ใครที่เผลอชนะการประมูลคลื่นความถี่ 900MHz มีเศร้า!!! ด้าน dtac เชื่อเป็นไปได้ยาก

  • 53
  •  
  •  
  •  
  •  

900-01

ช่วงที่ผ่านมากสทช.มีการแจ้งให้ผู้ที่ต้องการเข้าประมูลคลื่นความถี่มารับเอกสารการประมูลคลื่นความถี่ย่าน900MHz และ 1800MHz ที่จะจัดประมูลขึ้นโดยสำนักงาน กสทช.ในวันที่ 18-19 สิงหาคมนี้ ซึ่ง dtac ได้เข้าปรึกษากับทางกสทช.เพื่อความชัดเจนในเงื่อนไขเพิ่มเติมสำหรับการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ที่กำหนดให้ผูนะการประมูลต้องมีภาระหน้าที่มากกว่าการให้บริการข้อมูล

ด้านนายราจีฟ บาวา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มกิจการองค์กรและพัฒนาธุรกิจ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ dtac  ชี้ว่าเงื่อนไขที่กสทช.นั้นเป็นไปได้ยากมากและอาจส่งผลต่อภาระของผู้ชนะการประมูลโดยเฉพาะในประเด็นการรบกวนสัญญาณคลื่นความถี่ของรถไฟฟ้า ซึ่งจะส่งผลคุณภาพโครงข่ายระยะยาวสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วประเทศ

dtac

รถไฟฟ้าสบายใจ มีคนลงทุนติดตั้งให้ฟรี!!!

สำหรับประเด็นหลักที่ทาง dtac ชี้ว่าเป็นไปไม่ได้คือเงื่อนไขในการอนุญาตข้อ 16 ที่กำหนดให้ผู้ชนะการประมูลจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการรบกวนกันของคลื่นความถี่และการรบกวนระบบอาณัติสัญญาณของระบบคมนาคมขนส่งทางราง(รถไฟฟ้า)ทั้งหมด…แต่เพียงผู้เดียว!!! โดยมีภาระในการติดตั้งวงจรกรองสัญญาณ (Filter) ให้แก่ผู้รับใบอนุญาตรายเดิม (true – AIS) ที่ใช้คลื่นความถี่ย่าน 850 MHz และผู้ให้บริการระบบคมนาคมขนส่งทางรางจำนวน 4 โครงการ

จากข้อความด้านบนกำลังจะบอกว่าผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz จะต้องลงทุนติดตั้งวงจรกรองสัญญาณให้กับรถไฟฟ้ารวมไปถึงต้องติดตั้งวงจรกรองสัญญาณให้กับผู้ที่มีใบอนุญาตคลื่นความถี่ 900 MHz หรือผู้ที่ชนะการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ครั้งที่ผ่านมาหรือก็คือ true และ AIS

คาดว่ามาตรการดังกล่าวจะก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องค่าใช้จ่ายในการดำเนินการโดยคาดว่าจะสูงกว่าจำนวนเงินที่กสทช.ลดราคาขั้นต่ำของการประมูลให้จำนวน2,000 ล้านบาทรวมไปถึงปัญหาในทางปฏิบัติที่ผู้ชนะการประมูลจะเข้าไปดำเนินการติดตั้งวงจรกรองสัญญาณ (Filter) ในสถานีฐานของผู้รับใบอนุญาตรายเดิมทั้งหมดที่มีอยู่ ณ วันที่ออกประกาศการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ในฉบับนี้

 

20180717_151431

ซึ่งทางนายราจีฟชี้ว่ามีความละเอียดอ่อนในการเข้าไปติดตั้งแม้ว่าทางกสทช.จะชี้ว่าสามารถทำได้ผ่านการเจรจาแต่จะมีเรื่องของตำแหน่งที่ตั้งไม่ว่าจะเป็นเรื่องของข้อจำกัดด้านพื้นที่การใช้พื้นที่ในการติดตั้งยังอาจส่งผลต่อค่าเช่าพื้นที่ซึ่งยังไม่มีข้อสรุปว่าใครจะเป็นผู้จ่ายค่าเช่าที่เพิ่มขึ้นซึ่งในทางธุรกิจการจะเข้าไปดำเนินการในบริษัทคนอื่นเป็นเรื่องยากรวมไปถึงการเข้าไปติดตั้งวงจรกรองสัญญาณ (Filter) ให้กับรถไฟฟ้าที่แม้แต่กสทช.ก็ยังไม่มีข้อมูลทั้งสถานที่ติดตั้งจำนวนอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ใช้เป็นต้น

หนึ่งในความเห็นที่เสนอต่อกสทช.คือการให้แต่ละรายหาเทคโนโลยีที่สามารถกรองสัญญาณ แล้วดำเนินการติดตั้งเองโดยค่าใช้จ่ายให้นำมาเบิกกับกสทช.เพื่อไม่ให้ภาระทั้งหมดตกอยู่กับผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ทั้งที่เหตุการณ์รถไฟฟ้าประสบปัญหาที่ผ่านมาอาจไม่เกี่ยวข้องกับผู้ชนะการประมูลหรือผู้ชนะการประมูลไม่ได้เป็นต้นเหตุ

 

อุปกรณ์มีข้อจำกัด ปรับเปลี่ยนใหม่คือเริ่มนับใหม่

ขณะที่เงื่อนไขในการอนุญาตข้อ 17 กสทช.ได้สงวนสิทธิ์ที่จะปรับเปลี่ยนช่วงการใช้คลื่นความถี่เป็นช่วง 885-890/930-935 MHz ในกรณีที่จำเป็น โดยผู้ชนะการประมูลจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการป้องกันการรบกวนคลื่นความถี่ซึ่งในกรณี จะต้องติดตั้งวงจรกรองสัญญาณ (Filter) ณ สถานีฐานของผู้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHzเพิ่มเติมจากที่ต้องดำเนินการในกรณีแรกตามเงื่อนไขข้อ 16

20180717_150727

จากการอธิบายของนายราจีฟชี้ว่า หากผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ 900MHz ได้ดำเนินการตามข้อกำหนดเงื่อนไขในการอนุญาตข้อ 16 เสร็จสิ้นแล้ว แต่ยังพบปัญหาจากสัญญาณรบกวน กสทช.สามารถออกคำสั่งปรับเปลี่ยนช่วงการใช้คลื่นความถี่ของผู้ชนะการประมูลได้ ซึ่งในความเป็นจริงตามที่นายราจีฟอธิบายคือ อุปกรณ์วงจรกรองสัญญาณ (Filter) จะต้องมีความเชื่อมโยงกับช่วงการใช้คลื่นความถี่ หากมีการปรับเปลี่ยนย่อมหมายถึงการเริ่มติดตั้งอุปกรณ์วงจรกรองสัญญาณ (Filter) ใหม่ ขณะที่อุปกรณ์วงจรกรองสัญญาณ (Filter) ในช่วงการใช้คลื่นความถี่เดิมจะไม่สามารถใช้งานได้ ภาษาชาวบ้านง่ายๆ คือใช้ไม่ได้ต้องทิ้งอย่างเดียว

ซึ่งนายราจีฟชี้ว่า นอกจากจะเป็นใช้เงินลงทุนที่มหาศาลแล้ว ยังอาจส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการอีกด้วย นอกจากนี้ในเงื่อนไขในการอนุญาตข้อ 18 มีความใกล้เคียงกับข้อ 17 นั่นจึงทำให้เกิดปัญหาในลักษณะใกล้เคียงกัน โดยทั้งหมดผู้ชนะการประมูลต้องเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว

 

dtac เผยแผนรับมือคลื่นความถี่ 850 MHz ดับ

นอกจากนนี้นายราจีฟ ยังได้พูดถึงวิธีการดำเนินการหากคลื่นความถี่ 850MHz ที่ให้บริการอยู่หมดสัมปทานลงว่า เรื่องนี้มีตัวแปรสำคัญที่สุดคือ การชนะการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz เนื่องจาก กสทช.ได้ Refarming  คลื่นความถี่ 850 MHz และปรับใหม่ให้เป็นคลื่นความถี่ 900 MHz นั่นจึงทำให้จะไม่มีการใช้คลื่นความถี่ 850MHz อีกต่อไป และหมายความว่าผู้ที่ใช้คลื่นความถี่ 850 MHz ของ dtac จะไม่สามารถใช้งานได้

โดย dtac ได้เตรียมดำเนินการแจ้ง กสทช.ในการยังคงใช้งานคลื่นความถี่ 850 MHz ชั่วคราวเป็นระยะเวลา 24 เดือน ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวจะเป็นช่วงที่ dtac ทำการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ทั้งหมดเพื่อให้สามารถรองรับการใช้คลื่นความถี่ 900 MHz ทั้งนี้ dtac จะทะยอยปรับระบบในแต่ละพื้นที่ที่มีความพร้อมใช้ช่วงเวลาดังกล่าว

20180717_151206

เห็นได้ชัดแล้วว่า ผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ครั้งนี้มีภาระอะไรบ้างที่ไม่ใช่แค่เรื่องของการพัฒนาโครงข่าย แต่ยังต้องเสนอหน้าเข้าไปแก้ไขปัญหาให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าและคู่แข่งทางธุรกิจแบบชนิดที่เรียกว่า ลงทุนทำให้แบบฟรีๆ เมื่อการลงทุนสูงขึ้นย่อมหมายถึงการแสดงว่ากำไรเพื่อมาชดเชยการลงทุนเหล่านั้น และอาจส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคได้

ซึ่งงานนี้ก็ต้องมาดูว่า dtac ที่กำลังถวิลหาใบอนุญาตคลื่นความถี่ช่วงต่ำกว่า 2000 MHz จะตัดสินใจอย่างไร นี่คือหน้าประวัติศาสตร์ที่สำคัญของ dtac หากเลือกที่จะประมูล แน่นอนว่าย่อมต้องหวังการชนะเพื่อให้ลูกค้ายังคงได้รับการบริการต่อไป แต่นั่นก็หมายถึงการลงลทุนเพื่อคนอื่นอย่างมหาศาล ครั้นจะตัดสินใจไม่เข้าประมูล dtac ก็ต้องการวิธีในการโอนย้ายลูกค้าให้มาใช้งานบนคลื่นความถี่ 2100 MHz ที่ประมูลได้มาและคลื่นความถี่ 2300 MHz ที่เพิ่งไปร่วมกับ TOT มา

นอกจากนี้ก็ยังต้องดู กสทช.อีกว่าจะแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างไร เพราะกฎระเบียบนี้เป็นเสมือนกำแพงสูงและหนากับภาระที่ผู้ชนะการประมูลต้องแบกรับ ไม่ว่าผู้ชนะนั้นจะเป็น dtac หรือไม่ก็ตาม เพราะหากเป็นเช่นนั้นอาจไม่มีผู้เข้าร่วมประมูล ขณะที่การแก้เงื่อนไขในการอนุญาตเป็นไปได้ยาก เนื่องจากประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่ดูเหมือน กสทช.น่าจะมี Solution หรือทางออกของปัญหาไว้แล้ว


  • 53
  •  
  •  
  •  
  •  
Gigolo
เมื่อเทคโนโลยีอยู่ใกล้กับชีวิตทุกคน มารู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อใช้มัน แต่อย่าให้เทคโนโลยีมันใช้เรา