ฉีกทุกตำรา! 3 เหตุผล ทำไมการทำแบรนด์เดิมๆใช้ไม่ได้กับ DTAC ?

  • 290
  •  
  •  
  •  
  •  

ใครจะคิดว่าโลกดิจิตอลที่ฟังดูล้ำสมัย ไฮเทค จับต้องไม่ได้จะกลายเป็นเรื่องธรรมดาไปอีก 3-4 ปีข้างหน้า ทุกคนใช้ชีวิตตามปรกติในโลกดิจิตอล หลายๆคนเปลี่ยนมาใช้สมาร์ทโฟนที่เป็น Data Based มากขึ้นหร้อม 3G และ 4G สมาร์ทโฟนก็ถูกลง เข้าถึงง่ายขึ้น เสพย์รายการทีวีผ่านสมาร์ทดีไวซ์กันจนชิน

ฉะนั้นธุรกิจเทเลคอมต้องรีบปรับตัว มองตัวเองเป็นธุรกิจที่ “Connect” ผู้คนเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ครอบครัว เพื่อน โรงเรียน และอีกหลายชุมชน เมื่อไร่ที่ผู้คนนึกถึงดิจิตอล ผู้คนต้องนึกถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้อง รู้ใจ และเข้าใจเขามากที่สุด

คุณปารมี ทองเจริญ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายสื่อสารแบรนด์ จึงมาอธิบายการสร้างแบรนด์ในทิศทางใหม่ของทาง DTAC ว่าจะมีรูปแบบตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคอย่างไร

dtac-itu-telecom-2016-2

ที่สำคัญทำไมการทำแบรนด์แบบเดิมๆใช้ไม่ได้กับ DTAC อีกแล้ว? และนี่คือ 3 เหตุผลที่ว่า

 

1. DTAC ยังไม่ใช่แบรนด์ตัวแทนของ “Digital Gen”: จากเดิมที่ DTAC มีแบรนด์อย่าง Happy DTAC จับผู้ใช้งาน “Voice Based” จนเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จโดยเฉพาะกับกลุ่มผู้บริโภคอายุ 35 ปีขึ้นไปที่รักในแบรนด์นี้มาก

อย่างไรก็ตาม กลุ่ม Digital Gen ที่เริ่มใช้มือถือตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไปยังไม่รับรู้ ยังไม่ได้ผูกพันกับ DTAC ทำให้ DTAC ต้องเผชิญความท้าทาย ต้องทำให้แบรนด์เป็นผู้นำวิถีชีวิตดิจิตอลสำหรับคนกลุ่มนี้ที่จะเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ ในอีก 3-4 ปีข้างหน้า

DTAC จึงต้องงัดกลยุทธ์ “One Brand Strategy” กลางปีนี้ ลดความสำคัญของความหลากหลายของแบรนด์ที่ DTAC มี รวมถึง Happy ด้วย เพื่อให้แบรนด์ดูหนุ่มสาวขึ้น กระฉับกระเฉงเหมาะกับวัย Digital Gen

ส่วนกลุ่มลุกค้าเดิมที่มาอายุมากขึ้น DTAC ก็ไม่ทิ้งให้คนกลุ่มนี้รู้สึกถูกทิ้งลืมหาย ไม่มีใครคุยด้วย ซึ่งการกระชากวัยของแบรนด์ทำให้ คนกลุ่มนี้เปลี่ยนพฤติกรรม และทัศนคติ รู้สึกกระฉับกระเฉง ทันสมัยเช่นกัน ด้วย Digital Platform ที่มีมือถือให้บริการ สร้างระบบนิเวศใหม่ด้วย

20141103175200-how-market-generation-z-kids-who-already-have-44-million-dollars-spend

2. สร้างแบรนด์ด้วยประสบการณ์ผ่านคอนเทนต์ ไม่ใช่โฆษณา: DTAC รู้แล้วว่าตาม กลุ่ม Digital Gen ที่กลุ่มคนที่เริ่มใช้มือถือมีอายุน้อยลง ยังไม่รับรู้และยังไม่ได้ผูกพันกับ DTAC เด็กที่เพิ่งเริ่มใช้มือถือ 12 ก็รู้สึกนิดๆแล้วว่า DTAC เป็นแบรนด์แม่ ไม่ใช่แบรนด์ของเขา

DTAC จึงต้องแก้เกมให้ Digital Gen มอง DTAC ว่าเป็นแบรนด์ดิจิตอลสำหรับเขา ไม่ใช่การส่งสารผ่านโฆษณาอีเวนต์ ประชาสัมพันธ์เพื่อลบภาพพจน์เดิม

แต่ผู้ให้บริการมือถือ ต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจ ให้ตรงใจผู้บริโภค สร้างคอนเทนด์ ส่ง “ประสบการณ์” ให้ผู้บริโภคได้ให้เสพย์ ทำให้แบรนด์ DTAC แตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ มีผู้บริโภคหันมารักและใช้บริกาของแบรนด์ DTAC ในที่สุด รองรับความต้องการที่ “สร้างขึ้น” ในตัวสมาร์ทดีไวซ์ใหม่ๆที่ผลิตวางขายเยอะขึ้นต้องใช้ซิมการ์ด ตามกระแส Internet of Things ด้วย

โดยเราจะเห็น DTAC เริ่มทำ Music Indefinite ฟังเพลงผ่านแอปพลิเคชั่นฟรี อย่าง Joox และ Apple Music แล้ว ซึ่งการทำคอนเทนต์ส่งมองประสบการณ์ DTAC ต้องทดลอง เรียนรู้จากข้อผิดพลาด และเติบโตไปพร้อมกับผู้บริโภค จึงจะสร้างความแตกต่างที่ที่ว่านั้นได้

ต้องโฟกัสกับกลุ่มผู้บริโภคที่เราต้องการสื่อสาร

อย่างไรก็ตามหากกลุ่มผู้บริโภคในไทยยังมองว่าโฆษณามีส่วนในการสร้างแบรนด์ DTAC ก็พร้อมทำโฆษณาเช่นกัน

bg_whiteboard

3. มาตรฐาน แบบแผน สูตรตายตัว และตัวชี้วัดการทำแบรนด์ไม่มีอยู่จริง: แทนที่ทีมงานสื่อสารแบรนด์ DTAC จะไม่ จะวางแบรนด์ DTAC เป็นแบรนด์ดิจิตอลล้ำสมัย ไฮเทคอย่างที่กิจการเทเลคอมอื่นๆทำกัน แต่วางแบรนด์เป็นแบรนด์ดิจิตอลให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เป็นแบรนด์ที่ซื้อความสะดวกสบายของผู้บริโภคมากที่สุด

ไม่ใช่ Digital First แต่ Customer First ที่อยู่ในโลกดิจิตอล

DTAC จึงต้องเข้าใจ “พลเมืองดิจิตอล” รวมถึงกลุ่มที่เสพย์สื่อเดิมอย่างโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และวิทยุด้วย ว่าจริงๆอยากบริโภคอะไรและอย่างไร ต้องทำให้ดิจิตอลเป็นเรื่องง่ายและกินใจ เกี่ยวข้องกับเขา และต้องพูดในภาษาที่ผู้บริโภคอยากฟัง แม้จะสื่อข้อความเดียวกัน แต่ต้องใช้วิธีที่แตกต่างกัน

ไม่มีสูตรตายตัว ไม่พูดภาษาเดียว วิธีเดียวให้คนทั้งประเทศแบบหว่านกว้างอีกแล้ว

dtac-itu-telecom-2016-3

เพราะแต่ละกลุ่มก็มีความคิดต่างกัน ให้ DTAC เป็นแบรนด์ที่สัมผัสกับลูกค้า แม้ต้องแบ่งกลุ่มประเภทลูกค้า แต่สุดท้ายก็ต้องโฟกัสว่าจะทำแบรนด์กับลูกค้าประเภทไหน กับใครก่อน จะพูดกับใคร มากน้อยแค่ไหน แบบไหน ต่างกันอย่างไร ต้องคุยกับทุกคน ทุกคนได้ฟังเรา และรักเรามากขึ้น ไม่ใช่รักเพราะภัคดีต่อแบรนด์

แต่เห็นแบรนด์เป็นพวกเดียวกับผู้บริโภค

อีกทั้งความชอบของผู้บริโภคสมัยนี้เปลี่ยนกันวันต่อวัน แบรนด์ต้องนำเทรนด์ และตามเทรนด์ควบคู่กันไป

paramore_concert

ฉะนั้นต้องต้องปรับองค์กรข้างในให้สอดคล้องกับทางที่แบรนด์จะไป เพราะทุกอย่างคือการสื่อสาร ทีมงานต้องเข้าใจทั้งสื่อเดิมสื่อใหม่ ไม่มีการแยกทีม  ที่สำคัญไม่ได้วางทีมให้แพลนการทำแบรนด์กันทั้งปี แต่จะวางแผนกันอาทิตย์ต่ออาทิตย์ เดือนต่อเดือน ให้ผู้บริโภคจะกำหนดว่าเราควรสร้างแบรนด์และสื่อสารกับอย่างไร

เพราะการวางแผนระยะยาว ไม่ได้สะท้อนความคาดหวังหรือพยายามเข้าใจลูกค้าจริงๆ

dtac-itu-telecom-2016-8


  • 290
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th