4 ความเชื่อที่อาจไม่จริงในการช็อปปิ้งออนไลน์

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

ecommerce-iphone-techinasia

โลกปัจจุบัน E-Commerce ยกระดับขึ้นมาเป็นหัวใจหลักของหลายธุรกิจไปเสียแล้ว ทำให้ปัจจุบันลูกค้าหลายคนหนีขึ้นไปช็อปปิ้งให้เจริญใจบนออนไลน์แทนออฟไลน์กันแล้ว

แต่บางครั้ง การช็อปปิ้งออนไลน์ก็มีความเสี่ยงหลายอย่างที่ต้องระวัง อย่าเชื่อสิ่งที่คนอื่นพูดเพราะมันอาจเป็นเพราะพวกเขาอยากขายของคุณหรืออยากโกงคุณก็เป็นได้

1.เชื่อถือรีวิวบนโซเชียลมีเดียสิ

โซเชียลมีเดียส่วนใหญ่เป็นแหล่งติดต่อระหว่างเพื่อนกับเพื่อนหรือแฟนคลับกับอินฟลูเอนเซอร์ ลูกค้าส่วนใหญ่ไม่เข้าหาบริษัทหรอกนอกจากจะอยากบ่นอะไร ดังนั้นรีวิวด้านบวกบนโซเชียลหลายครั้งมักเป็นสิ่งที่พวกเซลล์เป็นคนเขียนขึ้นมาเองเพื่อล่อลูกค้าให้ซื้อสินค้า ยิ่งในยุคที่การปลอมไอดีทำกันแพร่สะพัดแบบนี้ คุณยังหวังหาความจริงจากโซเชียลมีเดียอยู่อีกเหรอ

ด้านผู้ใช้ พวกเขาก็จะเชื่อถือแต่รีวิวที่อยู่ในกลุ่มเว็บบอร์ดหรือพื้นที่ของตัวเอง มากกว่านั้นหากมีคอมมิวนิตี้เข้มแข็ง พวกเขาอาจเลือกเชื่อ “บุคคล” หรือชื่อยูสเซอร์ที่พวกเขาไว้ใจอีกด้วย ดังนั้น การจะเนียนเข้าไปรีวิวสินค้าตัวเองดีไม่ดีอาจโดนจับได้และกลายเป็นดราม่าออนไลน์ก็เป็นได้นะ

2. เชื่อถือเว็บไซต์ที่ทุกคนแนะนำมาสิ

ลูกค้าไม่กี่คนหรอกที่รู้กลไกการป้องกันข้อมูลของเว็บไซต์เป็นอย่างดี เว็บไซต์หลายอันนั้นมีการแฮคข้อมูลและขโมยไอดีกันเป็นว่าเล่น หรือร้ายกว่านั้นมันอาจลิงค์ออนไลน์ให้ใครสักคนบังคับคอมฯ คุณได้จากระยะไกล

ส่วนสแกมปกติที่เจอกันบน ecommerce คือสแกมที่จะแอบเก็บรหัสการซื้อของคุณในการซื้อครั้งแรกจากนั้นก็ซื้อสินค้าซ้ำๆ กันหลายครั้งโดยที่คุณไม่ได้สั่งในเวลาต่อมา ทางแก้ง่ายๆ ที่อาจไม่ปลอดภัย 100% แต่ก็พอได้คือลองเสิร์จ Google, Amazon หรือร้านค้าชื่อดังเพื่อหาว่าผู้ขายคนไหนมีความน่าเชื่อถือ

3.ลองเปรียบเทียบราคากับหลายๆ เจ้าดูสิ

อย่าเสียดายตังค์ไม่กี่บาทแลกกับความปลอดภัยและการโดนแฮคเลยดีกว่า หลายครั้งสินค้าบน ecommerce ราคาค่อนข้างถูกอยู่แล้ว ดังนั้น ยอมเสียเงินแพงกว่าเจ้าอื่นแต่ได้ความปลอดภัยและความอุ่นใจก็ถือเป็นการจ่ายเงินที่คุ้มค่า แบรนด์ที่เชื่อถือได้เช่น Amazon จะมีนโยบายคืนสินค้าและป้องกันข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้จากผู้ขายที่ไม่ซื่อสัตย์ นอกจากนี้หลายแบรนด์ยังมีระบบเรตติ้งซึ่งส่งผลต่อผลลัพธ์ของการหาผู้ขายอีกด้วย

4.บราวเซอร์ของคุณปลอดภัยมากๆ

แม้เราจะเชื่อถือบราวเซอร์ของเราอย่าง Chrome, Safari หรือ Firefox แต่จำไว้ว่าไม่มีความปลอดภัยที่แท้จริงบนโลกอินเตอร์เน็ต ดังนั้นเมื่อถูกถามไอดีหรือพาสเวิร์ดต้องตั้งสติและคิดถึงความน่าเชื่อถือของเว็บนั้นทันที

การป้องกันตัวเบื้องต้นคืออย่าให้ไอดีและพาสเวิร์ดถ้าไม่จำเป็นจริงๆ สองคือสร้างไอดีแยกสำหรับเว็บไซต์แต่ล่ะแห่ง การใช้พาสเวิร์ดเดียวกันแต่ต่างไอดีจะทำให้การล็อกอินสะดวกขึ้น

นอกจากนี้หากคุณยังไม่มั่นใจอีกก็ลองใช้ Virtual Private Networks ที่ต้องจ่ายเงินเพื่อเปลี่ยน IP address หรือสถานที่ใช้ขณะที่คุณเข้าสู่เว็บไซต์ นั้นก็จะทำให้การเจาะข้อมูลยากขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง

Source


  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
อุ้งทีนหมี
เตาะแตะในโรงเรียนชายล้วนแถวยศเส ก่อนเติบโตต่อในมหาวิทยาลัยริมฝั่งน้ำเจ้าพระยา ที่สุดจับพลัดจับผลูเข้าทำงานในนแวดวงสื่อสารมวลชนมาแล้วกว่า 4 ปี โต้ลมโต้ฝนทั้งในวงการข่าวต่างประเทศ เยาวชน ธุรกิจ การเมือง สังคม ฯลฯ แต่สุดท้ายกลับลำมาหลงรักวงการมาร์เก็ตติ้งที่ข้ามน้ำข้ามทะเลไปขี่จิงโจ้เรียนปริญญาโทมา เลยตัดสินใจหันหางเสือออกสู่การผจญภัยครั้งใหม่อีกสักตั้ง