ส่งท้าย 5 นักธุรกิจชั้นนำระดับโลกทั้งที่เป็นข่าวและอื้อฉาวที่สุดในรอบปี 2022

  • 235
  •  
  •  
  •  
  •  

ก่อนจะบ๊ายบายปี 2022 ที่ถือเป็นอีกปีที่แวดวงธุรกิจระดับโลก โดยเฉพาะในกลุ่ม Technology มีเรื่องราวมากมาย แถมส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องไม่ค่อยสู้ดีเท่าไหร่ ไม่ว่าจะเป็นการล้มยักษ์หรือการโอนถ่ายกิจการ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีเรื่องของคดีความที่ทำให้บุคคลที่มีชื่อเสียงเหล่านั้น ต้องประสบปัญหาทั้งในการทำงานและการใช้ชีวิต

โดยจะเป็นการรวบรวม 5 นักธุรกิจที่มีชื่อเสียงในด้านอื้อฉาวมาให้เห็นว่า 5 คนนี้ นอกจากจะเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จระดับโลก แต่ก็สร้างปัญหาให้เกิดขึ้นตามมา มาดูกันว่าทั้ง 5 คนเป็นใครแล้วแต่ละคนต้องเจออะไรกันบ้าง

 

มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg)

เป็นหนึ่งในบุคคลที่ทั่วโลกรู้จัก ที่สำคัญในปีนี้ Mark เดินขึ้นศาลเป็นว่าเล่น เนื่องจากมีการฟ้องร้องจากหลายๆ ประเทศในหลากหลายเรื่อง แต่เรื่องที่อื้อฉาวสะเทือนโลก ก็คงจะเป็นการปลดพนักงานออกจำนวนมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการลงททุนใน Metaverse ที่ Mark มองว่าจะกลายเป็นอนาคตของโลกยุคดิจิทัล ถึงขนาดเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Meta แล้วให้ Facebook ดำเนินงานภายใต้ Meta

แต่ทว่าจนแล้วจนรอด Metaverse ก็ไม่เกิด แม้ว่า Mark จะทุ่มเงินมหาศาลไปกับการพัฒนาระบบ รวมไปถึงการพัฒนาอุปกรณ์อย่าง Quest Pro ที่ช่วยสร้างประสบการณ์บนโลก Metaverse ผ่านเทคโนโลยี VR บนโลกเสมือนจริง แต่ก็ไม่สามารถกระตุ้นให้ Metaverse กลายเป็นสิ่งที่น่าสนใจ ในทางกลับกันการเข้ามาของ TikTok ก็ทำให้ยักษ์ใหญ่อย่าง Facebook ถูกเขย่าจนสั่นคลอน

และด้วยการรุกตลาดอย่างหนักหน่วงของ TikTok โดยเฉพาะในด้าน Social Commerce เพื่อให้เป็นแพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจถึงตรงสู่ผู้บริโภค ทั้งในด้านการสื่อสารและการขาย ส่งผลให้ราคาหุ้นลดลงมหาศาลภายในวันเดียว และจำนวนผู้ใช้ก็ลดลงเช่นกัน จนเป็นที่มาของการที่ Mark ออกมายอมรับผิดถึงการตัดสินใจลงทุนที่ผิดพลาดและนำไปสู่การปลดพนักงานออกถึง 11,000 คน

 

เจฟฟ์ เบซอส (Jeff Bezos)

ถ้าการปลดพนักงาน 11,000 คนของ Mark Zuckerberg เป็นเรื่องใหญ่ของธุรกิจแล้ว ก็คงต้องยกให้ Amazon ของ Jeff Bezos เลวร้ายแทบไม่ต่างกัน นั่นเพราะในปี 2022 นี้มีการประกาศปลดพนักงานของ Amazon ลงจำนวนถึง 10,000 ตำแหน่ง แต่ส่วนหนึ่งที่ Jeff ไม่ค่อยมีชื่อเสียงในด้านอื้อฉาวมากเท่าไหร่ก็อาจเป็นเพราะในปีนี้ Jeff มีการประกาศมอบเงินเพื่อการกุศลจำนวนมหาศาล

ด้วย Jeff มีแผนที่จะมอบทรัพย์สินส่วนใหญ่ของเขาที่มีมูลค่ากว่า 1.2 แสนล้านดอลลาร์ ไปกับองค์กรการกุศล โดยเฉพาะองค์กรที่มุ่งเน้นเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการสนับสนุนผู้ที่สามารถทำให้มนุษยชาติรวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้ ลดความแตกแยกทางสังคมและการเมืองสามารถ นอกจากนี้ Jeff ยังเป็นที่รู้จักในฐานะของผู้ก่อตั้ง Blue Origin

อย่างที่ทราบดีว่า นอกจาก Jeff จะเป็นเจ้าของ Amazon แล้ว เขายังเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Blue Origin บริษัทที่พัฒนาอากาศยานสำหรับพาทุกคนไปสัมผัสประสบการณ์ที่ขอบอวกาศ โดยเขาได้เลือกเชิญ William Shatner ขึ้นไปด้วย โดย William เป็นนักแสดงที่เคยได้รับบทบาทเป็นกัปตันเคิร์กในซีรีย์ Star Trek ที่คาดว่าจะช่วยโปรโมทให้ทุกคนมาสัมผัสประสบการณ์ ณ สุดขอบอวกาศ แต่ดูเหมือนจะกลายเป็นคำขู่ถึงอันตรายที่ได้ขึ้นไปสัมผัสณพื้นที่สุดขอบอวกาศมากกว่า

นี่ยังไม่นับรวมถึงอุปกรณ์ AI ประจำบ้านอย่าง Alexa ที่ตอนแรกเหมือนจะได้รับความนิยมอย่างสูงแต่ไปๆ มาๆ กลับดูท่าจะไม่รอดเสียมากกว่าซึ่งต้องติดตามต่อไปว่า Jeff จะแก้ปัญหาหรือพัฒนา Alexa ไปในทิศทางใดต่อไปในอนาคต

 

อีลอน มัสก์ (Elon Musk)

และถ้าจะพูดถึงเรื่องราวที่ต่อเนื่องจากการที่ Elon Musk เข้าซื้อทวิตเตอร์ ก็คงจะต้องพูดถึงคนนี้ Parag Agrawal ผู้บริหารของ Twitter ที่ได้รับความไว้วางใจจาก Jack Dorsey หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Twitter ให้ขึ้นมาเป็นผู้บริหารในปี 2017 โดยเขามีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการสร้าง Machine Learning และระบบ AI โดยการเข้ามารับตำแหน่งผู้บริหารของ Twitter เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ Tiktok กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในหมู่วัยรุ่น

แต่เมื่อ Elon Musk ประกาศ เข้าสู่กิจการของทวิตเตอร์ด้วยมูลค่ากว่า 4.4 หมื่นล้านสหรัฐ และในช่วงระหว่างที่มีการเจรจาเข้าซื้อธุรกิจนั้น Musk ก็กลับลำขอล้มดีลในครั้งนี้ และปารักคือผู้ที่ขอยื่นฟ้องร้องต่อศาล จนกระทั่ง Musk ตัดสินใจก้าวเข้ามาสู่ทวิตเตอร์ในฐานะผู้นำสูงสุดขององค์กร และมีการปลดผู้บริหารสูงสุดของทวิตเตอร์ชุดเดิมออกแบบฟ้าผ่าและ Parag ก็เป็นหนึ่งในผู้บริหารที่ถูก Elon Much ปลดออกนั่นเอง

แม้ว่าก่อนหน้านี้ ปารักจะไม่ค่อยมีชื่อเสียงโดดเด่น หรือแม้แต่ตอนที่เข้ารับตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของ Twitter แต่หลังจากที่จบสิ้นดีลยักษ์ใหญ่ในครั้งนี้ ชื่อของปารักก็จะกลายเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง โดยล่าสุดพบว่าปารักยังคงอยู่ในสถานะ “ตกงาน”

 

เอลิซาเบธ โฮล์มส์ (Elizabeth Holmes)

เมื่อพูดถึงเรื่องตกงานคงต้องยกให้ Elizabeth Holmes ผู้ที่เรียกได้ว่านอกจากจะตกงานแล้วยังต้องติดคุกยาวๆ กันไปอีกด้วย โดยชื่อนี้อาจไม่เป็นที่คุณชินของใครหลายๆ คน แต่สำหรับในวงการ Startup แล้ว ว่ากันว่าเธอถูกยกให้เป็น Steve Jods ของเทคโนโลยีในด้านการแพทย์ โดยเธอเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Theranos บริษัทที่คิดค้นเทคโนโลยีเครื่องตรวจเลือดขนาดเล็กที่มีชื่อว่า Eduson โดยมีการโชว์ว่าใช้เลือดเพียงไม่กี่หยดที่ปลายนิ้วก็ตรวจรู้ได้ถึงโรคร้ายเป็นร้อยๆ ชนิด

เมื่อนักลงทุนรายใหญ่จำนวนมากมองเห็นถึงโอกาสของเครื่อง Edison นี้ หลังจากที่ได้รับฟังการนำเสนอของเธอ จนสามารถระดมทุนได้มากกว่า 900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเกือบ 30,000 ล้านบาท จนส่งผลให้มูลค่าของธุรกิจมีสูงถึง 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่งผลให้ Holmes กลายเป็นที่รู้จักของนักธุรกิจระดับโลกและยังสามารถขึ้นปกนิตยสารธุรกิจอย่าง Forbes, Fortune และ Time

เรื่องมันดันโป๊ะ เมื่อมีการนำผลตรวจเลือดจากเครื่อง Edison ไปเทียบกับผลตรวจเลือดที่ออกมาจากแล็ปที่ได้มาตรฐานระดับโลกดันไม่ตรงกันอย่างสิ้นเชิง แถมยังค้นพบว่า เครื่องดังกล่าวยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ ที่สำคัญยังมีการตั้งแล็ปปลอมเพื่อแสดงผลการทำงานและการตรวจเลือดที่มีมาตรฐานระดับโลก และนำไปสู่การฟ้องร้องด้วยข้อหาฉ้อโกงนักลงทุน รวมไปถึงการฉ้อโกงทางอิเล็กทรอนิกส์

ส่งผลให้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ Holmes ต้องจำคุกนานถึง 135 เดือน แต่คาดว่าจะมีการจอยื่นอุทธรณ์ต่อไป

 

แซม แบงค์แมน-ฟรายด์ (Sam Bankman-Fried)

และสุดท้ายต้องยกให้พ่อหนุ่ม Sam Bankman-Fried ผู้ที่เรียกได้ว่า มาทีหลังแต่มาแรง โดยเฉพาะในตลาดเงินดิจิทัล เมื่อบริษัทแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลอย่าง FTX โดยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจาก Binance ด้วยมูลค่าธุรกิจของ FTX ที่สูงมากถึงเกือบ 3.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนและกองทุนรายใหญ่ระดับโลกจำนวนมาก

ซึ่ง FTX อยู่ภายใต้การบริหารโดย Sam ทว่าก็มีหุ้นของ Binance อยู่ในนั้นด้วยถึง 20% แต่ด้วยความที่ทั้งคู่เป็นคู่แข่งกันในตลาดทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นอยู่เรื่อยๆ สุดท้าย Sam ก็ขอซื้อหุ้นคืนทั้ง 20% นอกจากนี้ FTX ยังมีการเปิดสกุลเงินดิจิทัล FTT เพื่อใช้ในการลงทุนอีกด้วย จนกระทั่งเมื่อมูลค่าของ FTT ร่วงระดับ 72% ส่งผลให้ FTX ต้องมีการระดมทุนครั้งใหญ่ และนำไปสู่การยื่นล้มละลายพร้อมกับการประกาศลาออกของ Sam

ปัญหามันอยู่ที่การระดมทุนครั้งใหญ่ ดันรวมไปถึงการกู้ยืมเงินจำนวนมหาศาลเพื่อมาเสริมสภาพคล่อง แถมก่อนยื่นล้มละลายดันประกาศระงับการถอนเงินและการสมัครสมาชิกใหม่ เมื่อตรวจสอบระบบภายในก็พบว่า เงินของลูกค้าจำนวนมากถูกโอนไปยังบัญชีที่ไม่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต โดยมีการชี้แจงว่าเป็นการป้องกันการถูกแฮกระบบ ที่สำคัญดันมีจำนวนเงินไหลออกจากระบบไปสู่บริษัทที่ FTX ไปกู้เงินไว้

และนั่นทำให้ Sam Bankman-Fried ถูกจับกุมและถูกตั้งข้อหาฉ้อโกงทันที แม้ในปัจจุบันจะอยู่ในขั้นตอนของการ สืบพยานและพิจารณาคดี แต่นั่นก็ทำให้ Sam ติด 1 ใน 5 ของนักธุรกิจที่มีข่าวและเรื่องอื้อฉาวที่สุดในปี 2022

 

Source: The Guardian


  • 235
  •  
  •  
  •  
  •  
Gigolo
เมื่อเทคโนโลยีอยู่ใกล้กับชีวิตทุกคน มารู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อใช้มัน แต่อย่าให้เทคโนโลยีมันใช้เรา
CLOSE
CLOSE