มากกว่าอีคอมเมิร์ซ JD.com กับ E-Lending บริการสินเชื่อผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ และการบริหารความเสี่ยง

  • 17
  •  
  •  
  •  
  •  

อีกหนึ่งเรื่องราวจากการร่วมทริปกับทาง JD.com เพื่อเยี่ยมชมสำนักงาน JD ที่กรุงปักกิ่ง  นอกจากจะได้สัมผัสนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ของ JD แล้ว ยังได้ทราบอีกด้วยว่า JD ได้ก้าวเข้าสู่ นวัตกรรมทางการเงิน (Fintech) และ e-Banking Solution ผ่านการใช้เทคโนโลยีที่ผสมผสานทั้ง AI, IoT, Big Data, OS, edge computing, ชิปประมวลผลต่างๆ และเครือข่าย 5G เข้าด้วยกัน อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งในจีน ในต่างประเทศ และที่สำคัญวันนี้พร้อมแล้วสำหรับประเทศไทย  และ E-Lending ยังเป็นอีกหนึ่งบริการที่ประสบความสำเร็จของ JD.com

มากกว่าอีคอมเมิร์ซ JD.com กับ E-Lending บริการสินเชื่อผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ และการบริหารความเสี่ยง
มากกว่าอีคอมเมิร์ซ JD.com กับ E-Lending บริการสินเชื่อผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ และการบริหารความเสี่ยง

 

E-Lending หนึ่งในเทรนด์ด้านนวัตกรรมทางการเงินของโลก

E-Lending หรือ บริการสินเชื่อผ่านช่องทางออนไลน์ กำลังเป็นที่สนใจในกลุ่มธนาคาร และผู้ให้บริการด้านการเงินผ่านระบบดิจทัล   สำหรบ JD.com ซึ่งในจีน JD ถือเป็นหนึ่งในผู้นำด้านนวัตกรรมทางการเงิน (FinTech) ที่ให้บริการ E-Lending มาระยะหนึ่งจนประสบความสำเร็จแล้ว โดยให้ “บริการปล่อยสินเชื่อผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่แข็งแกร่งของ JD.com”  โดยให้สินเชื่อระยะเวลาสั้น เช่น 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน และ 12 เดือน ผ่านการวิเคราะห์การทำงานของดาต้า พฤติกรรม และการซื้อสินค้าบน JD.com จนสร้างรายได้จากการปล่อยสินเชื่อนี้แล้วถึง 100 ล้านหยวน หรือประมาณ 430 ล้านบาท  เรียกได้ว่าสมาชิกที่เป็นลูกค้าของ JD.com ในวันนี้ ได้ใช้บริการผ่อนชำระสินค้า และกู้เงินผ่านทาง JD.com กันแล้ว

การปล่อยสินเชื่อย่อมมาพร้อมความเสี่ยง

การวิเคราะห์ข้อมูลในโลกออนไลน์มีบทบาทสำคัญในการยับยั้งการฉ้อโกง เนื่องจากในสถานการณ์จริง มีลูกค้าจำนวนมากที่ไม่ใช้ชื่อจริงหรือการยืนยันตัวตนจริง (เช่น เลขบัตรประชาชน) มาผูกกับบัญชีที่ใช้งานในโลกออนไลน์ โดยทาง JD ได้พบว่ามีบัญชีที่ใช้ข้อมูลปลอม สร้างขึ้นมาสำหรับการฉ้อโกงโดยเฉพาะ ราว 1.5 ล้านบัญชี  และที่ผ่านมายังสามารถจับกุมผู้กระทำผิดที่พยายามฉ้อโกงผ่านช่องทางออนไลน์ได้แล้วมากกว่า 500 ราย   ดังนั้นการบริหารความเสี่ยงจึงถือเป็นเรื่องที่ทาง JD ให้ความสำคัญอันดับต้นๆ และการบริหารความเสี่ยงนี้ยังคงต้องรักษาประสบการณ์ของลูกค้าให้ดีเยี่ยมเช่นเดิม

Fintech

JD.com กับการบริหารความเสี่ยง และการปล่อยสินเชื่อ (JDD Digital Risk Management)

ในเมื่อ JD Digits ไม่ได้ทำธุรกิจในฐานะธนาคาร และไม่ได้มองว่าตัวเองจะเป็นธนาคารในอนาคต  การบริหารความเสี่ยงนี้ JD จึงยังคงต้องทำงานร่วมกับสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อพัฒนาระบบสำหรับบริหารจัดการสินทรัพย์และสินเชื่อโดยละเอียด ตรวจสอบประวัติ เครดิต ภาระ การใช้จ่าย และการชำระหนี้ของลูกค้าตั้งแต่เริ่มต้น ก่อนปล่อยสินเชื่อ และหลังปล่อยสินเชื่อ  รวมถึงการร่วมกันบริหารความเสี่ยงเพื่อสร้างผลกำไร ซึ่งปัจจุบันระบบบริหารจัดการนี้มีสินทรัพย์รวมมูลค่าถึง 100,000 ล้านหยวนในระบบ (ประมาณ 430,000 ล้านบาท) ผ่านสมาชิกของ JD.com กว่า 600 ล้านสมาชิก

แต่แค่นั้นยังไม่พอ  JD Digits หรือ JDD บริษัทนวัตกรรมของ JD.com ยังได้นำเทคโนโลยี AI เข้ามาปรับใช้กับระบบบริหารจัดการสินทรัพย์แบบออนไลน์นี้ เพื่อรับมือกับรูปแบบของข้อมูลที่แตกต่างไปจากระบบเดิมๆ ทั้งยังทำงานร่วมกับพันธมิตรที่เป็นผู้รับผิดชอบด้านการจัดเก็บข้อมูล เพื่อเสริมการเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลต่างๆ ให้ลงตัว ปลอดภัย และได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง  จนขึ้นสู่เวอร์ชั่นที่ 10 แล้ว โดยสามารถเฝ้าสังเกตและวิเคราะห์ตัวแปรต่างๆ ในการจัดการความเสี่ยงได้ถึง 1.5 ล้านตัวแปร

ปัจจุบัน JD.com สามารถบริหารความเสี่ยงได้อย่างดี โดยมีระดับ NPL หรือหนี้คงค้าง ต่ำกว่า 0.1%

JD Risk management บริหารความเสี่ยง JD.com
JD Risk management บริหารความเสี่ยง JD.com

JD Risk management บริหารความเสี่ยง JD.com

ความท้าทายและความเสี่ยงที่ทาง JD.com ต้องเผชิญ

  • การบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับสินเชื่อระดับไมโครไฟแนนซ์เป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่สำคัญ เนื่องจากสินเชื่อประเภทนี้มีความเสี่ยงสูงเป็นพิเศษ และมีลูกค้าจำนวนมากที่มีสภาพคล่องไม่เพียงพอหรือเหมาะสมต่อการยื่นขอสินเชื่อใดๆ เพิ่มเติม
  • ระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงแบบเดิมๆ ยังไม่สามารถปรับตัวมารองรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภครุ่นใหม่ได้ จึงทำให้ทุกฝ่ายต้องลงทุนพัฒนามาตรการใหม่ๆ มารับมือ โดยมีเทคโนโลยีของ JD Digits เป็นองค์ประกอบสำคัญ

 

“JD Intelligent Voice” หรือระบบ “ยืนยันตัวตน” และ “การทวงหนี้อัตโนมัติ” ผ่านเทคโนโลยี AI

JD Intelligent Voice สามารถติดต่อลูกค้าที่ยื่นขอสินเชื่อ เพื่อขอให้ยืนยันตัวตนตามข้อมูลที่ให้ไว้กับระบบ และแจ้งยืนยันเจตจำนงค์ในการยื่นขอสินเชื่อดังกล่าว ซึ่งระบบ AI นี้จะติดต่อไปยังลูกค้าในเวลาเพียง 5-7 นาที หลังเกิดการยื่นขอสินเชื่อ และยังมีความอัจฉริยะในการทวงหนี้ได้อีกด้วย ซึ่งทาง JD ได้สาธิตให้ชม ถึงเป็นการใช้ AI ทวงหนี้ผ่านทางโทรศัพท์ ให้ดู

โดยระบบ AI นี้ จะโทรศัพท์ถึงลูกค้า เพื่อแจ้งยอดค้างชำระ และเตือนใช้ชำระเงิน หากลูกค้าอ้างว่ายังไม่สามารถชำระได้ เจ้า AI นี้ก็จะแจ้งถึงบอกเบี้ยที่อาจจะเกิดขึ้น หากพ้นกำหนดชำระเงินด้วยเช่นกัน

“JD Intelligent Voice” หรือระบบ “ยืนยันตัวตน” และ “การทวงหนี้อัตโนมัติ” ผ่านเทคโนโลยี AI

มีคำถามระหว่างการสาธิตว่า หากลูกค้าเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ล่ะ หรือให้โทรศัพท์ที่ให้ไม่มีอยู่แล้ว ทาง JD จะทำอย่างไร?   ในกรณีที่หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อของลูกค้าไม่ตรงกับหมายเลขที่บันทึกไว้ในบัญชีผู้ใช้ หรือมีการเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์   JD Digits จะประสานงานกับแหล่งข้อมูลอื่นๆ เช่นฐานข้อมูลหลักจากฝั่งอีคอมเมิร์ซของ JD.com หรือหากจำเป็น ก็อาจต้องขออนุญาตเข้าถึงข้อมูลจากบริษัทโทรคมนาคม เพื่อตรวจสอบหาเบอร์โทรศัพท์ของลูกหนี้ และติดตามทวงหนี้ต่อไป

 

สรุปในภาพรวม คือ JD.com มีบริการให้สินเชื่อผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของ JD.com  ผ่านการบริหารความเสี่ยงที่ทาง JD ให้ความสำคัญ และทำได้อย่างดี  ซึ่งพันธมิตรธุรกิจข้ามชาติสามารถนำนวัตกรรมนี้ไปให้บริการในสถาบันการเงินของตน  ซึ่ง JD Digits มีแผนที่จะขยายระบบนี้เข้าสู่ด้านอื่นๆ ในอุตสาหกรรมการเงินธนาคารให้กว้างขวางขึ้นในอนาคต

 

บทความเพิ่มเติม

เปิดประสบการณ์ 3 ร้านค้าอัจฉริยะจาก JD.com ที่คนจีนใช้กันจนเฉยๆ แต่เรางี้ ตื่นเต้น

เปิด 6 นวัตกรรมหุ่นยนต์แห่งอนาคตของธุรกิจ ส่งตรงจาก JD.com ปักกิ่ง

เขียนโดย ณธิดา รัฐธนาวุฒิ
ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ MarketingOops.com กับประสบการณ์การทำงานในแวดวง Digital มากกว่า 15 ปี ในธุรกิจคอนเทนท์ ธุรกิจออนไลน์ และการตลาดดิจิทัล

อ่านบทความ Exclusive Insider เพิ่มเติมได้ที่นี่

บทความ Exclusive นี้เผยแพร่บน Marketing Oops! เป็นที่แรก

Copyright© MarketingOops.com


  • 17
  •  
  •  
  •  
  •  
Tukko Nathida
ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ MarketingOops.com กับความตั้งใจในการนำเสนอเนื้อหาที่ทันเหตุการณ์ และเกิดประโยชน์ ให้สามารถนำเนื้อหาความรู้ และ Insight ไปต่อยอดกับอนาคตของธุรกิจ และการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยี ครีเอทีฟ การตลาด โฆษณา และสตาร์ทอัพ