บิล เกตส์ ทุ่มบริจาคหลายพันล้านดอลลาร์กู้วิกฤติมลพิษโลก

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

yrtt

Credit: Seth Wenig/Associated Press

บิล เกตส์ ทุ่มเงินหลายพันล้านดอลลาร์ตั้งกองทุนเพื่อวิจัยและพัฒนาพลังงานสะอาด ซึ่งจะประกาศอย่างเป็นทางการในการประชุม Paris Climate Change Conference ในวันจันทร์นี้ โดยมุ่งหวังให้เป็นความตั้งใจครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สำหรับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานสะอาด โดยจะมีการร่วมทุนจากบรรดามหาเศรษฐีและผู้ต้องการร่วมบริจาคคนอื่น ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในหลายประเทศเช่น สหรัฐ จีน อินเดีย และประเทศอื่นๆ

สำหรับการประชุมปารีสในวันจันทร์นี้ ‘บิล เกตส์’  จะร่วมเจรจาและร่วมมือกับผู้นำทั่วโลกกว่า 100 ประเทศ เพื่อกำหนดนโยบายลดการปล่อยเชื้อเพลิงฟอซซิล ซึ่งหากการประชุมนี้ลุล่วง จะส่งผลดีให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานในการใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างพลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดที่จะถูกนำมาใช้แทนเชื้อเพลิงถ่านหินและก๊าซ โดยจะมุ่งเน้นการลงทุนไปที่เทคโนโลยี ซึ่งมีความจำเป็นต่อการสร้างนวัตกรรมที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

ส่วนคำถามที่ว่าจะหาเงินทุนมาจากแหล่งใดบ้างจะเป็นวาระที่จะหาข้อสรุปกันในที่ประชุม โดยประเทศที่พัฒนาแล้วจะช่วยสนับสนุนด้านเงินทุนแก่ประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเฉพาะ อินเดีย เป็นประเทศที่มีการปล่อยพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอซซิลมากเป็นอันดับสามของโลก โดยอินเดียเองก็จะร่วมเป็นหนึ่งในชาติที่จะแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง  ทั้งนี้ ‘ฮิลลารี คลินตัน’ กล่าวว่าสหรัฐฯจะสนับสนุนงบประมาณแก่ประเทศยากจนเป็นจำนวนเงิน หนึ่งแสนล้านดอลลาห์ เป็นประจำทุกปี เพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานให้สามารถใช้พลังงานสะอาดแทนได้

เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา บิล เกตต์ ได้โพสต์ข้อความในบล็อกส่วนตัวว่า  “ถ้าเราสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับนวัตกรรมใหม่ๆได้ เราจะสามารถเร่งกระบวนการพัฒนาและขับเคลื่อนวิธีการแก้ปัญหาใหม่ๆให้บรรลุผลได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งที่สุดแล้วมันจะทำให้ทุกคนได้ตระหนักถึงพลังงานทดแทนปราศจากคาร์บอน ที่ทำให้เราสามารถหลีกเลี่ยงเหตุการณ์เลวร้ายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศได้ นอกจากนี้การแก้ไขยังทำให้ผู้คนหลุดพ้นจากภาวะยากจน โดยพวกเขาจะสามารถสร้างผลผลิตจากการเพาะปลูกได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม ซึ่งทั้งหมดมันก็คือการลดการปล่อยมลภาวะ”

เป็นเรื่องน่าดีใจที่ประเทศร่ำรวย รวมถึงคนรวย ตระหนักและมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาภสวะโลกร้อนอย่างจริงจัง  ซึ่งจริงๆแล้วนี่ไม่ใช่ภาระหน้าที่ของคนรวยหรือประเทศร่ำรวย แต่เป็นภาระของมนุษย์ทุกคนที่อาศัยอยู่บนโลก เพราะเราบริโภคทรัพยากรโลกอยู่ในทุกขณะที่กำลังหายใจ เรื่องเล็กๆน้อยๆในชีวิตประจำวันที่จะช่วยลดการทำลายโลกได้เป็นสิ่งที่ควรตระหนักและปฏิบัติให้เกิดผล

Source: nytimes.com


  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
CLOSE
CLOSE