[ข่าวประชาสัมพันธ์]
รายงานข้อมูลเชิงลึกและการวิเคราะห์ผู้บริโภควิดีโอออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Media Partners Asia (MPA) บริษัทที่ปรึกษาและวิจัยตลาดสื่อระบุว่า ในปี 2566 สตรีมมิ่งแพลตฟอร์มต่างๆ ในภูมิภาคนี้มีแนวโน้มที่จะมุ่งเน้นไปที่การรักษาฐานลูกค้า การจัดการรับมือกับลูกค้าที่จะเลิกใช้บริการ รวมถึงการปรับขึ้นราคาค่าบริการ เป็นสำคัญ
อย่างไรก็ดี MPA ได้เสนอรายงานวิดีโอออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไตรมาสที่ 1 ปี 2566โดยระบุว่า TrueID เป็นหนึ่งในสตรีมมิ่งแพลตฟอร์มที่มีการเติบโตในประเทศไทย โดยจับกลุ่มผู้ชม Video On Demand แบบพรีเมียมในไตรมาสที่ 1 ได้ถึง 30% ซึ่งเป็นผลจากการคอนเทนต์การแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ที่ถือเป็นจุดเด่นสำคัญของแพลตฟอร์ม
สำหรับกลยุทธ์การทำงานและภารกิจของทีมงาน TrueID ท่ามกลางความท้าทายในสมรภูมิ Streaming Platform ในประเทศไทยนั้น สิ่งสำคัญคือ การสร้างความแตกต่างและหลากหลายให้โดดเด่นในตลาด ทั้งในแง่ของคอนเทนต์ บริการ ที่ตั้งใจส่งมอบคุณค่าและประสบการณ์เพื่อผู้ใช้งานในประเทศไทยโดยเฉพาะ
Local Player ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานไทยได้ตรงใจ
“ถ้าเทียบกันในตลาด TrueID ถือเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่ติดอันดับผู้นำในตลาด โดยมีจุดเด่นในด้านคอนเทนต์ที่มีมากกว่าวิดีโอสตรีมมิ่ง ไม่ว่าจะเป็นสตรีมมิ่ง ไลฟ์ทีวี VOD (Video On Demand) เพลง ไปจนถึงข่าวและบทความ และที่สำคัญคือ การคัดสรรคอนเทนต์ได้ตรงใจผู้ใช้งานชาวไทยมากที่สุด” ณฐาศิริ ธนภัทรเธียรเลิศ Strategic Synergy Lead ของ TrueID เริ่มต้นด้วยการอธิบาย Position ในตลาด
ปัจจุบันแอปพลิเคชัน TrueID มีผู้ใช้งานต่อเดือน (MAU: Monthly Active Users) 36 ล้านราย(พฤษภาคม 2566) เติบโตจากช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 ในปี 2562 ที่มี MAU เพียง 10 ล้านราย โดยสัดส่วนผู้ใช้งานปัจจุบันแบ่งเป็นฐานลูกค้าทรู 75 เปอร์เซ็นต์ และผู้ใช้งานทั่วไป 25 เปอร์เซ็นต์
ทั้งนี้ จุดแข็งที่ TrueID ก้าวมาอยู่ในอันดับต้น ๆ ในสมรภูมิสตรีมมิ่งแพลตฟอร์มของประเทศไทย มาจากกลยุทธ์ด้านคอนเทนต์ดังต่อไปนี้
- Partnership การการผนึกกำลังกับพันธมิตรอย่าง TrueVisions Now ที่เป็นผู้นำด้านคอนเทนต์กีฬาในตลาด ทำให้มีการถ่ายทอดรายการกีฬาระดับโลก อาทิ English Premier League, beIN Sports โดยคอนเทนต์กีฬาถือเป็นหนึ่งในคอนเทนต์ที่ผู้ชมในประเทศนิยม วัดได้จากช่วงฟุตบอลโลกในปี 2565 ที่มียอดผู้ชมจาก TrueID สูงสุดถึง 42 ล้านคน
- Exclusive Content คอนเทนต์เอ็กซ์คลูซีฟ ทั้งคอนเทนต์ลิขสิทธิ์และการผลิต Original Series โดยความร่วมมือกับ True CJ Creation (บริษัทร่วมทุนระหว่าง TrueVisions Group และ CJ ENM จากเกาหลีใต้) เช่น ซีรีส์เรื่อง 23:23 สัญญาสัญญาณ
- Localization การพากย์ภาษาไทยในคอนเทนต์เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ เพื่อรองรับกลุ่มผู้ชมไทยในระดับ Mass ให้เข้าถึงคอนเทนต์ต่างประเทศได้ง่าย และมีความเสมอภาค ไม่มีอุปสรรคด้านภาษา
4.Personalization การคัดสรรคอนเทนต์ตรงความสนใจผู้ใช้งานเฉพาะบุคคล โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย AI โดยมีการแบ่งกลุ่มไว้ถึง 10 Persona Segments นั่นคือ Fan Ball, Anime Mania, Reality Fan, True Smart, Live Streamer, Reward Seeker, Trend Rider, Series Addict, Premium Streamer และ Casual Streamer
Super App ที่เปิดกว้างให้ทุกคนเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม
แอปพลิเคชัน TrueID พัฒนาขึ้นเพื่อเป็น Super App ที่เปิดกว้างให้ผู้ใช้งานทุกคนเข้าถึงได้อย่างสะดวกสบายผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งหากเป็นลูกค้าของทรูจะใช้งานได้ใน Ecosystem ที่ครบภายในแอปพลิเคชันเดียว ทั้งการเข้าถึงคอนเทนต์ การแลกรับสิทธิพิเศษจาก True You การชำระค่าบริการที่สะดวกด้วยการจ่ายผ่าน True Money Wallet การช้อปปิ้งที่เชื่อมโยงไปถึงพาร์ตเนอร์ต่าง ๆ ไปจนถึงการโทรและแชต (Call & Chat) ที่เป็นบริการที่ใช้ประโยชน์ของการเป็นบริษัทโทรคมนาคม-เทคโนโลยี
ด้วยเหตุนี้จึงมีการพัฒนาแอปพลิเคชันโดยคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้ใช้งานทุกกลุ่ม เพื่อให้เข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยพยายามลดความยากในการใช้งาน พร้อมกับการปรับปรุงให้สอดรับกับสภาพสังคมของผู้ใช้งานในปัจจุบันที่หลากหลาย
“ตอนนี้เราเพิ่มเมนูภาษาพม่าเพิ่มเข้ามาในหน้าการใช้งาน เพราะมีผู้ใช้งานเป็นพี่น้องชาวพม่าจำนวนมากที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย เราพยายามตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มนี้ด้วย อีกส่วนหนึ่งคือการพยายามทำให้ฟีเจอร์หลายอย่างง่ายมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานกลุ่มผู้สูงวัยที่เป็นกลุ่มที่มีมากขึ้นเช่นกัน” ณฐาศิริกล่าว
ก้าวไปสู่การเป็น Content Aggregator
“TrueID ต้องปรับตัวให้ไว” คือสไตล์การทำงานที่ณฐาศิริเน้นย้ำ พร้อมเผยถึงก้าวต่อไปของ TrueID ว่า “ในอนาคตอันใกล้คือมุ่งไปสู่การเป็น Content Aggregator ที่ผนึกกำลังกับพาร์ตเนอร์เพิ่มมากขึ้น เพื่อคัดสรรและรวบรวมบริการที่หลากหลายไว้ด้วยกัน สร้างความได้เปรียบในด้านสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากพันธมิตร รวมถึงความได้เปรียบในการแข่งขันด้านราคา ที่สามารถเสนอแพ็กเกจในลักษณะ Bundle ที่คุ้มค่าและมีทางเลือกหลากหลาย เพื่อดึงดูดลูกค้าหลายกลุ่ม รวมถึงเป็นการลดอัตราการเลิกเป็นลูกค้า (Churn Rate) ของกลุ่มลูกค้าเดิมอีกด้วย”
นอกจากนี้ยังมีการวางกลยุทธ์ในการโปรโมทคอนเทนต์ต่าง ๆ ของแพลตฟอร์มผ่านรูปแบบของ Short Form Content ตามเทรนด์ความนิยมของผู้ใช้งานยุคนี้ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสการมองเห็นและนำเสนอสินค้าและบริการได้มากขึ้น และนำมาสู่การสร้างรายได้ให้กับแพลตฟอร์ม “เราสังเกตเห็นว่าช่วงที่ไม่กี่ปีที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ Short Form Content ได้รับความนิยมมาก เรากำลังจะทำคอนเทนต์สั้น ๆ แบบนี้ให้ผู้ใช้บริการได้เลื่อนดู เหมือนเป็นไฮไลต์ แล้วถ้าชอบก็สามารถกดดูคอนเทนต์ตัวเต็มได้ทันที” ณฐาศิริกล่าว
อีกหนึ่งความแตกต่างที่ TrueID มีมากกว่าคู่แข่งในตลาด คือการมีฟีเจอร์ Community ในลักษณะของ User-Generated Content (UGC) โดยผู้ใช้งานในชุมชนนี้จะมีการสร้างคอนเทนต์ที่สดใหม่ หลากหลายอย่างต่อเนื่อง นับเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมกับแพลตฟอร์ม ส่งเสริมการเป็นส่วนหนึ่งกับแบรนด์และชุมชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อกลยุทธ์การเป็น Content Aggregator ที่ผู้ใช้งานจะสามารถรีวิวหรือแนะนำคอนเทนต์และบริการในแพลตฟอร์มให้กันในชุมชนได้ รวมถึงการสร้างความน่าเชื่อถือและความมั่นใจที่จะดึงดูดผู้ใช้งานใหม่เข้ามามากขึ้น
ความหลากหลายของทีมงาน: เบื้องหลังการสร้างสรรค์คอนเทนต์และนวัตกรรมที่ตรงใจ
เบื้องหลังการทำงานของทีม TrueID ที่ต้องตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้ใช้งานที่มีความแตกต่างหลากหลาย มาจากการรวมตัวของทีมงานกว่า 200 ชีวิตที่มีทักษะความถนัดในการทำงานที่แตกต่าง ซึ่งมาพร้อมความหลากหลายเฉพาะบุคคล ทั้งในด้านวัย เพศ พื้นเพ ความสนใจ ความหลากหลายนี้กลายเป็นสิ่งเติมเต็มความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาบริการใหม่ ๆ โดยทุกมุมมอง ประสบการณ์ และความคิดเห็นของทีมงาน คือตัวแทนเสียงของผู้ใช้งานในตลาดได้ทั้ง 10 Persona Segments ที่วางไว้ นอกเหนือจากนั้นยังสร้างความเข้าใจในการทำงานกับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายในองค์กรเช่นกัน
พสธร สุวรรณศรี Data Scientist จากส่วนงาน Digital Growth Insight ผู้รับผิดชอบงานด้านข้อมูลในระบบหลังบ้าน ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่ได้มีการปกป้องข้อมูลและปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือ PDPA เล่าว่าการทำงานกับทีมที่มีภูมิหลังและประสบการณ์การใช้ข้อมูลที่แตกต่างกัน ทำให้ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการจัดเตรียมข้อมูลให้เหมาะกับสายงานต่าง ๆ เพื่อให้ทุกฝ่ายนำไปต่อยอดสร้างสรรค์งานได้ตรงตามความต้องการมากขึ้น
“เราต้องตีโจทย์ให้ได้ก่อนว่า เขาจะนำข้อมูลนั้นไปใช้งานอะไรต่อ เพื่อนำเสนอรูปแบบข้อมูลนั้นในแบบที่เขาจะเข้าใจได้ในครั้งเดียว บางทีมอาจจะใช้ข้อมูลที่เป็น Raw data ได้ แต่บางทีมควรใช้ชุดข้อมูลที่ย่อยง่ายและนำเสนอไปตามลำดับ” นอกจากนี้ พสธรเล่าว่า การได้ร่วมงานกับหลากหลายทีมที่มีหน้าที่ต่างกัน ทำให้เขาเข้าใจมุมมองของงานในหลากหลายมิติ และช่วยให้เขาเชื่อมต่อประสบการณ์และมองเห็นภาพใหญ่ขององค์กรได้อย่างชัดเจน
จิราพัชร ใจเย็น Associate Product Owner และ รัฐมณฑน์ ฑีฆวาณิช Senior Product Owner ที่รับผิดชอบดูแลฟีเจอร์ Community ซึ่งเน้นการทำงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ต่างเล่าว่า การทำงานกับคนที่มีความหลากหลายช่วยจุดประกายความคิดในการริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ ในงานได้เสมอ ยิ่งเมื่อองค์กรเปิดกว้างและส่งเสริมให้ทุกคนได้กล้าแสดงความเป็นตัวเองในทุกมิติ ที่ทำงานก็กลายเป็นพื้นที่สบายใจ
“เราทำงานกันอย่างให้เกียรติกัน เชื่อมั่นว่าแต่ละคนมีความสามารถที่สุดในส่วนงานที่เขาทำอยู่ ทุกคนก็ได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ และเมื่อเปิดกว้างรับฟังกัน ก็นำมาต่อยอดสร้างสรรค์งานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด” จิราพัชรสรุปทิ้งท้าย
ทรู คอร์ปอเรชั่น เชื่อว่าความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเพศ วัย อายุ เชื้อชาติ ความสนใจ ไลฟ์สไตล์ จุดประกายต่อยอด ความคิดสร้างสรรค์ ส่งผลให้เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่และความสำเร็จให้กับองค์กร โดยในเดือนแห่งความภาคภูมิใจในความหลากหลาย (Pride Month) ทรู แสดงจุดยืนในการสนับสนุนให้เกิดความเท่าเทียม จากการผสานความแตกต่าง โอบรับความหลากหลายของทุกคนในทุกมิติ และกล้าแสดงความเป็นตัวเอง ผ่านแคมเปญ #BringYourBest เพราะที่ทำงานควรเป็นที่ปลอดภัย ให้เราได้เป็นตัวเองในเวอร์ชันที่ดีที่สุด พร้อมนำเสนอเรื่องราวเบื้องหลังการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีคีย์สำคัญมาจากการเปิดกว้างให้ทีมงานที่มีความแตกต่างหลากหลายได้แสดงศักยภาพความเป็นตัวเองอย่างแท้จริง
[ข่าวประชาสัมพันธ์]