7 Trends Social Media 2022 ที่แบรนด์-นักการตลาด ต้องไม่พลาด   

  • 43
  •  
  •  
  •  
  •  

 

โซเชียลมีเดีย ยังเป็นอาวุธเด็ดสำคัญในการทำแคมเปญการตลาดอยู่ แต่ถึงกระนั้นแพล็ตฟอร์มต่างๆ ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ดังนั้น ในปี 2022 นักการตลาดและแบรนด์จะต้องพร้อมให้ดี เพราะอาวุธในมือของคุณเปลี่ยนไป ดังนั้น เรามาศึกษาเทรนด์และแนวโน้มของโซเชียลมีเดียในปีหน้าดีกว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง

 

1.จับตา TikTok จะกลายเป็นโซเชียลมีเดียที่สําคัญที่สุด ในการทำการตลาด

ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า Facebook และ Instagram ครองอันดับ 1 ในใจนักการตลาดโซเชียลฯ ส่วนใหญ่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มันเติบโตเร็วที่สุดมีผลตอบแทนจากการลงทุนสูงสุด (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมของคุณ)  แต่นั่นคือช่วงเวลาที่คุณสามารถออกไปไหนต่อไหนได้ แต่เมื่อต้องล็อกดาวน์โซเชียลอย่าง TikTok ก็พุ่งทะยานมีคะแนนเกิน 1 พันล้านครั้งในเดือนกันยายน ปี 2021 นั่นทําให้กลายเป็น โซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับ 7 ของโลก

ต้นปีเดือนมกราคม ปี 2021 TikTok ก็มีผู้ใช้ถึง 689 ล้านคน เพิ่มขึ้น 45% ในเวลาไม่ถึงปี ในขณะที่ฐานผู้ใช้งานทั่วโลก เพิ่มขึ้น 1,157% ระหว่างปี 2018 ถึง 2020 ขณะที่ผู้ใช้ที่ใช้งานรายเดือนของ Instagram เติบโตขึ้นในอัตรา 6% ในปี 2020 น่าสนใจยิ่งกว่าเมื่อแนวโน้มการค้นหาของ Google แสดงให้เห็นว่า TikTok ครองเนื้อหาวิดีโอสั้นของ Instagram อย่างสมบูรณ์ ในปีที่ผ่านมาความต้องการผ่านการเสิร์ช TikTok เพิ่มขึ้น 173% แต่ความต้องการการเสิร์ชสําหรับ Instagram Reels เพิ่มขึ้นเพียง 22% เท่านั้น และมันลดลง 33% สําหรับ IG Story แต่แม้จะมีการเติบโตอย่างรวดเร็วของ TikTok แต่ภาคธุรกิจส่วนใหญ่ก็ยังลังเลที่จะลงทุนในเครือข่ายนี้

นั่นอาจทำให้ TikTok เปิดตัวเครื่องมือทางธุรกิจที่เป็นประโยชน์มากมาย ในปี 2020 และ 2021 รวมถึงโปรไฟล์ธุรกิจโฆษณาและตลาดครีเอเตอร์ นี่อาจเป็นเหตุผลที่ธุรกิจรู้สึกมองโลกในแง่ดีมากขึ้นในปีนี้ ซึ่งน่าจะมีประโยชน์และทำให้ธุรกิจหันมาจับช่องทางนี้มากขึ้น

 

2.เทรนด์ของการใช้เม็ดเงินโฆษณาไปกับเครือข่ายขนาดเล็ก

แม้จากแนวโน้มโซเชียลมีเดียทั้งหมด อันนี้อาจเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจ เพราะรีเสิร์ชใหม่แสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคอาจเปิดกว้างต่อการโฆษณาในช่องทางเล็ก ๆ เช่น TikTok, Snapchat และ Pinterest มากกว่าเครือข่ายสังคมที่ใหญ่กว่า

  • การศึกษาโดย Kantar ซึ่งได้รับความยินยอมจาก TikTok พบว่าผู้ บริโภคจัดอันดับโฆษณา TikTok ว่าเป็นโฆษณาที่สร้างแรงบันดาลใจและสนุกสนานมากกว่าโฆษณาบนแพลตฟอร์มอื่น ๆ
  • การศึกษาของ Nielson ที่ได้รับความยินยอมจาก Snapchat พบว่าโฆษณาบน Snapchat เข้าถึงได้มากกว่าโฆษณาทางทีวีและนําไปสู่การรับรู้และเจตนาในการซื้อที่มากขึ้น
  • การศึกษาธุรกิจของ Pinterest แสดงให้เห็นว่าโฆษณาบน Pinterest มี ROI สูงกว่าและอัตรา Conversion ที่ถูกกว่าโฆษณาบนเครือข่ายสังคมอื่นๆ
  • Google Search Trends ยังแสดงความต้องการการค้นหาที่เพิ่มขึ้นในช่วงสองปีที่ผ่านมา สําหรับโฆษณาบนเครือข่ายเหล่านี้ โดยมี TikTok เป็นผู้นําแถวหน้าที่มีความต้องการสูง

ความต้องการในเครือข่ายขนาดเล็กเป็นไปได้ว่า อาจจะเป็นเพราะความต้องการของการโฆษณาบนเครือข่ายเหล่านี้ ยังไม่อิ่มตัว หากเทียบกับ Facebook หรือ Instagram ซึ่งผู้ใช้อาจจะรู้สึกเบื่อหน่ายกับโฆษณาบนเครือข่ายใหญ่มากขึ้น

อีกประเด็นที่น่าสนใจก็คือ เกิดการกระจายตัวของกลยุทธ์โฆษณาในช่วงต้น ปี 2021 เมื่อ Apple iOS 14 อัปเดตและประกาศในนโยบาย “เลือกใช้การติดตามโฆษณา” สำหรับผู้ใช้งาน Apple ทุกคน ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายบน Facebook

ในขณะที่ TikTok, Pinterest และ Snapchat ทั้งหมดสนับสนุนให้ผู้ลงโฆษณา ทําให้โฆษณาอย่าง “พอดี” กับออแกนิกคอนเทนต์ที่โพสต์โดยผู้ใช้ทั่วไป ผลลัพธ์คือได้ชมโฆษณาที่สนุกมากขึ้นและรบกวนผู้ใช้งานน้อยลงซึ่งเป็นผลดีต่อธุรกิจ

กรณีศึกษาจากแบรนด์เครื่องสำอาง MAKE UP FOREVER ทําโฆษณาบน TikTok แคมเปญการเพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness)  มันมีการทดสอบครีเอเตอร์และตรวจสอบรากฐานใหม่ตามที่พวกเขาทําในช่องของตัวเอง ผลปรากฏว่า แคมเปญนี้สร้างการแสดงผลมากกว่า 11 ล้านครั้ง และการดูวิดีโอ 10 ล้านครั้งเลยทีเดียว

 

3.นักช้อปมีแนวโน้มจะซื้อสินค้าโดยตรงบนโซเชียลมีเดีย (Social Commerce)

ก่อนการระบาดใหญ่ ‘โซเชียลคอมเมิร์ซ’ (Social Commerce) เป็นโอกาสที่สดใสสําหรับธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่มีเทคโนโลยีที่ดีรองรับ ส่วนหนึ่งเพราะการเสพโซเชียลมีเดียมากขึ้น รวมไปถึงการล็อกดาวน์อยู่บ้านมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมาก็ทำให้เกิดการระเบิดของการเกิดโซเชียลคอมเมิร์ซและสิ่งนี้ก็ยังคงอยู่ต่อไป

ทั้งนี้ eMarketer คาดการณ์ว่าโซเชียลคอมเมิร์ซ จะเป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตสูง มีมูลค่า 80 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2025 ซึ่งอาจจะสูสีเทียบเคียงได้กับการเติบโตของอีคอมเมิร์ซเลยทีเดียว (อีคอมเมิร์ซมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 18% ในปี 2020)

นอกจากนี้ 81% ของนักช้อป ใช้โซเชียลมีเดียเพื่อค้นหาแบรนด์ใหม่และศึกษาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในช่วงก่อนการระบาดใหญ่ ธุรกิจจํานวนมากเองก็พบว่าการให้ผู้ใช้ (นักช้อป) เหล่านั้นได้ชําระเงินภายในแอพเดียวกันนั้นก็เหมาะสมดี ไม่ต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ซึ่งหลายๆ แพล็ตฟอร์มก็เริ่มปรับตัวให้มีระบบการชำระเงินภายในตัวมากขึ้น หรือแม้แต่การ LIVE สดวิดีโอ ก็พยายามตอบสนองความต้องการนี้มากขึ้นเช่นกัน

 

4.แนวโน้มที่ลูกค้าจะไม่คุยกับคุณทางโทรศัพท์อีกแล้ว

ในช่วงของล็อกดาวน์ นอกจากพบปัญหาของเรื่องพนักงานที่ไม่สามารถออกไปทำงานได้ พฤติกรรมของผู้บริโภคก็เปลี่ยนไปเมื่อเขาพบว่า ความต้องการของเขาสามารถได้รับคำตอบได้ผ่านโซเชียลมีเดียซึ่งทั้งสะดวกและรวดเร็ว

จากการสำรวจของ Nielsen ที่ได้รับมอบหมายจาก Facebook พบว่า 64% ของผู้คน ระบุว่า พวกเขาต้องการส่งข้อความแทนที่จะโทรหาร้านค้าหรือแบรนด์ และจากข้อมูลของ Gartner ทำนายว่าในปี 2023  60% ของคําขอบริการลูกค้า ทั้งหมดจะได้รับการจัดการผ่านช่องทางดิจิทัล

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความต้องการเพิ่มขึ้น แต่หลายองค์กรยังไม่พร้อมที่จะให้การสนับสนุนลูกค้าผ่านโซเชียลมีเดีย นอกจากนี้ การสํารวจการดูแลลูกค้าในปี 2022 ของ Hootsuite แสดงให้เห็นว่า 71% ขององค์กร ยังไม่ได้เริ่มลงทุนในการดูแลลูกค้าทางสังคมออนไลน์ หรือแม้แต่ยังไม่ได้วางแผนที่จะลงทุนเลย

 

5.เทรนด์ของ ‘คลิปวิดีโอสั้น’ ที่กำลังมาแรง

ตามที่ บริษัท ซอฟต์แวร์การโฮสต์วิดีโอ Vidyard เปิดเผยระบุว่า 60% ของวิดีโอทั้งหมดที่เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตในปี 2020 มีความยาวน้อยกว่า 2 นาที ซึ่งสถิตินี้กำลังสะท้อนระยะเวลาความยาวของวิดีโอบนแพล็ตฟอร์มโซเชียลมีเดีย

สองปีที่ผ่านมาด้วยการถือกําเนิดของ IGTV และ Facebook Watch มีช่วงเวลาที่เราทุกคนคิดว่าวิดีโอแบบยาวเป็นอนาคต โดยที่ YouTube ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในวิดีโอการศึกษาแบบยาวเป็นวิดีโอที่ให้รางวัลที่ผ่านมาสู่เวลาที่ 10 นาที และ Facebook ต้องการแข่งขันในเวทีเดียวกัน

ธุรกิจเร่งทํา “ละครโทรทัศน์” (tv series) สําหรับแพลตฟอร์มโซเชียลของพวกเขา แม้แต่ “วิลล์ สมิธ” นักแสงดฮอลลีวู้ด ยังบรรยายในรายการ IGTV สําหรับเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก และดูเหมือนว่าไม่เฉพาะ Facebook ที่แข่งเบียดกับ Youtube แต่บรรดา TV เน็ตเวิร์กก็ต้องต่อสู้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ต้องทบทวนใหม่เมื่อการมาถึงของ TikTok ยังแผ่นดินอเมริกาเหนือ หรือแม้แต่การเปิดตัว Reels บน Instagram เมื่อปลายปี 2020 ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นก็แทบจะกลายเป็นอดีตไปแล้ว

แทบจะไม่มีใครพูดถึง IGTV หรือแม้แต่ Facebook Watch อีกต่อไป และแม้แต่ YouTube ซึ่งเป็นป้อมปราการสุดท้ายของวิดีโอแบบยาวบนโซเชียลมีเดีย ก็เปิดตัวรูปแบบใหม่ นั่นก็คือ YouTube Shorts

ความสําเร็จของ Reels และ TikTok เป็นไปตามความสําเร็จของ Stories (รูปแบบวิดีโอสั้น อีกรูปแบบหนึ่ง) ซึ่งได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 2018 ถึง 2020 น่าเสียดายที่ Facebook ไม่ได้อัปเดตจํานวนผู้ใช้ 500 ล้านคนสําหรับ Stories ตั้งแต่การเปิดตัว Reels ในปี 2020 ดังนั้นเราจึงไม่สามารถบอกได้ว่ามันเติบโตขึ้นหรือไม่

สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้ใช้โซเชียลมีเดียจะไม่ได้เพียงแค่ดูวิดีโอแบบสั้นๆ แต่พวกเขาต้องสนุกสนานและมีส่วนร่วมด้วย และผลสํารวจแนวโน้มโซเชียลมีเดียในปี 2022 ของ Hootsuite แสดงให้เห็นว่าแบรนด์และธุรกิจชอบทำวิดีโอสั้นๆ มากเช่นกัน โดยเกือบ 40% ของแบรนด์และธุรกิจที่ตอบแบบสอบถาม ระบุว่าพวกเขาใช้วิดีโอสั้นๆ เพื่อขายสินค้าและบริการ

 

6.แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของ Influencer บนโซเชียลมีเดียต่างๆ

เศรษฐกิจของเหล่า Creator นับว่าเฟื่องฟูมากในยุคนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตโรคระบาดด้วย ทำให้ผู้คนเริ่มมองหาวิธีสร้างรายได้ใหม่ๆ หลากหลายช่องทาง แต่อย่างไรก็ตาม การร่วมงานกับ Creator ที่ว่านั้นเราไม่ได้หมายถึงดาราเบอร์ใหญ่ แต่เรากำลังมองหากลุ่มเล็กๆ คนทั่วไปที่จะสร้างรายได้จากงานอดิเรกบนโซเชียลมีเดีย

ทั้งนี้ Creator จึงครอบคลุมทั้งคนที่มีอิทธิพลทางการตลาด ซึ่งรวมไปถึงคนที่เป็นมืออาชีพและกลุ่มสมัครล่นด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ก็มีแรงจูงใจจากการมีสปอนเซอร์ชิพ หรือร่วมงานกับแบรนด์นั่นเอง

ทั้งนี้ ในปี 2022 มีธุรกิจตั้งเป้าที่จะใช้จ่าย 15 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ไปกับการทำ Influencer Marketing เฉพาะที่สหรัฐฯ ก็มีการคาดการณ์ว่า 72.5% ของนักการตลาด จะใช้ประโยชน์จากการตลาด Influencer Marketing  เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

 

7. แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของแพล็ตฟอร์มโซเชียลฯ ในรูปแบบเสียง และการลงทุนที่มากขึ้น

Clubhouse เปิดตัวในเดือนเมษายน 2020 แต่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงต้นปี 2021 ขณะที่ Twitter เปิดตัวแพลตฟอร์มเสียงโซเชียล Spaces อย่างรวดเร็วหลังจากนั้น และ Facebook ยังมีรายงานว่าพยายามเข้าสู่รูปแบบแพล็ตฟอร์มของการใช้ “เสียง” ด้วยเช่นกัน

ทั้งหมดนี้ทำให้มีการจับตาเรื่องของเทรนด์การใช้เสียงผ่านสังคมโซเชียลมีเดีย ว่าจะมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ และจะคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ ซึ่งจากการสำรวจคยามเห็นที่ลงลึกไปอีกว่า แล้วจะมีแผนที่จะลงทุนกับมันหรือไม่ ก็พบว่าเป็นไอเดียหรือแผนที่อยู่ในใจของผู้บริหารส่วนใหญ่เช่นกัน

นอกจากนี้ผลสำรวจยังแยกย่อยลงไปอีกว่า ผู้บริหาร หรือบริษัทขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ วางแผนที่จะลงทุนไปกับโซเชียลมีเดียในรูปแบบเสียง โดยเป็นการร่วมงานกับฝั่ง KOL ที่บริษัทที่ความมั่นใจว่าจะให้ผลตอบแทนกลับมากับการลงทุนด้วย ซึ่งก็สมเหตุสมผลมากทีเดียว กับการทำงานร่วมกันผ่าน KOL และถือเป็นโอกาสที่ดีที่ได้ทำงานแพล็ตฟอร์มโซเชียลรูปแบบเสียง เพราะมันสามารถดึงกลุ่มคนจำนวนมากได้ ซึ่งสำหรับธุรกิจหรือแบรนด์ขนาดใหญ่ที่ค่อข้างมีบัดเจ็ทก็ไม่ควรพลาดที่จะลองทำแคมเปญผ่านช่องทางนี้

อย่างไรก็ตาม อาจจะยังไม่แนะนำสำหรับธุรกิจขนาดเล็กๆ เพราะรูปแบบนี้ไม่ใช่ราคาที่ถุกเลย ในขณะที่ผลสตอบรับก็ยังไม่ชัดเจน แม้แต่ Clubhouse ก็มีจุดเริ่มต้นไม่ได้ทำเพื่อรูปแบบทางธุรกิจแต่อย่างใด ดังนั้น แพล็ตฟอร์มโซเชียลฯ เสียง จึงไม่ได้จะเหมาะกับทุกคน

 


  • 43
  •  
  •  
  •  
  •  
pigabyte
การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น มาเรียนรู้และสนุกไปกับบทความ จาก MarketingOops! กันนะคะ แล้วเราจะได้ค้นพบว่าโลกของ Marketing นั้น So Sexy and Cool!