Huawei มาครบทั้ง online-offline เล่นเกม omni-channel เพิ่มช่องอีคอมเมิร์ชจับมือยักษ์ใหญ่ Lazada และ Shopee ให้ช็อปที่ไหน เมื่อไหร่ ก็ได้

  • 70
  •  
  •  
  •  
  •  

AP2_1687

1 ใน 3 สายการดำเนินงานหลักของหัวเว่ย นั่นคือ คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป จะทำหน้าที่ดูแลธุรกิจ smartphone อุปกรณ์บรอดแบด์ไร้สาย อุปกรณ์ภายในบ้าน และบริการเก็บข้อมูลแบบคลาวด์ มีประสบการณ์และเครือข่ายจนสามารถสร้างผลิตภัณฑ์และบริการไปมากกว่า 170 ประเทศทั่วโลก มีศูนย์วิจัยและพัฒนา และความเชี่ยวชาญมากว่า 20 ปี ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม สินค้าคอนซูมเมอร์ หรือดีไวซ์ ทำให้หัวเว่ยเป็นที่รู้จักและเติบโตดีมากในตลาดไทย

ล่าสุด หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป (ประเทศไทย) เข้าร่วมมือกับ Lazada และ Shopee ผู้นำตลาดอีคอมเมิร์ซ จัดตั้ง HUAWEI Official Online Store ให้เป็นตัวแทนขายสินค้าของหัวเว่ย ในช่องทางออนไลน์ รวมทั้งขยายช่องทางขายในตลาดอีคอมเมิร์ซ สร้างกลยุทธ์ competitive advantage ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับสินค้าและบริการในช่วงก่อนการตัดสินใจซื้อ (Buying Decision Process) เพื่อขยายโอกาสทางการตลาดให้สินค้าของหัวเว่ย เข้าถึงผู้บริโภคครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ และเพิ่มความสะดวกสบายในการซื้อสินค้าของหัวเว่ยโดย HUAWEI Official Online Store พร้อมให้บริการบนเว็บไซต์ของ Lazada รวมทั้ง Shopee

คุณทศพร นิษฐานนท์ รองผู้อำนวยการ หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป (ประเทศไทย) ชี้ว่า

ปีที่ผ่านมาหัวเว่ยได้รับการตอบรับดีเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจาก 5 ปัจจัยหลักคือ

1. เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์มีความทันสมัย-ตอบโจทย์การใช้งาน

2. ความร่วมมือกับพันธมิตร ทำให้แบรนด์น่าเชื่อถือ

3. การยกระดับบริการหลังการขาย เช่น Door to Door Service และ Diamond Service

4. สร้างแบรนด์อย่างต่อเนื่อง

5. ขยายช่องทางจัดจำหน่าย

“สิ้นปีที่ผ่านมาเรามีตัวแทนจำหน่ายเพิ่มขึ้นกว่า 80% เทียบกับปี 2016 ตอนนี้หัวเว่ยจึงร้านค้ากว่า 9,000 แห่ง มีหัวเว่ยแบรนด์ช้อปกว่า 60 แห่งทั่วประเทศ ขณะเดียวกันเทคโนโลยีที่เติบโตส่งผลต่อพฤติกรรม ทั้งรับข้อมูลข่าวสาร การซื้อสินค้า ทำให้หัวเว่ยเติบโตอย่างรวดเร็ว พวกเขามองหาเทคโนโลยีทันสมัย ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ความต้องการที่เฉพาะตัวมากขึ้น จุดแข็งของหัวเว่ยที่เน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทั้งมีศูนย์พัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์กว่า 15 แห่งทุกมุมโลก มีศูนย์วิจัยร่วมกว่า 36 แห่ง ทำให้หัวเว่ยก้าวมาเป็นหนึ่งในผู้นำเทคโนโลยีสมาร์ทโฟน ครองใจผู้ใช้ในระยะเวลาไม่นาน”

ตลาดอีคอมเมิร์ซที่เติบโตเพิ่มขึ้นของไทย ตามข้อมูลของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิกส์ (สพธอ.- ETDA) ประเมินว่า ปีที่ผ่านมามีมูลค่าราว 2.8 ล้านล้านบาท (เพิ่มขึ้น 9.8%) และคาดการณ์ปี 2018 จะขยายตัวเป็น 3 ล้านล้านบาท

“ก้าวสำคัญของการบุกอีคอมเมิร์ซ จะเปิดโอกาสให้ลูกค้าหัวเว่ย ช็อปปิ้งที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ โดยเน้นไปที่การบริหารและสร้างประสบการณ์ที่ดี ในการช็อปปิ้งทั้งออฟไลน์และออนไลน์เข้าด้วยกัน ให้เป็นไปอย่างราบรื่นไม่สะดุด เช่น ลูกค้าเข้าไปดูของที่แบรนด์ช็อปหรือตัวแทนจำหน่าย กลับบ้านไปก็สามารถตัดสินใจซื้อผ่านออนไลน์ได้เลย หรือดูของผ่านร้านค้าออนไลน์ แล้วเดินเข้าไปในร้านออฟไลน์ ก็ตัดสินใจซื้อได้ทันที ร้านในอีคอมเมิร์ซและหน้าร้านมีส่วนส่งเสริมกัน กลยุทธ์นี้เป็นผลจากการเรียนรู้พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้ซื้อ และเราก็ให้ความสำคัญต่อความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้าเป็นอย่างมาก เพื่อเป้าหมายหลักในการสร้างความพึงพอใจและเพิ่มโอกาสในการขาย ปีนี้จึงได้เห็นการจับมือของหัวเว่ยกับ 2 พาร์ทเนอร์ทั้ง Lazada และช้อปปี้ (Shopee) และตั้งร้านค้าออนไลน์อย่างเป็นทางการ Lazada และ Shopee”

Lazada เว็บ web ecommerce เบอร์ 1 ของเมืองไทย และยังเป็นผู้นำด้าน ecommerce Market Place อันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีอาลีบาบากรุ๊ปหนุนหลัง ถือเป็น marketing channel ที่ได้รับความนิยม มีสินค้าไอทีเข้าร่วมใช้ช่องทางนี้มากมาย อาทิ ซัมซุง แอลจี โลโนโว เอชพี โดยเฉพาะการเปิดตัวเป็นจำหน่ายสินค้าของ Apple อย่างเป็นทางการ จากที่ก่อนหน้านี้ตัวแทนจำหน่ายสินค้าอย่างเป็นทางการหรือที่เรียกกันว่า Apple Authorized Reseller นั้น จะมีเพียงกลุ่มร้าน iStudio, iBeat, Power Mall หรือร้านที่อยู่ตามห้างต่างๆ เท่านั้น ซึ่งระบบออนไลน์ของตัวแทนจำหน่ายต่างๆ ก็ยังไม่แพร่หลายรวมถึง Apple Online Store เองก็จะมีข้อจำกัดหลายอย่าง การมี official store ใน Lazada จึงถือเป็นกลยุทธ์ retail ที่น่าสนใจในการเข้าถึงกลุ่มออนไลน์

ส่วน Shopee ถือเป็นแพลตฟอร์ม E-Commerce ที่มาแรง ซึ่งเป็นอีกธุรกิจหนึ่งของกลุ่ม Garena สิงคโปร์ที่เติบโตมาจาก PC เกมที่เน้นออนไลน์จากนั้นก็ย้ายมาอยู่บนโมบายรวมทั้งเพย์เมนต์อย่างแพลตฟอร์มชำระเงิน Air Pay ภายหลังกิจการทั้งหมด อย่าง Shopee Air Pay และ Garena จะดำเนินการภายใต้เครือข่าย SEA แนวทางการทำธุรกิจก็คือ รวบรวมสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาด มารวมอยู่บนแพลตฟอร์มเดียวกันแต่หลากหลายอยู่บนความต้องการของผู้ใช้


  • 70
  •  
  •  
  •  
  •