ความสำคัญของ Social Commerce และกลยุทธ์ในการสร้างการเติบโต

  • 334
  •  
  •  
  •  
  •  

การช้อปปิ้งออนไลน์ ไม่ใช่เรื่องใหม่แล้วสำหรับคนไทย ยิ่งมาบวกกับสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา ก็ยิ่งทำให้ตัวเลขของ อี-คอมเมิร์ซเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย แต่ที่น่าสนใจก็คือ การเพิ่มขึ้นของ Social Commerce ที่มีจำนวนผู้ใช้งานสูงมากขึ้นและมีแนวโน้มว่าจะกลายเป็นพฤติกรรมปกติต่อไปแม้จะหมดช่วงโควิดไปแล้วก็ตาม เพราะเป็นช่องทางที่ตรงกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันมากไปกว่านั้นยังสามารถสร้างความใกล้ชิดผูกพันระหว่างผู้ซื้อผู้ขายได้แบบเรียลไทม์ ทั้งแชทถามตอบราคาสีไซส์ได้สะดวกและง่าย ตอบโจทย์ผู้ซื้อคนไทยอยย่างมาก ซึ่งจุดนี้เองที่น่าจะทำให้ Online Marketplace ต่างๆ เริ่มปรับตัวใหม่ เพื่อไม่ให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายปันใจหนีค่ายย้ายไปทาง Socail Commerce มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม เราได้จับกระแสการทำการเติบโตของ Social Commerce พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจริง โดยเฉพาะในปี 2020 ซึ่งตรงกับข้อมูลของ LINE Shopping เอง ที่ก่อนหน้านี้ระบุว่า ปัจจุบันนักช้อปปิ้งออนไลน์ไทย ช้อปผ่าน Social Commerce สูงถึง 62% และในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตไทยช้อปปิ้งออนไลน์สูงถึง 83% และทำการซื้อสินค้าผ่านมือถือถึง 71% และยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย 

นอกจากนี้ Data ปี 2019 โดย Global Digital Report ระบุว่า 50% ของนักช้อปปิ้งชาวไทย ซื้อสินค้าออนไลน์ ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียถึง 50% ซึ่งมากกว่าผู้บริโภคชาวจีนซึ่งมีตัวเลขเพียง 27% เท่านั้น

 

ปัจจัยที่ทำให้ Social Commerce ได้รับความนิยม

  1. คนไทยนิยมใช้งาน Social Media เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันไปแล้ว ว่าจะเป็น Facebook Instagram  หรือ LINE โดยทุกแพล็ตฟอร์มมีจำนวนผู้ใช้งาน active user แทบจะเทียบเท่ากับประชากรในประเทศอยู่แล้ว และบางคนก็มี account มากกว่าหนึ่ง account ด้วยซ้ำ นั่นจึงทำให้เป็นช่องทางที่ง่ายต่อการติดต่อกันระหว่างทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
  2. พฤติกรรมการซื้อของคนไทย ที่มักจะชอบพูดคุย สอบถามราคาหรือไซส์ต่างๆ มากกว่าที่จะแค่สั่งซื้อเพียงอย่างเดียว ที่สำคัญคือช่วย สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายมากขึ้นด้วย ถึงแม้ว่าจะไม่เห็นหน้าตากันก็ตาม ซึ่งถือเป็นอุปนิสัยของความเป็นกันเองในวัฒนธรรมการซื้อขายแบบออฟไลน์ที่มาอยู่ในออนไลน์ด้วย

 

แพล็ตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ปรับตัวเพิ่มช่องทางในการรองรับ  

  • Facebook แน่นอนว่ามันคือการเพิ่มปุ่ม Marketplace ซึ่งมีมาเกือบ 3 ปีแล้ว เนื่องจากเห็นการเติบโตของ E-Commerce ซึ่งมาใกล้ๆ กับช่วงที่มี Facebook Live ซึ่งแทนที่ user ชาวไทยจะใช้งานเพื่อสร้างคอนเทนต์ทั่วไป ก็เฉลียวฉลาดที่หยิบฉวยมาเป็นช่องทางในการ Live ขายของ จนได้รับคำชื่นชมไปทั่วถึงความหัวไวของผู้ค้าคนไทย
  • Instagram ที่มาช้ายังดีกว่าไม่มา สำหรับ Instagram Shopping ที่ใช้ในต่างประเทศมาสักพัก (ใหญ่) แล้ว ก็เพิ่งมาเปิดตัวให้ใช้งานที่ไทยได้เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งหลังลอนช์ที่ไทยได้ไม่นานก็ได้รับความนิยมจากบรรดาร้านค้าใน Instagram เป็นจำนวนมากทีเดียว เพราะเอาเข้าจริงๆ ร้านค้า Instagram สำหรับคนไทยมีมานานมากแล้วและได้รับความนิยมสูงมากด้วย
  • LINE เป็นอีกหนึ่งแพล็ตฟอร์มที่เล็งเห็นการเติบโตของ E-Commerce ในประเทศไทย และก็ได้เปิดแพล็ตฟอร์มขึ้นมา 2 อันเพื่อรองรับ ได้แก่ MyShop ซึ่งเหมาะสำหรับการจัดการงานหลังบ้านของร้านค้าที่เข้าร่วมใน LINE และล่าสุดกับ LINE Shopping ที่จะเป็นคล้ายๆ กับ Marketplace แหล่งรวมร้านค้าช้อปปิ้งมากมายทั้ง SME และร้านค้าแบรนด์ใหญ่ๆ

คำแนะนำในการสร้างกลยุทธ์ เพื่อผลักดัน Social Commerce มีประสิทธิภาพ

  1. ทำให้ลูกค้ารู้สึกมีส่วนร่วม สร้างคอนเทนต์ผ่านช่องทาง Social Media ของคุณเอง โดยเป็นคอนเทนต์ที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้เป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ เพื่อให้ลูกค้าสนใจสินค้าและบริการของคุณ เช่น ทำแคมเปญถ่ายรูปคู่สินค้า หรือการแชร์แล้วได้ส่วนลดคูปองจากแบรนด์ เป็นต้น
  2. การทำให้เนื้อหามีความเฉพาะเจาะจงเพื่อ ‘คุณโดยเฉพาะ’ หรือที่เรียกว่า Personalized ของลูกค้าตามพฤติกรรมความสนใจ มีความสำคัญมากขึ้นนับจากนี้ อย่างไรก็ตาม การนำเสนอสิ่งที่ตรงต่อความต้องการลูกค้าจะต้องทำความเข้าใจผู้ซื้ออย่างลึกซึ้ง ซึ่งเรื่องนี้จะต้องใช้ data มาวิเคราะห์ประกอบด้วย
  3. สืบเนื่องจากข้อที่ 2 ร้านค้าหรือแบรนด์จะต้องเข้าใจพฤติกรรม ความต้องการของลูกค้าให้มากด้วย เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ซื้อ ยิ่งรู้จักผู้ซื้อมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งสามารถระบุช่องทางหรือแพลตฟอร์มที่เหมาะสมในการขายสินค้าได้มากขึ้นเท่านั้น
  4. ปัจจุบันมีช่องทางแพล็ตฟอร์ม และโซเชียลมีเดียเกิดใหม่อยู่เรื่อยๆ สิ่งสำคัญคือเราต้องไปอยู่ในจุดที่ผู้ซื้อของเราอยู่ ดังนั้น เราจะต้องไม่หยุดอัปเดทหรือเรียนรู้ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในยุคที่การพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว
  5. สร้างให้เกิดประสบการณ์อย่างไร้รอยต่อและง่ายต่อการซื้อ เมื่อผู้ใช้งานเลื่อนผ่านฟีดโซเชียลมีเดียแล้วพบสินค้าที่ต้องการซื้อทันที สิ่งที่ผู้ค้าต้องทำคือลดขั้นตอนต่างๆ ให้ง่ายที่สุด ซื้อ จ่าย จบครบในแพลตฟอร์มเดียว นี่คือคีย์หลักสำคัญ ทำให้ขั้นตอนน้อยที่สุดคือหัวใจ

สรุปได้ว่า Social Commerce เป็นช่องทางการทำธุรกิจที่มีแนวโน้มที่จะเห็นการเติบโตเพิ่มมากขึ้นในอนาคต และผู้บริโภคจะให้ความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ  ซึ่งแบรนด์และธุรกิจควรที่จะได้ศึกษาและทำความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น เพราะต่อไปนี้ Social Media จะไม่ได้เป็นแค่ช่องทางในการสื่อสารหรือแค่ทำ CRM อีกต่อไป แต่จะสามารถตอบโจทย์การสร้างยอดขายได้อีกด้วย.

 

Source :

https://www.marketingoops.com/exclusive/youpik/

https://www.marketingoops.com/marketing-tech/instagram-shopping/

https://www.marketingoops.com/news/biz-news/social-commerce-3/

https://www.marketingoops.com/reports/industry-insight/looking-back-2020-covid19-affected-businesses/


  • 334
  •  
  •  
  •  
  •  
pigabyte
การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น มาเรียนรู้และสนุกไปกับบทความ จาก MarketingOops! กันนะคะ แล้วเราจะได้ค้นพบว่าโลกของ Marketing นั้น So Sexy and Cool!
CLOSE
CLOSE