มาดูมหาเศรษฐีของไทยกัน ใครบ้างตอบจดหมายกลับนายกฯ พร้อมแผนมาตรการช่วยประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤติ COVID-19

  • 611
  •  
  •  
  •  
  •  

Billionaire

เป็นที่ทราบกันว่าประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีคนร่ำรวยติดอันดับโลกหลายคน และหากมองเฉพาะในประเทศไทยทรัพย์สินของมหาเศรษฐีเหล่านี้ เมื่อรวมกันแล้วมีมากกว่างบประมาณแผ่นดินหลายเท่า และในช่วงที่ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาวิกฤติ COVID-19 มหาเศรษฐีเหล่านี้ถือเป็นอาวุธลับที่สำคัญในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจซึ่งเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของ COVID-19

อย่างที่หลายคนรู้ว่า รัฐบาลมีการเชิญ 20 มหาเศรษฐีไทยแบบไม่เรียงลำดับ โดยเป็นมหาเศรษฐีในกลุ่มวิชาชีพและอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน และหลายคนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของสังคมไทย ซึ่งหลายท่านมีการดำเนินการความช่วยเหลือก่อนที่รัฐบาลจะมีการส่งจดหมายเชิญ มาดูกันว่ามหาเศรษฐีคนไหนทำอะไรไว้บ้างทั้งก่อนและหลังได้รับจดหมายเชิญจากรัฐบาล

 

– ธนินท์ เจียรวนนท์ ผู้ก่อตั้งเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP)

โดยกลุ่ม CP ได้ดำเนินการก่อสร้างโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยให้บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนด้วยงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท พร้อมมอบชุดคลุมป้องกันเชื้อชนิดคลุมทั้งตัว 2,000 ชุด และหน้ากาก Face Shield อีก 40,000 ชิ้นให้โรงพยาบาลจุฬาฯ และโรงพยาบาลที่ขาดแคลน รวมเป็นเงินกว่า 30 ล้านบาท และงบใการผลิตหน้ากากอีก 75 ล้านบาท

ธนินท์
ธนินท์ เจียรวนนท์
Photo Credit: ThaiPublica

ยอกจากนี้ยังมีบริษัทในเครือร่วมช่วยเหลืออย่าง CPF สนับสนุนงบฯ 200 ล้านบาท ส่งอาหารให้โรงพยาบาลรัฐ 88 แห่งทั่วประเทศทุกวันต่อเนื่องไปยังครอบครัวแพทย์-พยาบาล, CPAll ผู้บริหารร้านสะดวกซื้อ 7-ELEVEN มอบเงิน 77 ล้านบาท เพื่อซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ให้ 77 โรงพยาบาล และมอบชุด PPE 10,000 ชุดให้ 5 โรงพยาบาลรวมงบประมาณทั้งสิ้น 176.6 ล้านบาท, ขณะที่ MAKRO ประกาศรับซื้อผลไม้เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่เดือดร้อนจากภัย COVID-19

กลุ่มทรู ติดตั้งโครงข่าย 5G ให้โรงพยาบาล และมอบซิมฮีโร่ให้บุคลากรทางการแพทย์ และยังร่วมกับคณะวิศวะจุฬาฯ-สตาร์ทอัป HG Robotics และ Obodroid ติดตั้งหุ่นยนต์ขนส่งอัจฉริยะช่วยทีมแพทย์ทำงานในโรงพยาบาลต่างๆ เช่น โรงพบาบาลจุฬาฯ โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลรามาจักรีนฤบดินทร์ โรงพยาบาลสนามวชิระภูเก็ต รวมงบประมาณกว่า 120 ล้านบาท

หากรวมงบประมาณทั้งสิ้น CP ใช้ไปแล้วกว่า 700 ล้านบาทเพื่อช่วยเหลือในช่วงสถานการณ์ COVID-19 โดยยังมีโครงการต่อเนื่องเพิ่มเติมตามมาอีกภายหลัง

 

– เฉลิม อยู่วิทยา และครอบครัวอยู่วิทยา

โดยก่อนหน้านี้ตระกูลอยู่วิทยาได้มอบเครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติเพื่อตรวจหาเชื้อ Coronavirus มูลค่า 70 ล้านบาท ให้โรงพยาบาลจุฬาฯ และมอบหน้ากากผ้าทางเลือกอีก 120,000 ชิ้นให้บุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลจุฬาฯ รวมถึงโรงพยาบาลที่ขาดแคลนทั่วประเทศ และแจกจ่ายให้ประชาชนทั่วไป และยังไม่มีแผนการปรับลดพนักงานลง

Chalerm
เฉลิม อยู่วิทยา
Photo Credit: สยามรัฐ

โดยหลังจากได้รับจดหมายเชิญจากรัฐบาล ตระกูลอยู่วิทยาได้เสนอแผนงบ 300 ล้านบาทช่วง 3 ปีแรก เพื่อช่วยเหลือประชาชนผ่านโครงการ “พึ่งตน พึ่งชาติ” โดยเป็นโครงการที่ช่วยสอนให้รู้จักเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถสร้างแหล่งอาหารเพื่อดูแลครอบครัว โดยตั้งเป้าไว้ 1 ล้านคนพร้อมสนับสนุนที่ดินว่างเปล่าของตระกูลเพื่อใช้เป็นต้นทุนการเรียนรู้

 

– ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ผู้ก่อตั้งบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)

หนึ้งในมหาเศรษฐ๊ของไทยที่มีการตอบรับคำเชิญจากรัฐบาล โดยพร้อมให้ความช่วยเหลือแก่แพทย์สภาและกระทรวงสาธารณสุขในวิกฤติ COVID-19 พร้อมช่วยรัฐบาลแก้ไขปัญหาภัยแล้งขาดแคลนน้ำ โดยตั้งงบประมาณไว้กว่า 100 ล้านบาทในการขุดเจาะน้ำบาดาล รวมถึงการนำเครื่องบินรับส่งบุคลากรทางการแพทย์จำนวนมาก เพื่อเดินทางไปรักษาคนไข้ติดเชื้อในจังหวัดต่างๆ

Prasert
ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ
Photo Credit: ฐานเศรษฐกิจ

 

– เพชร โอสถานุเคราะห์ ประธานคณะกรรมการ บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน)

ที่ผ่านมา ทางมูลนิธิโอสถานุเคราะห์ได้มีการบริจาคเงิน 10 ล้านบาท เพื่อสมทบทุนสนับสนุนการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 แก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และนอกจากนี้ “โอสถสภา” ได้ร่วมบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนมาโดยตลอด ทั้งการส่งมอบผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังได้จัดสรรงบ 100 ล้านบาท ทำโครงการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยโครงการดังกล่าวยังอยู่ในขั้นการวางแผน

เพชร
เพชร โอสถานุเคราะห์
Photo Credit: Mitihoon

 

– อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์

โดยกลุ่ม คิง เพาเวอร์ ได้ตอบรับคำเชิญของรัฐบาล ด้วยการเสนอแนวความคิดแก้ปัญหาวิกฤติประเทศ ตั้งงบ 1,500 ล้านบาท ผ่าน 4 โครงการ ทั้งการไม่มีนโยบายในการลดจำนวนพนักงาน และการบริจาคผ่าน มูลนิธิวิชัย ศรีวัฒนประภา รวม 45 ล้านบาทให้ 3 หน่วยงานทางการแพทย์ ทั้งกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขจำนวน 5 ล้านบาท, สถาบันบำราศนราดูร 20 ล้านบาท และโรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ 20 ล้านบาท

อัยยวัฒน์
อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา

 

 

โครงการพัฒนาสังคมรวมกว่า 1,318.90 ล้านบาท โดยเป็นโครงการเพื่อสังคมในทุกมิติที่ได้ดำเนินไปแล้ว เช่น โครงการเพื่อสังคมด้านเยาวชน, โครงการด้านสังคมและเศรษฐกิจชุมชน เป็นต้น โครงการเพื่อสังคมทั้งที่ดำเนินการต่อเนื่องและที่เป็นโครงการใหม่ โโยรวมทุกโครงการมีการใช้งบไม่น้อยกว่า 1,400 ล้านบาท และโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

 

– ชูชาติ เพ็ชรอำไพ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.เมืองไทยแคปปิตอล

ก่อนหน้านี้มีการบริจาคเงิน 60 ล้านบาทให้ 7 โรงพยาบาลเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ ทั้งโรงพยาบาลจุฬาฯ, โรงพยาบาลศิริราช, โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, โรงพยาบาลรามาธิบดี, สถาบันบำราศนราดูร, โรงพยาบาลราชวิถี, โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ รวมถึงการแจกถุงยังชีพให้ประชาชน จำนวน 200,000 ถุง ส่วนความช่วยเหลือที่รัฐบาลเชิญมานั้น กำลังอยู่ระหว่างการหารือถึงมาตรการต่างๆ ที่จะช่วยเหลือประชาชน

ชูชาติ
ชูชาติ เพ็ชรอำไพ
Photo Credit: ประชาชาติ

 

– คีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง

โดยก่อนหน้านั้นมีการมอบเงิน 60 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนโครงการ “นักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19” ด้วยการทำประกันชีวิตให้บุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศ ส่วนมาตรการตอบรับคำเชิญจากรัฐบาลกำลังอยู่ระหว่างรวบรวมรายละเอียดโครงการที่จะนำเสนอมาตรการหรือแผนงาน เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนคาดว่าจะมีโครงการช่วยเหลือในหลากหลายรูปแบบ

คีรี
คีรี กาญจนพาสน์
Photo Credit: ประชาชาติ

 

– ประยุทธ มหากิจศิริ ประธานกรรมการกลุ่มบริษัท พีเอ็มส์ กรุ๊ป จำกัด

หนึ่งในมหาเศรษฐีที่มีการตอบกลับรัฐบาล โดยมีการตั้งงบประมาณไว้ 150 ล้านบาท ภายใต้ 5 โครงการ ทั้งการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในจังหวัดลำพูน ตลอดระยะเวลา 6 เดือน การเข้าร่วมวิจัยกับเกษตรกรในท้องที่เพื่อพัฒนาคุณภาพและจำนวนของผลผลิตให้มากขึ้น การเปิดพื้นที่สร้างตลาดเพื่อให้เกษตรกรนำสินค้ามาขายช่วยสร้างรายได้ การนำแพลตฟอร์ม 411estore.com ช่วยเพิ่มช่องทางการขายเป็นระยะเวลา6 เดือน และการสนับสนุนผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อบุคลากรทางการแพทย์

ประยุทธ มหากิจศิริ
ประยุทธ มหากิจศิริ
Photo Credit: ประชาชาติ

 

– ฉัตรชัย แก้วบุตตา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มศรีสวัสดิ์

เป็นอีกหนึ่งมหาเศรษฐีที่มีการตอบรับคำเชิญของรัฐบาล โดยมีการเสนอมาตรการช่วยแก้หนี้นอกระบบ ด้วยการใช้สาขาของศรีสวัสดิ์ทั่วประเทศประมาณ 4,000 สาขาเป็นคลินิกแก้หนี้นอกระบบ โดยเชื่อว่ามีประชาชนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการหยุดงานหรือเลิกจ้างในช่วงนี้ มีจำนวนมากที่กำลังเผชิญกับปัญหาหนี้นอกระบบ ดังนั้นทางกลุ่มจึงเห็นว่าการเข้าไปช่วยแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ จะเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยแบ่งเบาภาระให้กับภาครัฐและดูแลประชาชนในช่วงวิกฤตินี้

ฉัตรชัย
ฉัตรชัย แก้วบุตตา
Photo Credit: ประชาชาติ

นอกจากนี้ยังมีมหาเศรษฐีอีกหลายท่านที่ได้รับจดหมายเชิญจากรัฐบาล แม้จะยังไม่มีการตอบรับกลับมา แต่มหาเศรษฐีหลายท่านก็มีการดำเนินการช่วยเหลือบ้างแล้ว เช่น ไทยเบฟ มีการมอบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากแอลกอฮอล์ให้สภากาชาดไทยและศูนย์ปฏิบัติการ 76 จังหวัดทั่วประเทศ ขณะที่ โออิชิกรุ๊ปบริษัทในเครือไทยเบฟ บริจาคเงิน อาหาร เครื่องดื่ม รวม 24 ล้านบาทผ่านสภากาชาติไทยให้ 7 โรงพยาบาล

ตระกูลจิราธิวัฒน์ บริจาคเงินและอุปกรณ์ทางการแพทย์กว่า 30 ล้านบาทให้โรงพยาบาล 20 แห่งทั่วประเทศ ส่วน เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล กรุ๊ป มอบอุปกรณ์ทางการแพทย์และอาหารให้โรงพยาบาลศิริราช รวมถึงมีการจัดทำหน้ากาก Face Shield จำนวน 60,000 ชิ้น ให้กับโรงพยาบาลและสถานพยาบาลกว่า 40 แห่งทั่วประเทศ ส่วนโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ สนับสนุนห้องพักให้ผู้บริหารและอาจารย์แพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยทั่วไปของโรงพยาบาลตำรวจเข้าพักฟรี

Somphod
คุณสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA

และ บริษัท พลังงงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ร่วมกับพันธมิตรในการผลิตแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” พร้อมทั้งสนับสุนนเงินทุนทำประกันการแพทย์ 50,000 กรมธรรม์ เป็นต้น

 

Source: ThaiPublica, ฐานเศรษฐกิจ


  • 611
  •  
  •  
  •  
  •  
Gigolo
เมื่อเทคโนโลยีอยู่ใกล้กับชีวิตทุกคน มารู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อใช้มัน แต่อย่าให้เทคโนโลยีมันใช้เรา
CLOSE
CLOSE