อุตสาหกรรมยา จากสถานการณ์ COVID-19 ธุรกิจจะเปลี่ยนทิศทางไปทางไหน พบทางออกและพลิกธุรกิจก้าวไกลสู่ระดับโลก ตอนที่ 2

  • 1.8K
  •  
  •  
  •  
  •  

จากบทสัมภาษณ์ อุตสาหกรรมยา จากสถานการณ์ COVID-19 ธุรกิจจะเปลี่ยนทิศทางไปทางไหน พบทางออกและพลิกธุรกิจก้าวไกลสู่ระดับโลก ตอนที่ 1 ถึงผลกระทบและทางออกจากสถานการณ์ COVID-19 และการนำพาอุตสาหกรรมยาให้อยู่รอด และก้าวสู่ระดับโลกได้ ทำให้เราได้เห็นมุมมองของผู้บริหารสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ หรือ พรีม่า ทั้ง 3 ท่าน ว่ามีมุมมองอย่างไรต่อวิกฤตไวรัสโคโรนา และได้เรียนรู้และรับมือกับวิกฤตนี้อย่างไร

บทความนี้เป็นบทสัมภาษณ์ต่อจากตอนที่ 1 เป็นการต่อยอดการเรียนรู้การใช้กลยุทธ์ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม และหลักการอะไรบ้างในการแก้ปัญหาครั้งนี้

บทเรียนที่ได้จากวิกฤตไวรัสโคโรนามีอะไรบ้าง?

คุณเควิน: ผมขอสรุปสั้นๆ สำหรับบทเรียนที่เราได้เรียนรู้คือ การทำงานเป็นทีม (Teamwork) ความสามารถในการปรับตัวอย่างรวดเร็ว (Speed) และการแบ่งปันเพื่อทำงานร่วมกัน (Sharing) ซึ่งบทเรียนทั้งสามนี้นับเป็นกลยุทธ์ที่จะช่วยให้เราฝ่าวิกฤตนี้ไปได้ เราได้เห็นการทำงานเป็นทีม การให้ความร่วมมือกันในระดับประเทศ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ ระหว่างกันในหลายองค์กร โดยมีเป้าหมายร่วมกันเพื่อคิดค้นพัฒนายาและวัคซีนสำหรับ COVID-19 ให้รุดหน้าไปอย่างรวดเร็วในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน  ในขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมยาก็ได้ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในประเทศต่างๆ เพื่อวางแผนกำลังการผลิตและจัดส่งยาและวัคซีนให้ทั่วถึงประชากรทั่วโลก สิ่งเหล่านี้คือบทเรียนที่มีคุณค่าที่เราได้เรียนรู้ในยามวิกฤตนี้และพิสูจน์ให้เห็นถึงคุณค่าของระบบสาธารณสุขนี้ในอนาคต

“เราปรับตัวโดยมุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรม (Innovation) และการประยุกต์ใช้ Digital Driven Business” — คุณเควิน ปีเตอร์ รองประธานสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีม่า)

คุณบอยด์: นวัตกรรมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมยา ซึ่งไวรัสโคโรนายิ่งทำให้เราเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่านวัตกรรมเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก นวัตกรรมยาจะช่วยผลักดันให้ความสามารถของประเทศและโลกสามารถก้าวไปข้างหน้า ตัวอย่างเช่นวัคซีนที่จะช่วยปกป้องคนจากไวรัสโคโรนา การพัฒนาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพได้กลายเป็นสิ่งที่ทั่วโลกได้ให้ความสำคัญเป็นอันดับที่ 1 ซึ่งในอุตสาหกรรมยาได้มีแหล่งข้อมูลที่สำคัญของนวัตกรรมวัคซีน ซึ่งได้พัฒนาและมีประสบการณ์มามากกว่าทศวรรษ เนื่องด้วยข้อมูลเหล่านี้ ทำให้บริษัทยาต่างๆทั่วโลกเร่งพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์ของตัวเอง ยิ่งไปกว่านั้นเราได้แชร์เทคโนโลยีและข้อมูลซึ่งจะช่วยสนับสนุนการผลิตผลิตภัณฑ์นวัตกรรมในระดับสากล ความล้ำหน้าที่ผ่านมาไม่นานนี้ได้เกิดขึ้นผ่านระบบและขั้นตอนในอุตสาหกรรมของเราแล้ว ซึ่งตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาวัคซีนและยาที่เร็วและมีประสิทธิภาพ

“ไวรัสโคโรนายิ่งทำให้เราเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่านวัตกรรมเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก” —- คุณบอยด์ จงไพศาล ประธานสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีม่า)

ดร.อาร์มิน: บทเรียนสำคัญจากวิกฤตในครั้งนี้คือ คุณค่าของนวัตกรรม (Value of Innovation), คุณค่าของการร่วมมือกัน (Value of Partnership), และคุณค่าของพลังและความไว้ใจ (Value about Ability and Trust)  เราสนับสนุนนวัตกรรมต่างๆ ให้กับบุคลากรทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง และให้ความร่วมมือเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาในการดูแลคนไข้ เรายังได้เห็นศักยภาพของคนในการสร้างมุมมองใหม่ (Mindset) ที่ทรงพลัง ทำให้การขับเคลื่อนองค์กรเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งเราจะทำไม่ได้เลยถ้าเราไม่เชื่อใจซึ่งกันและกัน และผมได้เห็นแล้วว่า พนักงานของเราทุกคนมีศักยภาพที่จะทำให้องค์กรเติบโตได้  สำหรับวิกฤตครั้งนี้ในระยะสั้นเราอาจจะเห็นแต่อุปสรรคเกิดขึ้นเต็มไปหมด แต่การขับเคลื่อนด้วยกลยุทธ์ทั้ง 3 อย่างนี้ของเรา จะทำให้เราเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส เพื่อสร้างให้เราอยู่รอดได้อย่างยืนยาว

“สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากวิกฤตในครั้งนี้คือ คุณค่าของนวัตกรรม คุณค่าของการสร้างความร่วมมือกัน และ คุณค่าของความไว้ใจในวัฒนาธรรมขององค์กร” — ดร.อาร์มิน เวสเลอร์ รองประธานสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีม่า)

อุตสาหกรรมยา เป็นอุตสาหกรรมที่พึ่งพารูปแบบของกลยุทธ์การติดต่อทางตรงกับลูกค้า หรือ Direct Sales โดยผ่านผู้แทนยา หรือ Medical Representative ที่ส่งมอบความรู้และข้อมูลวิชาการไปสู่บุคลากรทางการแพทย์ ในระหว่างที่มีการใช้มาตรการระยะห่างทางสังคม ธุรกิจมีการปรับตัวอย่างไร?

คุณเควิน: เราปรับตัวโดยใช้นวัตกรรม (Innovation) และการเคลื่อนเข้าสู่กลยุทธ์ด้านดิจิทัล (Digital Strategy)  ในการขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้า รูปแบบในการดำเนินธุรกิจของเราได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงการพัฒนานวัตกรรม โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนายานวัตกรรมและวัคซีนเป็นหลัก ปัจจุบันเรากำลังมองหาวิธีใหม่ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับยาเหล่านั้นและการศึกษาเกี่ยวกับความก้าวหน้าของรักษาให้บุคคลากรการแพทย์ด้วยวิธีการใหม่ๆ ที่แตกต่างจากวิธีแบบเดิม ซึ่งเป็นความท้าทายในช่วงวิกฤตของ COVID-19 ในช่วงการระบาดของโรค COVID-19 หลายๆ บริษัทได้จัดสัมมนาออนไลน์ โดยมีวิทยากรที่น่าเชื่อถือและมากความสามารถ มาให้ความรู้ผ่านระบบออนไลน์ทั่วประเทศซึ่งได้รับการตอบรับและให้คุณค่าอย่างมากมาย ยิ่งไปกว่านั้นเราตระหนักดีว่าจากการระบาดของเชื้อไวรัส ทำให้ผู้ป่วยหลายคนไม่อยากเข้าไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลและคลินิค หรือเดินทางออกจากบ้าน ดังนั้นความก้าวหน้าที่เราเห็นในการเข้ารับการรักษาจากระบบออนไลน์ (telemedicine) จึงเป็นทางเลือกที่สร้างความแตกต่างในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยและจะยังคงขยายตัวต่อไปแม้ว่าวิกฤตจะดีขึ้นก็ตาม ในอนาคตความก้าวหน้าต่างๆ เหล่านี้ จะมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงระบบการดูแลสุขภาพ เช่น บางประเทศได้เริ่มการส่งยาด้วยการใช้โดรน เป็นต้น ผลลัพท์จากการเกิดวิกฤต มักเป็นการก้าวหน้าครั้งใหญ่ ความท้าทายของเราที่คือการใช้โอกาสนี้เพื่อช่วยพัฒนาด้านการดูแลสุขภาพในประเทศไทย

ดร.อาร์มิน: ในวิกฤตครั้งนี้ เราได้เรียนรู้ว่า การให้ความสำคัญของการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่องของเราทำให้เราสามารถรับมือกับวิกฤตนี้ได้ เราจะเห็นว่า วัคซีนป้องกันไวรัสโคโรน่านั้นได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการเรียนรู้และนวัตกรรมการพัฒนาวัคซีนมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่บทเรียนของไวรัส MERS และ SARS ทำให้อุตสาหกรรมสามารถปรับตัวได้ไว และคุณค่าของการร่วมมือกันทั่วโลก ทำให้เราสามารถย่นระยะเวลาการพัฒนาวัคซีนได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีการแบ่งปันข้อมูลจากทั่วโลกทำให้การวิจัยและพัฒนารุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการวัฒนธรรมองค์กรที่สร้างความไว้วางใจกัน แม้ต้องทำงานห่างไกลกัน แต่การทำงานเป็นทีม และขวัญและกำลังใจของพนักงานกลับเหนี่ยวแน่และปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว และสร้างผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คุณบอยด์: ก่อนอื่นเรากลับมาดูที่กลยุทธ์ของเราก่อน กลุ่มเป้าหมายของการดำเนินงานของเราที่เราต้องสร้างคุณค่าให้กับพวกเขาคือ คนไข้ บุคลากรทางการแพทย์ และโรงพยาบาล สำหรับคนไข้มีสองประเด็นที่สำคัญคือ การเข้าถึงการรักษา และอีกประเด็นคือ การเข้าถึงยาที่ใช้รักษา ผมเชื่อว่าการพัฒนาการรักษาออนไลน์ Telehealth จะทำให้การรักษาของคนไข้เป็นไปอย่างต่อเนื่องได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดของอุตสาหกรรมยาคือ การส่งมอบนวัตกรรมให้ถึงมือคนไข้อย่างทัดเทียมกัน   ส่วนการเข้าถึงยาที่ใช้รักษานั้น เรายังคงให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพโลจิสติกส์ เพื่อให้คนไข้ได้รับยาที่ถูกต้องและในเวลาที่เหมาะสม นอกจากนี้เรามีการร่วมมือกับภาครัฐเพื่อสนับสนุนการส่งมอบยาไปยังโรงพยาบาลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สำหรับการรักษาปฏิสัมพันธ์กับบุคลากรทางการแพทย์ เราให้ความสำคัญกับการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมสำหรับใช้ในการสื่อสารองค์ความรู้ไปยังบุคลากรทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง เรานำเครื่องมือทางดิจิทัลต่างๆ มาใช้ สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่เราได้เรียนรู้คือ การเปิดกรอบการเรียนรู้ของเรา เราได้เรียนรู้จากข้อปฏิบัติที่ดี (Best Practice) จากการใช้ดิจิทัลในอุตสาหกรรมอื่นและนำมาปรับใช้กับเรา สิ่งหนึ่งที่ผมประทับใจมากคือ การปรับตัวที่รวดเร็วของเรา หลังจากเดือนมีนาคมที่มีการปิดเมือง ทำให้ทุกอย่างหยุดดำเนินการทั้งหมด เราใช้เวลาไม่นานในการเรียนรู้เครื่องมือใหม่ๆ ให้พนักงานเรียนรู้การสื่อสารผ่านทางดิจิทัลเพื่อที่จะติดต่อกับบุคลากรทางการแพทย์ได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนด้านโรงพยาบาล  ส่วนนี้เราให้ความสำคัญกับระบบบริหารห่วงโซ่อุปทานมากๆ แม้ว่าในยามวิกฤต ทำให้เราต้องแบกรับความเสี่ยงต่างๆ มากมาย รวมไปถึงต้นทุนที่สูงขึ้น แต่เรายังรักษาความสามารถในการสนับสนุนยาและนวัตกรรมต่างๆ ให้ถึงมือแพทย์ได้อย่างต่อเนื่องและกลยุทธ์ที่เป็นหัวใจสำคัญการปฏิรูปกิจที่ใช้ในการแก้ไขวิกฤตไวรัสโคโรนา

ทางผู้บริหารได้ทำงานกันอย่างหนักหน่วงเพื่อใช้แก้ไขปัญหาครั้งนี้ ส่วนวิธีการจะเป็นอย่างไร เรายังมีภาคต่อของบทความสัมภาษณ์นี้ รอติดตามกันต่อในตอนต่อไป

สามารถอ่านบทความอื่นได้ที่ http://www.prema.or.th/site/th/healthcare-post-covid-19-part-2-th/


  • 1.8K
  •  
  •  
  •  
  •  
CLOSE
CLOSE