ชวนดูความก้าวหน้าของจีนโมเดลใหม่สู่มหาอำนาจที่แตกต่าง ถึงกาลที่โลกขับเคลื่อนด้วย Made in China

  • 278
  •  
  •  
  •  
  •  

China

จีน” ประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกนับตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต และยังเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก จีนยังเคยเป็นศูนย์กลางการค้าของดินแดนเอเชียตะวันออกไกล ความยิ่งใหญ่ในยุคที่จีนยังปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยมีจักรพรรดิหรือฮ่องเต้เป็นผู้นำประเทศ ส่งผลให้จีนถูกจับตาโดยบรรดาเหล่ามหาอำนาจในการล่าอาณานิคม

ประเทศจีนแม้ไม่ได้อยู่ในฐานะประเทศผู้แพ้สงครามหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ประเทศจีนก็บอบช้ำอย่างรุนแรงจาการสงครามปฏิวัติวัฒนธรรมจนนำไปสู่การปกครองของท่านประธาน “เหมาเจ๋อตุง” จีนก็เริ่มปิดประเทศและเข้าสู่ยุคที่ความยิ่งใหญ่ของจีนเป็นเพียงตำนาน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจีนกล่าวได้ว่าเป็นประเทศที่ติดอันดับยากจน ด้วยจำนวนประชากรและการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ทำให้เศรษฐกิจจีนค่อยๆ ดำดิ่ง แต่ในช่วงระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมาจีนกลับพัฒนาแบบก้าวกระโดด จากเดิมที่เคยล้าหลังไทยนับ 10 ปีทั้งเทคโนโลยี (ไม่นับรวมเทคโนโลยีทางการทหาร) และเศรษฐกิจ แต่ปัจจุบันจีนกำลังก้าวล้ำนำหน้าไทยอย่างต่อเนื่อง อะไรคือจุดพลิก? อะไรที่ทำให้จีนกลับมาทวงความยิ่งใหญ่อีกครั้ง?

 

เติ้งเสี่ยวผิง บิดาแห่งโลกศิวิไลซ์

สู่การพัฒนาใต้ร่มเงาสีจิ้นผิง

การที่จีนพัฒนามาได้ในปัจจุบันต้องยอมรับว่าเป็นวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของผู้นำจีนอย่าง “เติ้งเสี่ยวผิง” ที่เน้นการพัฒนาประเทศใน 4 ด้านหลักทั้งทางด้านการเกษตร, การศึกษา, อุตสาหกรรม (เทคโนโลยี) และการทหาร นอกจากนี้เติ้งเสี่ยวผิงยังเพิ่มบทบาทของรัฐวิสาหกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ จนนำไปสู่การขยายและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่อย่างมากมาย อาทิ ระบบขนส่ง, ระบบโทรคมนาคม, พลังงานไฟฟ้า เป็นต้น

นอกจากนี้ เติ้งเสี่ยวผิงจะมีนโยบายในการเปิดประเทศเพื่อเจรจาการค้าพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ แม้จะมีนโยบายเปิดประเทศแต่กฎระเบียบที่เข้มงวดก็ยังไม่ส่งผลให้นักลงทุนเดินทางเจ้าสู่ประเทศจีน นโยบายของเติ้งเสี่ยวผิงได้รับการสานต่อจากผู้นำรุ่นต่อๆ มา จนถึงผู้นำจีนคนปัจจุบันอย่างประธานาธิบดี “สีจิ้นผิง” ที่หันมาปรับรูปแบบการปกครองเป็นประชาธิปไตยในแบบจีนและเริ่มเปิดประเทศ

China-2

สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ การพัฒนาเทคโนโลยีและกระจายความเจริญไปสู่เมืองต่างๆ สนับสนุนให้คนจีนทำธุรกิจภายใต้ความช่วยเหลือของภาครัฐ ลบภาพความเป็นดินแดนสินค้าปลอม สนับสนุนให้คนจีนซื้อของแท้ที่ผลิตโดยคนจีน รวมไปถึงการออกกฎหมายเข้มงวดในเรื่องการปลอมสินค้าและคุณภาพของสินค้า ส่งเสริมให้นักธุรกิจจีนขยายตลาดสู่ต่างประเทศภายใต้ข้อกำหนดของภาครัฐ

 

โมเดลขยายตลาดของมหาอำนาจ

การ์ตูน ละคร วัฒนธรรม เพลง

หากดูมหาอำนาจในภูมิภาคนี้ คงต้องยกให้ประเทศญี่ปุ่นเป็นหลัก เมื่อย้อนดูอดีตจะพบว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้แพ้สงครามในสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามเป็นจำนวนเงินมหาศาลแก่สหรัฐฯ และเรียกได้ว่าหลังสังครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ล้มละลายทางเศรษฐกิจ ไม่มีเงินพอจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม จนรัฐบาลสหรัฐฯ ต้องยื่นมือเข้าช่วยและเศรษฐกิจญี่ปุ่นก็ค่อยๆ ฟื้นตัว

China 3

ญี่ปุ่นจึงเริ่มขยายตลาดผ่านการ์ตูน ภาพยนตร์ ละครและเพลง เพื่อให้แต่ละประเทศค่อยๆ ซึมซับความเป็นญี่ปุ่นผสานกับวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ จนกลมกลืน ประกอบกับใช้ราคาเป็นตัวขับเคลื่อน อาทิ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า แล้วค่อยๆ พัฒนาคุณภาพจนเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

เฉกเช่นเดียวกับอีกหนึ่งมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่าง เกาหลีใต้ ที่เมื่อมองย้อนไปในอดีตจะเห็นว่า เป็นประเทศที่ตกอยู่ได้อาณัติประเทศเพื่อนบ้านอย่างจีนและญี่ปุ่นเป็นเวลานาน จนกระทั่งเกาหลีใต้พัฒนาเศรษฐกิจจนพร้อมขยายสู่ต่างประเทศ เกาหลีใต้ก็ใช้โมเดลแบบเดียวกับญี่ปุ่น ด้วยการใช้ภาพยนตร์ ละคร เพลงและวัฒนธรรมเพื่อมาผสานให้กลมกลืนกับประเทศนั้นๆ อย่างลงตัว รวมไปถึงการใช้ราคาทำตลาดและพัฒนาคุณภาพจนเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

 

ความเปลี่ยนแปลงภายใน 20 ปี

จากตามหลังสู่การล้ำหน้า

หากย้อนกลับไปดูในอดีต จีนจัดอยู่ในประเทศโลกที่ 3 หรือประเทศที่ด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนา ยกตัวอย่างในปี 1996 หรือปี พ.ศ.2539 จีนยังคงใช้จักรยานเป็นพาหนะหลักแม้จะมีรถยนต์ใช้บ้าง แต่ก็มีเฉพาะบางคนเท่านั้น และรถยนต์ส่วนใหญ่จะเป็นรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ โดยเฉพาะรถบัสสำหรับนักท่องเที่ยวนอกจากนี้สภาพสังคมส่วนใหญ่ยังคงแตกต่างจากประเทศไทยในช่วงเวลาเดียวกัน

China 4

สำหรับการสื่อสารในจีนเริ่มต้นใกล้เคียงกับประเทศไทย แต่การพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารของไทยรวดเร็วกว่ามาก จวบจนนักลงทุนด้านเทคโนโลยีเข้ามาลงทุนในจีน พร้อมกับนโยบายเปิดประเทศให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในประเทศจีนมากขึ้น ส่งผลให้การพัฒนาประเทศของจีนรุดหน้าไปอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงหลังปี พ.ศ.2540 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยเกิดวิกฤตการณ์ “ต้มยำกุ้ง” ประเทศจีนก็พัฒนาไปอย่างล้ำหน้า โดยตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมาจีนสามารถก้าวล้ำนำประเทศหลายๆ ประเทศ จนไปสู่ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจได้ในที่สุด

ส่งผลให้สภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด ภายในช่วงระยะเวลาเพียง 20 ปี จากประเทศที่ใช้จักรยานเป็นพาหนะหลักสู่ประเทศที่มีการจราจรคับคั่งมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก นอกจากนี้จีนยังเป็นหนึ่งประเทศที่ติดอันดับบุคคลที่ทรงอิทธิพลและบุคคลที่ร่ำรวยมากที่สุดในโลก การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยียังส่งผลให้จีนกลายเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็นด้านโทรคมนาคม FinTech หรือแม้แต่ AI

 

อนาคตของจีนนับจากนี้

สู่ผู้นำอันดับหนึ่งของโลก

หากว่ากันตามจริงแล้ว แม้สหรัฐฯ จะยังเป็นผู้นำโลกในความเข้าใจของหลายๆ ประเทศ แต่ปัจจุบันสหรัฐฯ กำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจต่อเนื่องจากวิกฤติการณ์ “แฮมเบอร์เกอร์” รวมถึงปัญหาติดพันในเรื่องของสงครามก่อการร้าย นั่นทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างล่าช้า ขณะที่จีนไม่มีวิกฤติจากสงครามการก่อการร้าย รวมไปถึงสภาพเศรษฐกิจของจีนที่มีความแข็งแกร่ง โดยเฉพาะตลาดในประเทศจีนที่มีขนาดใหญ่ถึงประมาณ 1 ใน 3 ของตลาดทั่วโลก

นั่นทำให้จีนกลายเป็นตลาดที่สำคัญของโลก เรียกได้ว่าหากสินค้าสามารถขายได้ทั่วประเทศจีนก็ไม่จำเป็นต้องส่งออกสู่ภูมิภาคอื่น ยิ่งไปกว่านั้นการเติบโตของประเทศจีนส่งผลให้คนจีนกลายเป็นคนมีเงินระดับเศรษฐีจำนวนมาก และกลุ่มคนเหล่านี้พร้อมที่จะใช้จ่ายอย่างเต็มที่ จากในอดีตที่ใช้ชีวิตแบบอัตคัตมีข้อจำกัดในการใช้จ่าย นั่นทำให้ความต้องการบริโภคต่างๆ มีสูงมากและเป็นเหตุผลหลักที่ธุรกิจต่างชาติต่างพยายามเข้าสู่ประเทศจีน

China 5

ประกอบกับนโยบายภาครัฐในการพัฒนาเทคโนโลยี ส่งผลให้จีนเกิดการวิวัฒน์ขึ้นในสังคม ทั้งภาคประชาชนอย่าง FinTech, AI เป็นต้น และภาคการทหารอย่างเทคโนโลยีอวกาศ อาวุธยุทโธปกรณ์ เป็นต้น นั่นทำให้จีนมีศักยภาพเพียงพอในการก้าวขึ้นไปสู่ผู้นำโลกอันดับหนึ่งแทนที่สหรัฐฯ

และในอนาคตจะยิ่งเกิดความท้าทายกับสหรัฐฯ มากขึ้น เมื่อจีนประกาศเปิดประเทศแบบสมบูรณ์ นั่นหมายความว่าความต้องการบริโภคสินค้าจากทั่วโลกของจีนจะมากเพิ่มขึ้นตาม และในทางกลับกันสินค้าของจีนที่มีคุณภาพมาตรฐานระดับสากล ก็จะขยายสู่ทุกตลาดในภูมิภาคของโลก…ภายใต้ชื่อ

“Made in China”


  • 278
  •  
  •  
  •  
  •  
Gigolo
เมื่อเทคโนโลยีอยู่ใกล้กับชีวิตทุกคน มารู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อใช้มัน แต่อย่าให้เทคโนโลยีมันใช้เรา