สมัยตอนเศรษฐกิจตกต่ำเมื่อปี 2008 บริษัททั่วโลกต่างลดขนาดเลิกจ้างพนักงานไปหลายคน แค่ในอเมริกาก็ไล่พนักออกไป 8 ล้านคนแล้วในช่วงปี 2008 – 2010 ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น ก็ยังลดขนาดธุรกิจอย่างต่อเนื่องเพียงแค่อยากจะลดต้นทุนและปรับโครงสร้างในบริษัท ให้พนักงานที่ยังอยู่ได้ทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ยอดขายก็จะเพิ่มขึ้นด้วย
แต่การทำแบบนี้ช่วยให้ธุรกิจดีขึ้นจริงๆหรือ?
จากบทความวิจัยของ Harvard Business Review เราถึงรู้ว่าการทำแบบนั้นยิ่งจะทำให้ธุรกิจของคุณล้มไม่เป็นท่าด้วยซ้ำ! เพราะประสิทธิภาพและความสามารถของตัวพนักงานที่ยังอยู่ในบริษัทลดลงอย่างน่าตกใจ สร้างความเครียดให้พนักงาน ลูกค้าก็ไม่พอใจด้วย อย่างที่เห็นได้ชัดจากบริษัทดังๆอย่างเช่น Victoria’s Secret, Lowe’s หรือแม้แต่ PepsiCo. เป็นต้น
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Auburn University, Baylor University และ the University of Tennessee พยายามที่จะเข้าใจความเสียหายจากการลดขนาดของบริษัทในอเมริกาว่าทำให้บริษัทถึงขนาดล้มละลายเลยหรือไม่ จึงได้สำรวจข้อมูลของบริษัทมหาชนทั้ง 4,710 แห่งใน 83 อุตสาหกรรมที่ต่างกันในปี 2010 ว่าจะประกาศล้มละลายภายใน 5 ปีต่อมาหรือไม่ (ไม่รวมสถาบันทางการเงิน)
และก็พบว่ามีร้อยละ 24 ของบริษัททั้งหมดที่ลดกำลังแรงงานลงไปร้อยละ 3 อย่างต่ำรวมถึง Ford, Petmed Express และ Regal Cinemas ด้วย
และนี่คือเหตุผลที่การลดขนาดธุรกิจของคุณอาจเป็นการตัดสินใจที่ผิดมหันต์
1. บริษัทต้องเสียความรู้ที่มีคุณค่าซึ่งมีอยู่ในตัวพนักงานที่ถูกไล่ออกไป
2. พนักงานที่เหลืออยู่ต้องรับผิดชอบกับเนื้องานที่มากขึ้นจนไม่มีเวลาเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ
3. เสียความไว้เนื้อเชื่อใจในตัวพนักงานเก่าในการบริหารจัดการ การสร้างความรักความสัมพันธ์ระหว่างคนในองค์กร
ผลเสียที่ตามมาก็คือนวัตกรรมที่ออกมาให้ลูกค้าเห็นน้อยลง ซึ่งผลเสียตัวนี้จะไม่แสดงให้เห็นในงบการเงินหรอกทันที แต่ในระยะยาวจะสร้างความเสียหายอย่างแน่นอน
ซึ่งหลังจากที่ทีมวิจัยคำนึงถึงปัจจัยทั้งหมดแล้ว พบว่าบริษัทที่ลดขนาดบริษัทมีแนวโน้มที่จะประกาศล้มละลายมากกว่าบริษัทที่ไม่ทำ ถึงแม้การทำแบบนั้นอาจจะให้ผลดีในระยะแรกๆเช่นลดต้นทุน แต่ในระยะยาวแล้วจะเสียหายมากกว่าที่คิด
ต่อให้บริษัทนั้นมีเงินทุนเยอะและมีทรัพยากรเยอะ แต่นั้นก็ไม่ช่วยทดแทนกำลังคนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเลยแม้แต่น้อย
นวัตกรรม ความรู้ และทรัพย์สินทางปัญญาเท่านั้นที่จะทำให้บริษัทรอดตาย
ถึงอย่างนั้นทีมวิจัยก็หาคำตอบต่อไปว่าแล้วทำไมยังมีหลายบริษัทที่ยังรอดจากผลร้ายของการลดขนาด แล้วก็พบว่า “ทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้” อย่างเช่นทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรมที่มีอยู่แล้วสามารถชดเชยแรงงานที่เลิกจ้างไปได้ เช่นความรู้ของพนักงานสามารถเอามาประยุกต์ให้กระบวนการทำงานในบริษัทนั้นมีประสิทธิภาพขึ้นมากกว่าเดิม นำนวัตกรรมมาใช้หาพาร์ทเนอร์ของธุรกิจชดเชยประโยชน์ที่พนักงานที่โดนเลิกจ้างให้กับบริษัท วิธีแก้พวกนี้ก็ช่วยลดผลกระทบจากการตัดสินใจลดขนาดของบริษัทเช่นกัน
ฉะนั้นก่อนที่จะคิดลดขนาดธุรกิจ ของให้ชั่งใจดีๆก่อนว่า
1. ผลดีที่จะได้จากการลดขนาดธุรกิจนั้นมีมากกว่าผลเสียหายระยะยาวที่ตามมาหรือเปล่า
2. บริษัทสามารถปกป้องทรัพยากร เงินทุน โดยเฉพาะความรู้ความสามารถ ทรัพย์สินทางปัญญานับต่อจากผลเสียของธุรกิจที่ถูกลดขนาดได้จริงหรือไม่
ถ้าหากทำได้ การลดขนาดธุรกิจก็ควรจะทำอย่างระมัดระวังที่สุด ทุ่มเทกับทรัพย์สินทางปัญญามากกว่าทรัพยากรอื่นๆทั้งหมด เรื่องเงินอย่าเพิ่งให้ความสำคัญมาก เพราะทรัพย์สินที่มองไม่เห็นอย่างความรู้นั่นแหละที่จำเป็นที่สุดสำหรับบริษัทที่เสียพนักงานเกรดดีๆไป
แหล่งที่มา
https://hbr.org/2017/04/if-you-think-downsizing-might-save-your-company-think-again