หนุนทุก SMEs ให้มีแรงสู้ต่อไปผ่าน บสย. ที่ปรึกษาด้านเงินลงทุนด้วยวงเงินกว่า 1.5 แสนล้านบาท

  • 55
  •  
  •  
  •  
  •  

บสย

“กู้ไม่ผ่าน” นั่นคือเสียงตอบรับจากธนาคารเมื่อ SMEs ต้องการไปขอกู้เงิน ซึ่งส่วนใหญ่ของ SMEs มักติดตรงที่ “ไม่มีคนหรือหลักทรัพย์ค้ำประกัน” นั่นเพราะวงเงินกู้เหล่านั้นมีเม็ดเงินที่สูง จนธนาคารเองก็ไม่กล้าปล่อยสินเชื่อหรือถ้าจะปล่อยก็ต้องมีอะไรมาวางค้ำเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับธนาคารว่า SMEs รายนั้นจะไม่มีเกิดอาการ “เบี้ยวหนี้”

นั่นเป็นหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ SMEs ของไทยไม่โตหรือโตไม่ทันตลาด อย่างที่ทราบว่า SMEs เงินมีจำกัด ยิ่งในภาวะเศรษฐกิจที่ทั่วโลกกดดันบีบคั้นเศรษฐกิจของไทย ส่งผลให้ SMEs ต้องประสบปัญหาทุนหายกำไรหด เดินหน้าต่อก็ไม่มีเงินทุน จะไปขอกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องก็ไม่มีใครให้กู้

รัฐบาลเองก็เข้าใจผู้ประกอบการ SMEs จึงร่วมมือและลงนาม กับ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย. เปิดตัวโครงการค้ำประกันสินเชื่อใหม่ วงเงินค้ำประกันสินเชื่อ 150,000 ล้านบาท ได้แก่ โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 8 (PGS8) ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs ทุกกลุ่มเข้าถึงสินเชื่อได้คล่องตัวขึ้น

บสย.

ภายใต้โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS8 จะมีโครงการย่อยที่ให้ผู้ประกอบการ SMEs ทุกกลุ่มเข้าถึงสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้คล่องตัวมากขึ้น โดยจะแบ่งตามขนาดและรูปแบบที่เหมาะกับผู้ประกอบการ SMEs ลดการพึ่งพาเงินนอกระบบ ซึ่ง SMEs ถือเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ช่วยกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนในประเทศ และในวันนี้ บสย. ยังร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันการเงินทั้ง 18 แห่ง ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับสถาบันการเงินในการอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น

บสย.

บสย. SMEs ดีแน่นอน เป็นความเด็ดดวงของหนึ่งโครงการย่อย ที่ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ง่ายขึ้น

บสย.

ช่วย SMEs ได้หายใจหายคอกับฟรีค่าธรรมเนียม 2 ปีแรก โดยจะสิ้นสุดโครงการในวันที่ 31 ธันวาคม 2563

บสย.

บสย. ได้อนุมัติวงเงินค้ำประกันสินเชื่อต่อรายอยู่ที่ 100 ล้านบาทรวมทุกสถาบันการเงิน

บสย.

ทั้งนี้ บสย.คาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะสามารถผลักดันยอดค้ำประกันในโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS8 ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ที่ 1 แสนล้านบาท ซึ่ง บสย.จะสามารถช่วย SMEs ให้ได้รับสินเชื่อไม่ต่ำกว่า 4.3  ภายใต้โครงการย่อยที่มีการแบ่งประเภทตามรูปแบบผู้ประกอบการ SMEs ได้แก่

  • บสย. SMEs บัญชีเดียว เป็น SMEs ที่ใช้งบการเงินส่งกรมสรรพากรในการพิจารณายื่นขอสินเชื่อ หรืออยู่ภายใต้โครงการสินเชื่อบัญชีเดียวของสถาบันการเงิน วงเงินค้ำประกันรวม 10,000 ล้านบาท ระยะเวลาค้ำยาวนานถึง 10 ปี ฟรีค่าธรรมเนียม 2 ปีแรก ปีที่ 3 และ 4 ผู้ประกอบการ SMEs จ่ายค่าธรรมเนียมเพียง 1% โดย บสย.จะช่วยจ่ายให้ 0.50% เป็นเวลา 2 ปี และงบชดเชยค่าธรรมเนียม 4%
  • บสย. SMEs ที่ได้รับสินเชื่อหนังสือค้ำประกันเป็น SMEs ที่ได้รับสินเชื่อหนังสือค้ำประกันทุกประเภท ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ วงเงินค้ำประกันรวม 3,000 ล้านบาท
  • บสย. SMEs สหกรณ์ภาคการเกษตร เป็น SMEs สหกรณ์ภาคการเกษตร ที่จัดตั้งเป็นนิติบุคคล (จดทะเบียน) ในรูปแบบสหกรณ์ ประเภท สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ประมง สหกรณ์นิคม ที่มีวัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อเพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจ ที่ได้รับสินเชื่อผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร วงเงินค้ำประกันรวม 2,000 ล้านบาท
  • บสย. SMEs Supply chain/Franchise เป็น SMEs ที่ได้รับสินเชื่อภายใต้โครงการสินเชื่อ Supply chain ของสถาบันการเงินหรือได้รับสินเชื่อเพื่อใช้ประกอบธุรกิจ Franchise วงเงินค้ำประกันรวม 2,000 ล้านบาท

สำหรับโครงการ PGS8 บสย. ได้ร่วมกับสถาบันการเงิน 18 แห่งในการปล่อยสินเชื่อ ทั้งธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารออมสิน, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.), ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank), ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank), ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย,  ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน), ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน), ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB), ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน), ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน), ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน), ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน), ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) (LH Bank)

โดยสถาบันการเงินจะเป็นผู้ให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ SMEs ที่ไม่มีหลักประกันหรือมีหลักประกันไม่เพียงพอ และ บสย.จะดำเนินการค้ำประกันสินเชื่อนั้นให้


  • 55
  •  
  •  
  •  
  •