เจาะพฤติกรรม ‘Gen Z ไทย’ เพื่อให้แบรนด์พิชิตใจได้ตรงจุด

  • 560
  •  
  •  
  •  
  •  

เผยพฤติกรรม ‘Gen Z’ ของไทย เป็นนักแสวงหาความเท่, มองหาความสิ่งน่าสนใจใหม่ ๆ ตลอดเวลา, ต้องการชูเอกลักษณ์ของตนผ่านโซเชียลมีเดียหลากหลายแพลตฟอร์ม และต้องการขับเคลื่อนเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อผู้อื่นด้วย

ผลสำรวจดังกล่าวมาจาก Truth About Generation Z ซึ่งแมคแคน เวิลด์กรุ๊ป ประเทศไทย ได้ศึกษาถึงทัศนคติ พฤติกรรม และความเห็นต่อสังคมโลกของกลุ่มคน Gen Z ผ่าน McCann Truth Central หน่วยงานวิเคราะห์การตลาดระดับโลกของแมคแคน เวิลด์กรุ๊ป โดยมีข้อสรุปที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

  • 83% ของ Gen Z ในไทย เชื่อว่าพวกเขามีส่วนในการสร้างสรรค์สังคมและชุมชนที่ตนอาศัยอยู่ ขณะที่ 77% ของคนรุ่นเดียวกันในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เห็นด้วยกับข้อนี้
  • เทคโนโลยีและอุปกรณ์เคลื่อนที่ คือ หัวใจในการเชื่อมต่อของ Gen Z ไทย โดย

-88% ของคนรุ่นนี้เชื่อว่า การติดต่อเชื่อมโยงกับผู้คนและสิ่งต่างๆ ในทุกวันนี้ต้องอาศัยเทคโนโลยี  -75% เห็นด้วยว่าหากพวกเขาไม่มีโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่หรือบริการสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่แม้เพียงระยะสั้นๆ พวกเขาจะรู้สึกไม่สบายใจ

ขณะที่ผลสำรวจในระดับโลกเห็นด้วยกับข้อนี้ 51% สะท้อนให้เห็นเทรนด์นี้ได้ชัดจากผลกระทบของภาวะโรคระบาดโควิด-19 เมื่อการเดินทางถูกจำกัด เกิดการล็อกดาวน์ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ยิ่งทำให้การเชื่อมต่อออนไลน์และการใช้เทคโนโลยีมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นกว่าเคย

  • ในความเห็นของ Gen Z ชาวไทย การเชื่อมโยงกับผู้คนและการใช้โซเชียลมีเดียมีทั้งข้อดีและข้อเสีย

-54% เชื่อว่า ประโยชน์สำคัญของโซเชียลมีเดีย คือ การได้แสดงความคิดใหม่ๆ ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก อีก 48% เห็นด้วยว่า โซเชียลมีเดียคือช่องทางแสดงความคิดเห็นที่พวกเขาไม่เคยมีมาก่อน

-63% ของGen Z ในไทย ใช้โซเชียลมีเดียยังส่งข้อความแทนการโทรผ่านเสียงขณะที่ผลสำรวจทั่วโลกมีเพียง 42%

 

-67% ของ Gen Z ชาวไทยยอมรับขาดการยับยั้งตัวเองในการใช้เวลากับโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมากกว่าผลสำรวจจากทั่วโลกที่ยอมรับข้อนี้อยู่ 44% อย่างไรก็ตาม 78% ของกลุ่มตัวอย่างชาวไทยบอกว่าพยายามลดปริมาณการใช้เวลาในการจ้องหน้าจออุปกรณ์เคลื่อนที่ สอดคล้องกับผลสำรวจที่ว่า 72% ของ Gen Z ชาวไทย รู้สึกกดดันที่ต้องอยู่กับอุปกรณ์เหล่านี้ตลอดเวลา

  • ความขัดแย้งอันหลากหลาย ขณะที่ Gen Z ชาวไทยต้องการชูประเด็นความหลากหลายและการแสดงตัวตนแต่บางส่วนก็รู้สึกไม่สบายใจในข้อนี้เช่นกัน โดย 58% เห็นว่า ผู้คนควรได้รับเสรีภาพในการแสดงออกของพวกเขา ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์ที่มากกว่ากลุ่มตัวอย่างในประเทศอื่นในเอเชียอย่างอินเดีย ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น โดย Gen Z ชาวไทย 68% รู้สึกไม่สบายใจที่ต้องอยู่ร่วมกับผู้คนที่เห็นต่างจากตน ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดในประเทศที่เราได้ทำการสำรวจ และมากกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลกที่ 45% ในทางกลับกัน 48% ของ Gen Z ชาวไทยคิดว่าวิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหานี้คือต้องให้ผู้คนที่ต่างความคิดต่างมุมมองมีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

  • Gen Z ชาวไทยคาดหวังบางอย่างจากแบรนด์ต่างๆ และเต็มใจจะจ่ายให้แบรนด์ คนรุ่นนี้อยากเห็นแบรนด์มีความคิดสร้างสรรค์ เท่ และเป็นมากกว่าแบรนด์ โดย 73% พร้อมจ่ายมากขึ้นหากพบว่าแบรนด์สนับสนุนประเด็นที่พวกเขากำลังใส่ใจ และไม่แปลกใจที่หลายครั้งที่มีแฮชแท็กประเด็นร้อน จะพบว่า Gen Z ชาวไทยออกมาชื่นชมแบรนด์ที่พวกเขาเห็นว่าทำดีหรือเรียกร้องให้แบรนด์ต่างๆ มาร่วมสนับสนุน

เมื่อถามคนรุ่นนี้ว่าพวกเขาอยากเห็นบุคลิกหรือคุณค่าใดในแบรนด์ คำตอบที่พบมากที่สุดคือ ความจริงใจ 30% ความรับผิดชอบ 27% ความคิดสร้างสรรค์ 25% และความเที่ยงธรรม 22%

สำหรับผลสำรวจระดับโลกนี้ได้เปิดเผยออกมาในเดือนมีนาคม 2564 โดยใช้เวลาเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพกว่า 2 ปี จากการศึกษาอย่างต่อเนื่องด้านพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ของ McCann Truth Central นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554  ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณในระดับโลกและรวบรวมผลสำรวจเชิงลึกจำนวน 5,000 กลุ่มตัวอย่าง ช่วงอายุระหว่าง 18-24 ปี ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ประกอบด้วยจีน ญี่ปุ่น อินเดีย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ ไทย เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพซึ่งเสร็จสิ้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา


  • 560
  •  
  •  
  •  
  •  
CLOSE
CLOSE