ใครบ้างมีสิทธิ์ ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท ที่ขยายเวลาจาก 3 เดือน เป็น 6 เดือน

  • 305
  •  
  •  
  •  
  •  

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจ่ายเงินชดเชยรายได้จากผลกระทบ COVID-19 ที่เดิมจะจ่ายเดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน แต่ตอนนี้ขยายเป็น 6 เดือน ตั้งแต่เดือนเมษายน-กันยายน 2563 รวมเป็นเงิน 30,000 บาท  แล้วใครบ้าง? จะมีสิทธิ์ได้รับเงินดังกล่าว

คำถามนี้ ‘อุตตม สาวนายน’ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้คำตอบว่า ยังคงจำนวนกลุ่มผู้ได้รับสิทธิ์ไว้ที่ 9 ล้านคนเช่นเดิมกับตอนที่ประกาศให้ลงทะเบียนรับสิทธิ์ผ่าน  www.เราไม่ทิ้งกัน.com  ตั้งแต่แรก ส่วนจะเพิ่มเติมหรือขยายไปสู่กลุ่มอื่นๆ หรือไม่ ต้องประเมินสถานการณ์อีกครั้ง

ขณะที่ ‘ลวรณ แสงสนิท’ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ให้ข้อมูลไว้เมื่อวันที่ 6 เมษายนที่ผ่านมาว่า ตอนนี้มีผู้ผ่านเกณฑ์เตรียมจะได้รับการโอนเงินจำนวนประมาณ 1.68 ล้านราย ซึ่งจะเริ่มทยอยโอนเงินระหว่างวันที่ 8-10 เมษายนนี้ แบ่งเป็นวันที่ 8 เมษายนจำนวน 2.8 แสนคน , วันที่ 9 เมษายนจำนวน 7.53 แสนคน และวันที่ 10  เมษายนจำนวน 6.44 แสนคน

สำหรับ ‘คนที่ผ่านเกณฑ์’ คือ คนที่ประกอบอาชีพอิสระ ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม และ ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยได้คัดกรอง 4 กลุ่มอาชีพที่ได้รับการเยียวยา ได้แก่ กลุ่มลูกค้าสลากกินแบ่งรัฐบาล แท็กซี่ วินมอเตอร์ไซค์ และมัคคุเทศก์ กลุ่มนี้มีประมาณ 2-3 แสนคน ถัดมา กลุ่มพ่อค้าแม่ค้า โดยกลุ่มนี้มีจำนวนกว่า 1 ล้านคน ซึ่งกลุ่มเหล่านี้จะเป็นล็อตแรกๆ ที่จะได้รับเงินเยียวยา

ส่วน ‘คนที่ไม่ผ่านเกณฑ์’ ประกอบด้วย

1.อายุต่ำกว่า 18 ปี – ยังไม่อยู่ในวัยทำงาน

2.คนว่างงานอยู่ก่อนแล้ว

3.ข้าราชการ – ยังมีงานทำ และได้รับเงินเดือนตามปกติ

4.ผู้รับบำนาญ – ยังได้รับการดูแลจากรัฐอย่างสม่ำเสมอ

5.ผู้ได้รับเงินชดเชยกรณีว่างงานจากประกันสังคม

6.นักเรียน นักศึกษา – ไม่ใช่กลุ่มแรงงาน หากมีหนี้ กยศ.จะได้รับการพักชำระหนี้

7.เกษตรกร – รัฐเตรียมให้ความช่วยเหลือเยียวยาผลกระทบจาก COVID-19 ในระยะ 3

8.ผู้ค้าขายออนไลน์ – การขนส่งยังดำเนินไปได้แม้ยอดขายตก ก็ถือว่าเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจ

9.คนงานก่อสร้าง – ยังดำเนินการก่อสร้างได้

10.โปรแกรมเมอร์ – ยังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง เพราะมีความยืดหยุ่นในการทำงาน ทำสถานที่ใดก็ได้

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ , โพสต์ทูเดย์


  • 305
  •  
  •  
  •  
  •