ผ่าวิสัยทัศน์ AIS 2018 ขนทัพขับเคลื่อน Digital Transformation สู่แพลตฟอร์มเพื่อคนไทยอย่างเต็มรูปแบบ

  • 53
  •  
  •  
  •  
  •  

IMG_2001

ถ้ามองรอบตัวในปัจจุบันจะรู้ว่าโลกดิจิทัลอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม ทุกคนมีสิทธิ์ในการใช้งานดิจิทัลและข้อมูลต่างๆ ที่หลั่งไหลมาจากระบบดิจิทัลล้วนแต่มีมูลค่าทั้งสิ้น โดยเฉพาะพฤติกรรมการใช้ชีวิตในปัจจุบัน แต่ดูเหมือนว่าประเทศไทยยังไม่ตระหนักถึงประโยชน์ของการใช้ระบบดิจิทัลและมูลค่าของข้อมูลต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งล้วนแต่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศชาติได้อย่างมหาศาล แต่ปัจจุบันกลับยังนำศักยภาพเหล่านั้นมาใช้ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ

ในงาน Digital Intelligent Nation 2018ที่เป็นการแสดงวิสัยทัศน์ของ AIS ในอนาคต (AIS Vision) ที่มีการกล่าวถึงความร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างระบบดิจิทัลทั้งประเทศ โดย ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ชี้ว่าประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน และสิ่งที่ประเทศไทยต้องมีคือ Digital for Allการรวมกันทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ต

IMG_9783

โครงสร้างเศรษฐกิจ Digital Driven Economy ด้วยการนำเทคโนโลยีไปพัฒนาในการสร้างนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะธุรกิจ e-Commerce ที่ช่วยให้ทุกคนสามารถค้าขายได้ Digital Warrior หรือบุคลากรทางด้านดิจิทัลที่เข้าใจและสามารถนำระบบดิจทัลไปดำเนินการในธุรกิจ ซึ่งภาครัฐจะให้การสนับสนุนสถาบันการศึกษาผ่านรูปแบบ Tax Intensive นอกจากนี้ประเทศไทยยังต้องมี Digital Leadership Government ซึ่งภาครัฐจะต้องสร้างโครงสร้างและ ecosystem เพื่อให้เอกชนสามารถนำข้อมูลที่ภาครัฐมีไปประกอบการทำธุรกิจ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ Digital Politic การมีส่วนร่วมของภาคเอกชนกับรัฐบาลโดยตรง เพื่อให้รัฐบาลสามารถสร้างกฎระเบียบใหม่ๆ เพื่อตอบสนองการทำงานแบบดิจิทัล

ขณะที่ คุณกานต์ ตระกูลฮุน ประธานกรรมการ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS โดยคุณกานต์ชี้ว่า ประเทศไทยมีการชี้วัดดัชนีหลายๆ ด้านอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่เรื่องการวิจัยนวัตกรรมประเทศไทยยังน้อยอยู่มาก โดยคาดว่าในปี 2018 ประเทศไทยกำลังจะมีการลงทุนวิจัยด้านนวัตกรรมในระดับ 1.0% ต่อ GDP ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นจุดพลิกผันของประเทศในการพัฒนาไปสู่ยุคดิจิทัล เรื่องของดิจิทัลถือว่าประเทศไทยยังขาดบุคลากรที่สำคัญด้านการวิจัย แต่มีแนวโน้มที่ดีโดยมีการคาดการณ์ว่าในปี 2564 จะมีบุคลากรด้านวิจัยราว 25 : 10,000 คน ซึ่งในอนาคตหากประเทศไทยก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล นักวิจัยด้านนวัตกรรมก็จะเติบโตขึ้นตามความต้องการ

IMG_9819

ด้าน คุณสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS มองว่า ecosystem มีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งประชากรกว่า 7 พันล้านคนทั่วโลกสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้เกินครึ่ง แต่สมาร์ทโฟนมีพลังมากเพราะมีผู้ใช้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งในไทยมีสมาร์ทโฟนราว 70 กว่าล้านเครื่องแต่มีเบอร์โทรศัพท์กว่า 90 ล้านเลขหมาย

ในปี 2016 มีการใช้ปริมาณข้อมูลอินเตอร์เน็ตราว 3.8GB ต่อคนต่อเดือน แต่ในปี 2017 มีการใช้ปริมาณข้อมูลอินเตอร์เน็ตสูงถึง 7.3GB ต่อคนต่อเดือน หรือเพิ่มขึ้นกว่า 80% และคาดว่าในปีนี้จะมีการใช้ปริมาณข้อมูลอินเตอร์เน็ตประมาณการณ์เกิน 10GB ต่อคนต่อเดือน ชี้ให้เห็นว่ามีการใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนไปสิ่งเดิมๆ จะถูกทำลายล้างพฤติกรรมและธุรกิจรูปแบบเก่า

IMG_0086

นอกจากนี้ในปี 2016 คนไทยใช้อินเตอร์เน็ตเฉลี่ยกว่า 3 ชั่วโมงต่อคนต่อวัน แต่ในปี 2017 คนไทยใช้อินเตอร์เน็ตกว่า 4.8 ชั่วโมงต่อคนต่อวัน เพิ่มขึ้นถึง 60% เพราะอินเตอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นพฤติกรรมการดูทีวีจึงเปลี่ยนไป โดยในปี 2017มีการชมทีวีผ่านระบบออนไลน์ผ่าน Smart Device ถึง 41 ล้านคน และมากกว่า 80% เป็นรายการของไทย ทำให้เห็นว่าความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตของประเทศไทยมีเพิ่มมากขึ้น

ประกอบกับช่วงที่ผ่านมาธุรกิจในรูปแบบแพลตฟอร์ม (Platform) เกิดขึ้นมามากมายโดยไม่ต้องลงทุนอะไรทั้งสิ้น อย่างเช่น Uber ที่ให้บริการระบบขนส่งแต่ไม่มีรถยนต์เป็นของตัวเอง Alibaba ขายสินค้าโดยที่ไม่มีสินค้าของตัวเอง และอีก 3 ปีข้างหน้าโลกจะเปลี่ยนอย่างแน่นอน ซึ่งประเทศไทยต้องทำ 2 เรื่องทั้งเรื่อง Competency ในเรื่องการพัฒนาบุคลากร และเรื่องของ Digital Platform for THAIs นั่นเพราะธุรกิจของไทยส่วนใหญ่พึ่งพาแพลตฟอร์มจากต่างประเทศอย่าง Facebook, Instagram เป็นต้น

IMG_0377

และหากมีการปรับนโยบายของแพลตฟอร์มเหล่านั้น อย่างเช่นที่ Facebook มีการปรับอัลกอริทึ่ม ก็จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจโดยรวม สิ่งที่ AIS จะต้องทำคือการพัฒนา Digital Platform โดยสิ่งแรกคือเรื่องของเครือข่าย ซึ่ง AIS เป็นเครือข่ายที่เรียกได้ว่าเร็วที่สุดด้วยความเร็วระดับ 1Gbps ผ่านระบบ NEXTG อันดับต่อมาคือระบบโครงสร้างไฟเบอร์ออพติกอย่าง Fixed Line หรือที่เรารู้จักในชื่อ AIS Fibre พร้อมให้บริการอินเตอร์เน็ตทั้งในบ้านและนอกบ้าน

สุดท้ายคือการพัฒนาแอพพลิเคชั่นแพลตฟอร์ม (Application Platform) ซึ่งได้เตรียมไว้ 3 เรื่องทั้ง Video Platform โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนทั้ง Free Content ลูกค้า AIS สามารถชมรายการฟรีได้ทันที ขณะที่ Premium Content เป็นรายการที่ต้องเสียเงินเพื่อรับชม โดยปีนี้ AIS ได้ซื้อลิขสิทธิ์ของ Cartoon Network และ CNN พร้อมทั้งเปิดตัวแพลตฟอร์ม “Play 365” โดยจะรับสมัครคนหรือทีมงานจำนวน 365 ทีมเพื่อนำเสนอรายการ โดย AIS จะสนับสนุนเงินบางส่วนในการผลิต และหากเป็นที่ชอบของผู้ชมก็จะแบ่งรายได้

IMG_0079

VR Platform เป็นอีกแพลตฟอร์มที่ AIS ต้องการสร้างขึ้นเพื่อให้มีการพัฒนา Content ในด้าน VR ซึ่งเป็นความร่วมมือของพันธมิตรอย่าง IMAX สามารถรับชมได้ที่สยาม พารากอน นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับ IMAX ในการจัด AIS VR Creator Program เพื่อเฟ้นหาผู้ผลิตเนื้อหาทางด้าน VR

และ IoT Platformจะเป็นแพลตฟอร์มที่จะสามารถช่วยให้เกิดบ้านอัจฉริยะ ซึ่ง AIS ได้ลงทุนด้านเน็ตเวิร์คด้วยการลงทุน NBIoT โดยจะใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับอุปกรณ์ที่ตั้งอยู่กับที่หรือมีการเคลื่อนไหวน้อย ขณะที่ในปีนี้มีการลงทุนเพิ่มขึ้นกับระบบ eMTC ซึ่งระบบนี้จะใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับอุปกรณ์ที่มีการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว เช่น Smart Watch เป็นต้น และระบบ LTE หรือ NEXTG ที่ใช้กับ Smartphone และกำลังจะขยายระบบทั้งหมดนี้ไปทั่วประเทศ

IMG_0279


  • 53
  •  
  •  
  •  
  •