5 ช่องทางการจ่ายเงินยอดฮิตของคนไทย ข้อมูลใหม่เผยว่า “คนไทยใช้เงินสดกันน้อยลงอย่างต่อเนื่อง”

  • 350
  •  
  •  
  •  
  •  

payment-icons

ศุนย์ข้อมูลกสิกรไทยเผยว่าการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment)กำลังเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการใช้จ่ายประจำวันของคนไทยเพื่อทดแทนการใช้เงินสด และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรม เพราะปลอดภัย สะดวก สามารถรับโอนจ่ายได้ทุกที่ ทุกเวลา สำหรับการใช้เงินสดนั้นมีต้นทุนมหาศาลในการบริหารจัดการทั้งการพิมพ์ การขนส่ง การนับคัด และการทำลาย จากข้อมูลการสำรวจล่าสุดพบว่า 57% ของคนไทยคิดว่าการพกเงินสดไม่ปลอดภัยหรือคิดเป็น 6 ใน 10 และปัจจุบันคนไทยพกเงินสดเฉลี่ย 2,094 บาท

ข้อมูล: VISA Consumer Payment Attitudes Study 2015

 

5 อันดับช่องทางจ่ายเงินยอดฮิต

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าสัดส่วนมูลค่าการชำระเงินด้วยช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ของคนไทยจะเพิ่มขึ้นจาก 40% ไปอยู่ระดับที่สูงกว่า 50% ในอีก 10 ปี ข้างหน้า

1.  Debit Card 48,314,249 ใบ

กว่า 164 ล้านรายการ

กว่า 925 ล้านมูลค่าการใช้จ่าย

 

2.  Credit Card  22,604,188 ใบ

กว่า 41 ล้านรายการ

กว่า 145 ล้านมูลค่าการใช้จ่าย

 

3.  Mobile Banking  12,939,782 ใบ

กว่า 43 ล้านรายการ

กว่า 397 ล้านมูลค่าการใช้จ่าย

 

4.  ATM Card  11,992,928 ใบ

กว่า 26 ล้านรายการ

กว่า 119 ล้านมูลค่าการใช้จ่าย

 

5.  Internet Bangkang  10,538,059 ผู้ใช้

กว่า 23 ล้านรายการ

กว่า 2,700 ล้านมูลค่าการใช้จ่าย

 

*จากข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง ธุรกรรมภาพรวมระบบการชำระเงิน เดือนมิถุนายน 2559

 

คนไทยกับการใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์

อัตราการใช้บริการการชำระเงินของประเทศไทยในปี 2557  มีจำนวนธุรกรรเฉลี่ย 35 รายการ/คน/ปี เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่มีอัตราสูงเป็นหลายเท่าของประเทศไทย ซึ่งคณะกรรมการระบบการชำระเงิน (กรช.) กำหนดเป้าหมายเพิ่มปริมาณการใช้บริการ การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ต่อประชากรเป็น 150 รายการ/คน/ปี ในปี 2563

สิงคโปร์ 684  รายการ/คน/ปี

ฟินแลนด์ 451  รายการ/คน/ปี

เกาหลีใต้ 296  รายการ/คน/ปี

สหราชอาณาจักร 296  รายการ/คน/ปี

มาเลเซีย 65  รายการ/คน/ปี

ไทย 35  รายการ/คน/ปี

screen-shot-2559-12-20-at-11-11-06-am

ที่มา: BIS (2014)Statistics on payment and settlement in the CPSS countries, European Central Bank, Bank Negara Malaysia และธนาคารแห่งประเทศไทย

 

เมื่อคนไทยลดการใช้เงินสด

คนไทยใช้เงินสดกันน้อยลงและหันมาใช้จ่ายผ่านบัตรและช่องทางอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้น ประกอบกับโครงการ Expansion of Card and Card Acceptance ภายใต้นโยบาย National e-Payment ที่บังคับให้ทุกร้านค้าที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ต้องมีเครื่อง EDC เพื่อเพิ่มอัตราการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งเหล่านี้ทำให้ร้านค้าต่างๆต้องปรับตัวสู่การค้าขายในอนาคตเพื่อให้พร้อมรองรับการจ่ายในทุกรูปแบบ ECD คือเครื่องรับบัตรที่รองรับทุกบัตรเดบิต บัตรเครดิต บัตร VISA Mastercard และ UnionPay รวมถึง Alipay และ Wechat ซึ่งเป็น e-wallet ของประเทศจีน ซึ่งเหมาะกับธุรกิจที่เน้นการขายผ่านหน้าร้าน

ปัจจุบันมีเครื่องรูดบัตร (EDC) ใรประเทศไทยอยู่  396,257 เครื่อง และภาครัฐมีนโยบายภาครัฐมีนโยบายตั้งเป้าติดตั้งเครื่อง ECD เพิ่มเป็น 2 ล้านเครื่อง

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย ครึ่งปีแรก 2559 

 

pretapplepaydesktop

Contactless Payment บนโมบายมาแรงสุด

ระบบการชำระเงินแบบไร้สัมผัส หรือ Contactless Payment ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆทั่วโลก และด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีที่สอดรีบกับพฤติกรรมผู้ใช้ของ 3 แบรนด์ยักษ์อย่าง Apple Pay, Samsung Pay และ Android Pay ที่กำลังเดินหน้าบุกตลาดเอเชีย

Apple Pay ให้บริการในจีน สิงคโปร์ และล่าสุดคือ ญี่ปุ่น

Apple Pay บน iPhone7, iPhone7 Plus และ Apple Watch Series2 ที่วางขายในญี่ปุ่นจะฝังชิปรองรับระบบจ่ายเงิน FeliCa Type-F NFC สามารถใช้งานผ่านบัตรยอดนิยม Suica ผู้ใช้จะสามารถใช้งาน Apple Pay ในการเดินทางทั้งรถไฟ รถไฟใต้ดิน เฟอรี่ และรถโดยสารประจำทาง โดนมีการอัพเดทค่าโดยสารและตารางเวลา และแจ้งเตือนถ้ายอดเงินใน Suica ไม่พอ

Samsung Pay ให้บริการในเกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และล่าสุดคือ ไทย

Samsung Pay ในประเทศไทย ใช้เทคโนโลยีการชำระเงินในแบบ Magnetic Secure Transmission หรือการส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปที่เครื่อง EDC และเมื่อเครื่องได้รับรายการแล้ว ลูกค้าจะต้องเซ็นต์สลิปบัตรเพื่อเป็นหลักฐานต่อไป โดยที่ลูกค้าสามารถใช้ Samsung Pay ทำรายการได้ตามเงื่อนไขของร้านค้าโดยไม่มีการจำกัดยอดซื้อสูงสุด สามารถใช้งานได้ตั้งแต่ 27 ต.ค. 59 กับร้านค้าที่ร่วมรายการ และห้างสรรพสินค้าเครือเดอะมอลล์ และสยามพิวรรธน์

Android Pay ให้บริการในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ล่าสุดคือ สิงคโปร์

ขยายตลาดเอเชีย โดยประเดิม สิงคโปร์ เป็นประเทศแรก Android Pay ในสิงคโปร์ รองรับ Android 4.4 ขึ้นไปที่มีชิป NFC ร้านค้าที่รองรับได้แก่ 7-11, BreadTalk, Cold Storage, McDonald’s, NTUC FairPrice, StarHub, Toast Box, Uniqlo, Watsons และรองรับบัตรของขวัญ บัตรสะสมแต้ม บัตรส่วนลดของร้านค้าเหล่านี้ด้วย นอกจากนี้ตัวแอพ Android Pay ยังสามารถใช้จ่ายเงินกับแอพอย่าง Uber, Grab, Shopee, Zalora, Singapore Airlines ได้ด้วย

 


  • 350
  •  
  •  
  •  
  •