เปิดพฤติกรรมการใช้งาน ‘มือถือ-อินเตอร์เน็ต-โซเชียลมีเดีย’ 5 ประเทศ CLMV และไทย

  • 41
  •  
  •  
  •  
  •  

ความร้อนแรงของการฟื้นตัวเศรษฐกิจทั่วโลกหลังวิกฤตโควิด ส่งผลให้หลายธุรกิจเริ่มขยับตัวอีกครั้งเพื่อไปลงทุนยังน่านน้ำใหม่ที่ต่างประเทศ ซึ่งใกล้ตัวเราที่สุดก็คือภูมิภาคเซาท์อีสต์เอเชีย CLMV ของเรานี่เอง ประกอบไปด้วย กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ซึ่งต้องบอกว่าเป็นภูมิภาคที่กำลังเติบโตหลายธุรกิจหันหน้าให้ความสนใจที่จะลงทุนในแถบนี้อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในมุมของเทคโนโลยีการสื่อสารที่กำลังเบ่งบานและยังมี Room สร้างการเติบโต และสามารถครีเอทมุมการทำ Digital Marketing ได้อย่างสนุกสนานอีกด้วย

ดังนั้น เพื่อให้เข้าใจถึงพฤติกรรมในการใช้อินเตอร์เน็ต มือถือ รวมไปถึง Social media ต่างๆ ว่า ทั้ง 4 ประเทศนั้น มีพฤติกรรมการใช้สิ่งเหล่านี้อย่างไร และเมื่อเทียบกับไทยแล้วมีความแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน เรียกได้ว่าเป็นข้อมูล Insight ที่ลึกและเป็นประโยชน์ต่อการทำการตลาดดิจิทัลอย่างแน่นอน

 

ปริมาณการใช้งาน ‘มือถือ’ ผ่านผู้ให้บริการเครือข่าย Telco  

  • ไทย มีจำนวนผู้ใช้บริการมือถือ 95.6 ล้านคน คิดเป็น 136.5%
  • กัมพูชา มีจำนวนผู้ใช้บริการมือถือ 22.06 ล้านคน คิดเป็น 129.3%
  • ลาว มีจำนวนผู้ใช้บริการมือถือ 5.91 ล้านคน คิดเป็น 79.6%
  • เมียนมาร์ มีจำนวนผู้ใช้บริการมือถือ 73.49 ล้านคน คิดเป็น 133.6%
  • เวียดนาม มีจำนวนผู้ใช้บริการมือถือ 156 ล้านคน คิดเป็น 3%

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวนี้จะสังเกตเห็นได้ว่า จำนวนของการใช้งานมือถือ มากกว่าจำนวนประชากร สะท้อนว่า ประชากร 1 คนมีการใช้งานโทรศัพท์มือถือมากกว่า 1 เครื่อง

ปริมาณการใช้งาน ‘อินเตอร์เน็ต’

  • ไทย มีจำนวนผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต 5 ล้านคน คิดเป็น 77.8%
  • กัมพูชา มีจำนวนผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต 4 ล้านคน คิดเป็น 3.8%
  • ลาว มีจำนวนผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต 8 ล้านคน คิดเป็น 25.28%
  • เมียนมาร์ มีจำนวนผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต 28 ล้านคน คิดเป็น 45.9%
  • เวียดนาม มีจำนวนผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต 1 ล้านคน คิดเป็น 73.2%

สำหรับข้อมูลดังกล่าวนี้ ไม่ได้มีการแยก device ที่ใช้ในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต ดังนั้น ข้อมูลดังกล่าวจึงรวมได้ตั้งแต่ เดสก์ท็อป, โน้ตบุ๊ก, แท็บเล็ต ฯลฯ  และอาจจะมีการใช้งานอินเตอร์เน็ตต่อคนมากกว่า 1 เครื่องก็ได้

ปริมาณการใช้งาน ‘Social Media’ (Active Social Media User)

  • ไทย มีผู้ใช้โซเชียลมีเดีย 85 ล้านคน คิดเป็น 81.2%
  • กัมพูชา มีผู้ใช้โซเชียลมีเดีย 6 ล้านคน คิดเป็น 73.9%
  • ลาว มีผู้ใช้โซเชียลมีเดีย 8 ล้านคน คิดเป็น 51.1%
  • เมียนมาร์ มีผู้ใช้โซเชียลมีเดีย 75 ล้านคน คิดเป็น 37.7%
  • เวียดนาม มีผู้ใช้โซเชียลมีเดีย 95 ล้านคน คิดเป็น 78.1%

สำหรับข้อมูลในส่วนนี้ เป็นภาพรวมของการใช้งาน Social Media โดยยังไม่มีการแยกตามแพล็ตฟอร์มต่างๆ

 

การเลือกใช้ Social Media ที่ใช้บ่อยที่สุด (Most used) 

สำหรับ  การเลือกใช้ Social Media ที่ใช้บ่อยที่สุด จะทำการกำหนดให้กลุ่มตัวอย่างเลือกตอบเพียงข้อเดียว

ทั้งนี้ จากภาพรวมที่เห็นคือ Facebook ยังคงครองใจชาว CLMV และคนไทยอยู่ แต่อาจจะมีแตกต่างได้แก่ Telegram โซเชียลมีเดียที่คนไทยไม่ค่อยคุ้นเคยนัก ในขณะที่แพล็ตฟอร์มอื่นๆ ก็มีไม่ต่างกัน โดยที่ TikTok นั้นแม้จะยังไม่สามารถแซงหน้า Facebook ได้ในตอนนี้ แต่ก็มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ

ไทย

  • Facebook 64.4% ของจำนวนประชากร
  • Instagram 11.5% ของจำนวนประชากร
  • TikTok 7.6% ของจำนวนประชากร
  • LINE 7.0% ของจำนวนประชากร
  • Messenger 3.3% ของจำนวนประชากร
  • Youtube 3.3% ของจำนวนประชากร
  • Twitter 2.3% ของจำนวนประชากร
  • Telegram 0.4% ของจำนวนประชากร
  • WeChat 0%

กัมพูชา

  • Facebook 54.6% ของจำนวนประชากร
  • Instagram 3.1% ของจำนวนประชากร
  • TikTok 3.9% ของจำนวนประชากร
  • LINE 0.2% ของจำนวนประชากร
  • Messenger 5.9% ของจำนวนประชากร
  • Youtube 0.0% ของจำนวนประชากร
  • Twitter 0.0% ของจำนวนประชากร
  • Telegram 23.2% ของจำนวนประชากร
  • WeChat 0.5% ของจำนวนประชากร

ลาว

  • Facebook 59.5% ของจำนวนประชากร
  • Instagram 3.9% ของจำนวนประชากร
  • TikTok 11.6% ของจำนวนประชากร
  • LINE 0.4% ของจำนวนประชากร
  • Messenger 4.6% ของจำนวนประชากร
  • Youtube 13.3% ของจำนวนประชากร
  • Twitter 1.4% ของจำนวนประชากร
  • Telegram 0.4% ของจำนวนประชากร
  • WeChat 0%

เมียนมาร์

  • Facebook 73.7% ของจำนวนประชากร
  • Instagram 1.2% ของจำนวนประชากร
  • TikTok 4.4% ของจำนวนประชากร
  • LINE 0.2% ของจำนวนประชากร
  • Messenger 4.8% ของจำนวนประชากร
  • Youtube 0%
  • Twitter 0.2% ของจำนวนประชากร
  • Telegram 3.5% ของจำนวนประชากร
  • WeChat 0.5%

เวียดนาม

  • Facebook 74.1% ของจำนวนประชากร
  • Instagram 6% ของจำนวนประชากร
  • TikTok 9.2% ของจำนวนประชากร
  • LINE 0%
  • Messenger 6.3% ของจำนวนประชากร
  • Youtube 0.0% ของจำนวนประชากร
  • Twitter 0.3% ของจำนวนประชากร
  • Telegram 0%
  • WeChat 0%

อย่างที่กล่าวว่าทั้ง 4 ประเทศ นั้นมีความน่าสนใจในการลงทุนแทบทั้งนั้น (อาจจะรอจับตาแค่สภาพการเมืองภายในประเทศเมียนมาร์) อย่างไรก็ตาม การทำธุรกิจในแต่ละประเทศจำเป็นที่จะต้องเข้าใจในวัฒนธรรมของแต่ละด้วย เพราะแต่ละที่นั้นแนวทางและรูปแบบที่แตกต่างกันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากจะไปทำการสื่อสารทางการตลาด ยิ่งจำเป็นต้องเข้าใจวิธีในการเข้าหาผู้บริโภคในแต่ละประเทศด้วย เพราะแต่ละประเทศมีวิธีในการสื่อสารแตกต่างกันและมีการใช้งานแพล็ตฟอร์มต่างกัน ซึ่งบางบริษัทก็นิยมทำงานผ่านบริษัทเอเจนซี่ที่มีความเข้าใจและมีความเชี่ยวชาญมากกว่า ซึ่งนอกจากจะสะดวกและง่ายแล้วยังมีประสิทธิภาพมากกว่าด้วย อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือ ธุรกิจและนักการตลาดควรมีข้อมูล Insight และทำความเข้าใจรูปแบบการสื่อสารของแต่ละประเทศให้ดีเพื่อประสิทธิภาพในการทำแคมเปญการตลาดให้ประสบความสำเร็จได้

 

ขอบคุณข้อมูล Insight บทความนี้จาก MI Learn Lab ที่ได้รวบรวมข้อมูลจาก DataReportal และ Standard Insights  โดย MI Learn Lab จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการนำเสนอข้อมูลที่ได้จาก Marketing Tool และวิจัยต่างๆ  โดย MI GROUP ที่ช่วยส่งมอบข้อมูลในเชิง Marketing Insights ที่เป็นประโยชน์ให้กับพันธมิตรต่างๆ ของ MI GROUP ตั้งแต่ ลูกค้า คู่ค้า และสำนักข่าว/สื่อต่างๆ และยังเป็นแหล่งความรู้ให้กับผู้ประกอบการรายย่อยอย่าง SMEs ผ่านการจัดทำโครงการต่างๆ เพื่อเป็นช่องทางในการนำเสนอองค์ความรู้ใหม่ๆ สำหรับ SMEs โดยเฉพาะอีกด้วย สำหรับ MI Learn Lab จะมีทั้งชุดข้อมูลที่ปรับปรุงทุกเดือน เช่น มูลค่าเม็ดเงินโฆษณาของตลาดประเทศไทย และมีข้อมูลที่เป็น Market Insights ต่างๆ ที่ผ่านการศึกษาข้อมูลแบบเจาะลึกเป็นพิเศษ โดยแต่ละหัวข้อจะเน้นการทำข้อมูลเชิงลึกให้เท่าทันกับสถานการณ์ปัจจุบันอีกด้วย

 


  • 41
  •  
  •  
  •  
  •  
pigabyte
การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น มาเรียนรู้และสนุกไปกับบทความ จาก MarketingOops! กันนะคะ แล้วเราจะได้ค้นพบว่าโลกของ Marketing นั้น So Sexy and Cool!