ตั้งแต่ปี 2000 เอเชียต้องเผชิญโรคระบาดอย่าง ไข้หวัดนก ซารส์ (SARS) เมอรส์ (MERS) และที่มาแรงที่สุดในตอนนี้คงหนีไม่พ้นเจ้าไวรัสซิกาจากยุงลาย การแพร่ระบาดของไวรัสตัวนี้ทำให้ต้องใช้เวลาวินิจฉัยเร็วที่สุด นั่นคือเป้าหมายของทั่วโลกในตอนนี้
จนในที่สุด Phoenix Molecular สตาร์ทอัพสิงคโปร์สามารถพัฒนาชีวเทคโนโลยีที่สามารถตรวจจับไวรัสได้ภายในครึ่งชั่วโมงด้วยเครื่องวินิจฉัยโมเลกุล ประมวลผลการวินิจฉัยทันทีจากตัวอย่างเลือดหรือฉี่ที่ใส่ในถังที่ใช้แล้วทิ้ง ส่วนไวรัสที่จับได้ก็จะนำไปวินิจฉัย 1-2 วันอีกทีที่ห้องทดลองของโรงพยาบาล รวดเร็วทันใจ สนองความต้องการวินิจฉัยไวรัสในช่วงไวรัสซิการะบาด
ทำให้ Phoenix Molecular กวาดเงินทุนไป 500,000 ดอลล่าร์จาก Red Dot Venturesบริษัท Venture Capital ไปไม่ยาก ซึ่งการลงทุนครั้งนี้จะอยู่ภายใต้การดูแลของมูลนิธิวิจัยแห่งชาติของสิงคโปร์
“เราลงทุนใน Phoenix Molecular เพราะเชื่อว่าในความสามารถของเทคโนโลยีที่เติมเต็มช่องว่างและช่วยลดอัตรการเจริญเติบโดของโรคร้ายนี้ได้” Leslie Loh ผู้อำนวยการจัดการของ Red Dot Ventures กล่าว
“อุปกรณ์ของ Phoenix Molecular ถ้าเทียบกับ BioFire FilmArray ซึ่งเป็นอุปกรณ์ตรวจจับโมเลกุลอีกชนิดแล้ว Phoenix Molecular มีส่วนประกอยน้อยกว่า ทำให้มีปัญหาการใช้งานน้อยกว่า ใช้ต้นทุนน้อยกว่า”Chung-Pei Ou หัวหน้าพนักงานฝ่ายเทคโนโลยีของPhoenix Molecular กล่าว
ส่วนบริษัทจัดตั้งเมื่อปีที่แล้ว แม้มีพนักงานแค่ 2 คน แต่ก็มีทรัพย์สินทางปัญญาในการจัดเตรียมตัวอย่าง กระบวนการ และการตรวจจับ ตอนนี้สตาร์ทอัพกำลังพัฒนารูปแบบอยู่สองตัว ตัวแรกเป็นตัวอ่านผลพกพาถนัดมือ อีกตัวใหญ่กว่าใช้ในคลินิคขนาดครึ่งหนึ่งของเครื่องปิ้งขนมปัง
Chung-Pei Ou มองว่าอุปกรณ์วินิจฉัยโมเลกุลสามารถใช้แล้วทิ้งได้นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเลย แต่บางทีเราก็ต้องการมัน และอุปกรณ์พวกนี้ในตลาดก็ไม่ได้ดีพอหรือคุ้มต้นทุน “พวกเราจะเป็นตัวอย่างที่กระตุ้นนักลงทุนให้สนใจในชีวเทคโนโลยีสำเร็จ”Chung-Pei Ou หวังในอนาคต
ถ้าเราสามารถวินิจฉัยโรคที่เกิดจากไวรัสได้เร็วตั้งแต่เนินๆจะให้ยาต้านไวรัสก็ผู้ป่วยได้ทันท่วงที หรือจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในช่วงตรวจหรือป้องกันอาการป่วยจากไวรัสได้ ช่วยลดการสั่งยาปฎิชีวนะที่ไม่จำเป็นได้มาก ทำให้ป้องกันการดื้อยาปฏิชีวนะไม่ให้แบคทีเรียเพิ่มขึ้นมาอีกในที่สุด
“ตอนนี้ Phoenix Molecular ยังเป็นแค่ต้นแบบอยู่ ตัวเครื่องใช้หลักการของเทคโนโลยีดึงกรดนิวครีอิกที่เป็นสารทำละลายได้ และบริษัทก็มีแผนจะขายในช่วงปลายปีไปจนถึงต้นปีหน้า”Chung-Pei Ou กล่าว
ฉะนั้นกว่าอุปกรณ์ตัวนี้มาถึงไทยก็ต้องรอกันต่อไป