรกิจของเราก็เปลี่ยนไปชิงพื้นที่ความคิดของผู้บริโภค

แม้แต่สาขาต้องเปลี่ยนเป็น Touchpoint เน้นประสบการณ์การใช้บริการดิจิทัลให้ลูกค้ามากขึ้น

แต่ธนาคารที่เป็นองค์กรใหญ่มักเสียเปรียบ FinTech สตาร์ทอัพที่คนในองค์กรคิดแต่จะทำงานในแต่ละวันจนไม่เอะใจเลยว่า งานที่ทำเป็นสิ่งที่ถูกต้องอยู่หรือไม่ ระบบของธนาคารก็ลงทุนไปเยอะ องค์กรเกิดความเฉื่อย ปรับตัวกับโลกภายนอกที่เปลี่ยนแปลงเร็วไม่ทันเหมือน FinTech

และถ้าหาก FinTech มาพร้อมกับเทคโนโลยีอย่าง Blockchain ที่จะเป็นตัวกลางรับรองการทำธุรกรรมทางการเงินแทนตัวธนาคาร ก็จะทำให้ผู้ใช้บริการมั่นใจว่าปลายทางได้เงินที่โอนแล้ว เสียทางการเงินเสียค่าธรรมเนียมน้อยลง สะดวกและรวดเร็วขึ้น หันมาไว้ใจ Blockchain แทนธนาคาร

และจะมีเทคโนโลยีอีกมากที่ทำให้ธนาคารไม่ใช่สิ่งจำเป็นอีกต่อไป

คนที่ทำงานในองค์กรใหญ่จึงต้องหันมาจับมือกับ FinTech แทนที่จะแข่งกัน เพื่อให้ตัวองค์กรใหญ่ปรับตัวทันกระแสเทคโนโลยี และ FinTech จะได้รับการสนับสนุนให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนและฐานลูกค้าของธนาคาร ทำให้ FinTech มีความน่าเชื่อถือขึ้นด้วย

 

18582593_1808622886118876_2007135108760210215_n

“เราไม่ได้กลัวเทคสตาร์ทอัพ เราอยากร่วมมือกับเขา FinTech มีความคิดสร้างสรรค์ มีเทคโนโลยีก็จริง แต่อาจความน่าเชื่อถือ ถ้าจับมือกับแบงค์ใหญ่ ก็จะได้เข้าถึงฐานลูกค้าและระบบของแบงค์ แบงค์ก็จะปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงได้” คุณเป๊ก อารักษ์ สุธิวงค์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส Chief Strategy Officer ธนาคารไทยพาณิชย์ 

 

สื่อต้องนำผู้บริโภค ไม่ใช่ตามหลัง

ใครที่คิดว่าตัวเองไม่มีประสบการณ์ในการทำสื่อมาก่อนอาจเป็นโอกาสทองในการทำสื่อใหม่ก็ได้

ถึงแม้ว่าการทำแบรนด์ใหม่ที่ไม่มีคนติดตามเลย แต่แบรนด์ใหม่ ก็มีความสดอยู่ เราต้องเริ่มคิดหาโจทย์ใหม่ๆ โดยเอาพฤติกรรมผู้บริโภคยุคนี้มาวิเคราะห์ แล้วผลิตคอนเทนต์ตอบโจทย์คนยุคนี้ไปเลย ซึ่งโลกออนไลน์ทำให้คนเสพคอนเทนต์มีสมาธิสั้นขึ้น อ่านคอนเทนต์เร็วขึ้น

เพราะการทำสื่อออนไลน์ สื่อต้องเป็นฝ่ายเดินเข้าไปหาผู้อ่าน ต้องคิดว่าข่าวบน New Feed เปรียบเสมือนข่าวหน้าหนึ่ง รูปต้องสายสะดุดคนอ่าน พาดหัวข้อข่าวต้องคิดถึง SEO

ส่วนข่าวต้องสร้างสรรค์ ใกล้ตัวคนอ่าน คัดข่าวที่สื่ออื่นไม่มี ชัดเจน คนทำข่าวแข่งกันในแง่ของการหาประเด็น ไม่ตามกระแสก็สวนกระแส เนื้อหาข่าวไม่ใช่ให้แค่ข้อมูลแค่ว่าใครทำอะไรที่ไหนเหมือนสื่อเดิม แต่ต้องขายเรื่องราวด้วย

โดยเฉพาะการทำสื่อวีดีโอที่เจ้าของแพลตฟอร์มอย่าง Facebook กลายมาเป็นบรรณาธิการคอยคุมทิศทางการนำเสนอคอนเทนต์

วิธีทำสื่อก็ต้องเปลี่ยนด้วยเช่นกัน เพื่อสร้างฐานผู้อ่านให้มากขึ้น สื่อเดิมต้องเรียนรู้ที่จะทำสื่อใหม่ และหารายได้มากกว่าแค่ขายข่าว เช่นการจัดงานอีเวนท์ ส่วนสิ่งพิมพ์ยังมีอยู่เพื่อขายความน่าเชื่อถือ ความจับต้องได้ และความน่าสะสมแทน

 

18581787_1808623012785530_8589184733185682904_n

“คนทำข่าวเดี๋ยวนี้ต้องแข่งกันในแง่การหาประเด็น ไม่ตกกระแสก็สวนกระแส ทำคอนเทนต์ที่เราเจ้าเดียวที่มี ทำข่าวที่สร้างสรรค์และใกล้ตัวคนอ่านมากที่สุด” คุณเคน นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ บรรณาธิการสำนักข่าว The Standard

 

FinTech และ เทคโนโลยีจากต่างประเทศกลายเป็นความท้าทายในอนาคต

เพราะการที่บริการจากต่างประเทศเช่น บริการธุรกรรมทางการเงินของ Ailpay หรือสื่อสังคมออนไลน์อย่าง Facebook และ Line แม้จะดีต่อผู้บริโภคที่มีทางเลือกมากขึ้น แต่สำหรับผู้ประกอบการไทยแล้ว อาจเป็นความท้าทายที่ต้องหาโมเดลธุรกิจที่แข่งกับบริการพวกนี้

ยิ่งมีเทคโนโลยีหุ่นยนต์ หรือ Artificial Intelligence ที่ในอนาคตอาจจะผลิตคอนเทนต์ได้เหมือนคนในวงการ ยิ่งน่ากลัว สื่งยิ่งต้องปรับตัว ต้องรู้ว่าอะไรที่หุ่นยนต์ทำไม่ได้ แล้วคนทำได้

ส่วนผู้ประกอบการไทยก็ยังได้เปรียบในเรื่องของภาษาไทยและสังคมไทย ทำให้เข้าใจคนไทยได้มากกว่าคนต่างชาติ หากทำโมเดลธุรกิจ บริการคนไทยด้วยกันเองย่อมได้เปรียบกว่าธุรกิจจากต่างประเทศ

 

แหล่งที่มา

งาน “Digital Forum: Transform ธุรกิจ เพื่อพิชิตการเปลี่ยนแปลง” วันที่ 20 พฤษภาคม 2560 ณ หอศิลป มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

18620045_1808619546119210_8410809910963051038_n


  • 2.2K
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th