ผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้ Foursquare ของคนไทย

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

Foursquare คือ Web และ Mobile Application ที่นำ Location Based Service มารวมกับ Google Map ให้เราสามารถบอกตำแหน่งและสถานที่ของเราด้วยการ Check-in ให้เพื่อนรู้  และเพิ่มความสนุกด้วยการสะสม badges, เป็น Mayor และอื่นๆ เพื่อให้การ Check in ตามสถานที่ต่างๆ นั้นสนุกขึ้น

ปัจจุบันมีผู้ใช้ Foursquare ทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 4 ล้านคน และกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในแบบที่ควรจับตามอง   คนไทยเองก็มีหลายคนที่ใช้ Foursquare  ถึงจะเป็นกลุ่มสมาชิกที่ยังไม่มากนัก แต่ก็สามารถเพิ่มจำนวนสถานที่ต่างๆ ของไทยไว้จำนวนมาก  เรียกว่าจะไป check-in ที่ไหนก็มักจะมีคนเพิ่มชื่อสถานที่นั้นเอาอยู่แล้ว  และแม้แต่ Mayor ก็ยังได้ครอบครองสถานที่นั้นด้วยเช่นกัน  แต่ก็ยังคงเป็นที่ต้องการสำหรับนักการตลาดที่อยากจะทราบว่ามีจำนวนผู้ใช้ Foursquare ในไทยกี่คน  และมีพฤติกรรมการใช้งานอย่างไร

คงต้องขอขอบคุณ คุณปกรณ์ สันติสุนทรกุล หรือ @ponddekd (ผู้เขียนและทำแบบสำรวจ) ที่ช่วยแชร์บทความน่าสนใจให้กับ Marketing Oops!  เป็นข้อมูลจาก “ผลการสำรวจผู้ใช้งาน Foursquare ในไทย”  ซึ่งคุณปกรณ์ได้คัดย่อมาจากงานวิจัย Special Project หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเรื่อง “การยอมรับบริการเครือข่ายทางสังคมเฉพาะตาแหน่งของ Foursquare และปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับ”   เป็นผลงานเชิงวิชาการของเขาเอง โดยมี ผศ.ดร.ชัชพงศ์ ตั้งมณี เป็นที่ปรึกษาโครงการ    คุณปกรณ์ได้คัดเลือกบางส่วนของผลงานวิจัย เน้นจุดที่น่าจะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อทั้งผู้ใช้ทั่วไป ผู้พัฒนาระบบ และนักการตลาด โดยนำมาเรียบเรียงใหม่ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย

ที่มาของการสำรวจ

ที่มาที่ไปของการสารวจนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการสังเกตเห็นการใช้งาน Foursquare ในไทยที่เติบโตรวดเร็วจนเห็นได้ชัด   (ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2553) โดยสามารถพบเห็นสถานะการ “Check-in” ข้ามระบบจาก Foursquare มาปรากฏยัง Social Network ที่ได้รับความนิยมมาก่อนหน้า ทั้ง Facebook และ Twitter เป็นจำนวนมาก หากทำการสังเกตเพียงผิวเผินอาจเป็นที่สงสัยว่าเหตุใด Foursquare ถึงได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย   ทั้งๆ ที่ไม่อาจพบคุณประโยชน์ที่สาคัญอย่างเด่นชัดสาหรับการใช้งานในประเทศไทย ในขณะที่ในต่างประเทศมีการนำ Foursquare มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจต่างๆ เพื่อเสนอโอกาสทางการตลาดให้ลูกค้า

นอกจากนี้ยังไม่มีรายงานการสารวจผู้ใช้ Foursquare อย่างเป็นทางการในประเทศไทย ด้วยเหตุนี้จึงมีความสนใจที่จะทำการสำรวจผู้ใช้งานจริงในไทย เพื่อทำความเข้าใจคุณสมบัติของผู้ใช้, ทัศนคติของผู้ใช้ต่อ Foursquare ในด้านต่างๆ รวมถึงสาเหตุที่ใช้ในการตัดสินใจทดลองใช้งาน Foursquare ในฐานะที่ถูกจัดเป็นนวัตกรรมที่ได้รับความนิยมในปีนี้

การสำรวจทำขึ้นจากแบบสอบถามออนไลน์  โดยใช้เวลาในการสารวจ ตั้งแต่วันที่ 26 กรกฏาคม ถึง 20 สิงหาคม 2553 ที่ผ่านมา โดยมีผู้เข้าร่วมตอบแบบสารวจจานวน 513 คน

 

 

9 ประเด็นน่าสนใจจากการสารวจผู้ใช้ Foursquare ในไทย

1)   ในด้านเพศของผู้ใช้ พบว่ากลุ่มผู้ใช้เพศหญิงมีเพียง 30.80% ขณะที่เพศชายมี 69.20% ผู้เขียนคาดว่าสาเหตุที่มีการแพร่หลายในเพศหญิงน้อยกว่าเพศชายมาก อาจเกิดขึ้นจากความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัว และอาจรู้สึกถึงความซับซ้อนทางด้านเทคนิคสาหรับการเริ่มต้นใช้งานครั้งแรก จึงเป็นสาเหตุที่ทาให้เพศหญิงมีจานวนผู้ใช้งานที่ต่ากว่าเพศชายมาก

2)  ในด้านอายุของผู้ใช้ พบว่าผู้ใช้กลุ่มใหญ่ที่สุด 51.1% เป็นกลุ่มวัยทางานตอนต้น ( 23-30 ปี ซึ่งจัดว่าครอบคลุมกลุ่ม generation Y ) และ 83.8% ของผู้ใช้ทั้งหมดเป็นผู้ใช้ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ผู้เขียนคาดว่าการกระจุกตัวในประเด็นนี้ เกิดขึ้นเนื่องมาจาก Foursquare เป็นระบบที่มีต้นทุนในการใช้งานที่ค่อนข้างสูง เช่น โทรศัพท์มือถือที่จะสามารถใช้งานได้โดยสะดวกมีจากัดเพียงไม่กี่รุ่น ซึ่งล้วนแต่เป็นรุ่นที่มีราคาค่อนข้างสูง เช่น Blackberry, iphone และโทรศัพท์ที่สามารถใช้ระบบปฏิบัติการ Android ได้ นอกจากนี้ยังมีต้นทุนจากความต้องการใช้บริการผ่านอินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถืออีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นผู้ใช้จาเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งานอินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือด้วยเช่นกัน จากผลการสารวจด้านการใช้งานอินเตอร์เน็ตบนโทรศัทพ์มือถือพบว่าผู้ใช้ 61.8% เป็นสมาชิกอินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือแบบ unlimited package ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายรายเดือนสูงถึง 300-1,000 บาท นับได้ผู้ใช้ส่วนใหญ่ของ Foursquare น่าจะเป็นกลุ่มที่อานาจในการจับจ่ายสูง ผู้เขียนคาดว่าหากมีการเสนอโปรโมชั่นทางการตลาดผนวกเข้ากับ Foursquare กลุ่มผู้ใช้กลุ่มนี้อาจให้การตอบรับที่ดีได้ในทันที

3)  ในด้านสาขาอาชีพของผู้ใช้ พบว่ากลุ่มผู้ใช้หลัก 3 กลุ่ม ประกอบไปด้วย กลุ่มนักเรียน/นักศึกษา รองกลุ่มที่ทางานด้านไอที/เทคโนโลยี และกลุ่มที่ทางานด้านการตลาด ตามลาดับ ผู้เขียนคาดว่าผู้ใช้ทั้ง 3 กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีโอกาสได้ใกล้ชิดกับเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต และเทคโนโลยีบนโทรศัพท์มือถือในชีวิตประจาวันมากกว่าสาขาอาชีพอื่นๆ

4)  ในด้านเริ่มจุดเริ่มต้นของการใช้งาน Foursquare ผู้ใช้เริ่มสมัครใช้งานเนื่องจากสังเกตเห็นสถานะการ Check-in ของเพื่อนๆผ่านทาง Social network อื่นๆที่ใช้อยู่เป็นประจามาก่อน   ได้แก่ Facebook และ Twitter ทาให้อยากทดลองใช้งานบ้าง ผู้เขียนประเมินว่าหาก Foursquare ไม่ได้สร้างระบบเชื่อมต่อที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนเช่นนี้ อาจทาให้ปริมาณการแพร่กระจายของ Foursquare ต่ากว่านี้มาก ยิ่งไปกว่านั้นผู้ใช้ส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า ถ้าโทรศัพท์มือถือของตนเองไม่รองรับ Foursquare , แพ็กเกจอินเตอร์เน็ตโทรศัพท์มือถือของตนไม่รองรับการใช้งาน รวมไปถึงถ้าระบบมีการเก็บค่าใช้จ่ายในการใช้งานไม่ว่าจะเท่าไหร่ก็ตาม ผู้ใช้อาจจะไม่ได้ทดลองใช้ Foursquare อย่างแน่นอน ผู้เขียนประเมินว่าสถานการณ์นี้เกิดขึ้นได้ และแสดงให้เห็นว่าผู้ที่ต้องการทดลองใช้ นั้น ไม่สามารถรับรู้ถึงคุณประโยชน์ใดๆที่น่าจะได้รับจากการเริ่มใช้งาน Foursquare จึงทาให้ผู้ที่ต้องการทดลองใช้ไม่คิดจะปรับตัวเพื่อ Foursquare ก่อนอย่างแน่นอน

5)  ในด้านการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ ผู้ใช้งานกลุ่มใหญ่ลงความเห็นว่า คุณประโยชน์ที่สาคัญที่สุดของ Foursquare คือการเป็นเครื่องมือในการประกาศตาแหน่งที่ตนอยู่ ซึ่งสามารถทาการประกาศได้ง่ายดายกว่าการพิมพ์ข้อความด้วยตนเองผ่าน Facebook, Twitter อย่างที่เคยปฏิบัติมา เนื่องจาก Foursquare สามารถประกาศตาแหน่งได้โดยกดปุ่มเพียงไม่กี่คลิก คุณประโยชน์ที่สาคัญรองลงมาคือ ความสามารถในการบอกได้ว่ามีใครที่อยู่ในบริเวณสถานที่เดียวกับตนเองบ้าง นอกจากนี้ผู้ใช้ยังมองว่าเกมส์การสะสม Points, Badges, Mayorship ก็เป็นคุณประโยชน์สาคัญของ Foursquare ที่ทาให้ผู้ใช้งานหลายคนยังคงใช้งานต่อไปอย่างสนุกสนาน อย่างไรก็ตามผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่ได้คาดหวังกับความสามารถในการบันทึกประวัติการเดินทางของตนอย่างเป็นระเบียบมากนัก และไม่ได้คาดหวังจากการอ่าน Tips ใน Foursquare มากนัก

6)  ในด้านของพฤติกรรมการใช้งาน ผู้ใช้มีความกระตือรือร้นที่จะปักหมุดสถานที่ที่ไม่เคยมีบันทึกในระบบมาก่อน อาจเป็นเพราะต้องการประกาศให้ผู้อื่นทราบว่าเป็นคนแรกที่เดินทางมาถึง หรือต้องการ Check-in เป็นคนแรกเพื่อสะสม Mayorship เป็นของตนเอง นอกจากนี้ผู้ใช้ก็มีความกระตือรือร้นในการเชิญชวนเพื่อนมาใช้งานเพื่อสร้างเครือข่ายร่วมกัน และจะรู้สึกสนุกมากหากเพื่อนในเครือข่ายให้สังเกต ให้ความสนใจและร่วมโต้ตอบกับสถานะที่ตนเองได้ประกาศออกไป อย่างไรก็ตามกลับพบว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่กลับไม่ได้ให้ความสนใจ ในการติดตามสถานะการ Check-in ของเพื่อนๆเท่าใดนัก ผู้เขียนประเมินว่าผู้ใช้จะมีความ
กระตือรือร้นและมีความพึงพอใจกับกิจกรรมต่างๆที่สร้างผลดีต่อตนเอง ไม่ว่าจะเป็นด้านผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม ด้านความรู้สึกและการเป็นที่ยอมรับ มากกว่าการให้ความสนใจความเคลื่อนไหวของผู้อื่น

7)  ในด้านปริมาณการใช้งาน ผู้ใช้กลุ่มใหญ่ทาการ Check-in วันละ 1-5 ครั้ง ผู้เขียนคาดว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับจานวนสถานที่ๆผู้ใช้เดินทางในแต่ละวัน ประเภทสถานที่ที่ผู้ใช้ Check-in บ่อยที่สุด 3 กลุ่มแรก จะวนเวียนอยู่ระหว่าง 1) บ้าน 2) ที่ทางาน/สถานศึกษา 3) สถานที่อื่น เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว โดยอัตราการ Check-in จะมากขึ้นในวันหยุด เนื่องจากผู้ใช้มีโอกาสได้เดินทางไปในสถานที่ต่างๆในระหว่างวันมากขึ้น นอกจากนี้หากพิจารณาคาตอบจากกลุ่มผู้ใช้ทั้งหมดจะพบว่ามีผู้ใช้ที่รวมกันมากถึง 82.40% ที่ตอบว่าได้ใช้งานอย่างน้อย 1 ครั้งต่อวัน จัดเป็นระบบที่มีผู้ใช้งานสม่าเสมอ (active users) ในอัตราที่สูงมาก

8)  ในด้านความเป็นส่วนตัว ผู้ใช้งาน Foursquare ไม่ค่อยกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวในการใช้งานเท่าใดนัก ผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะไม่ปิดบังสถานะการ Check-in ของตนเอง อาจเป็นเพราะผู้ใช้สามารถตัดสินใจเลือกที่จะ Check-in เพื่อเปิดเผยตาแหน่งของตนเองได้โดยสมัครใจ ขณะที่สถานที่ใดที่ต้องการความเป็นส่วนตัว ผู้ใช้สามารถตัดสินใจที่จะไม่ Check-in ที่สถานที่นั้นได้

9)  ในด้านการเผยแพร่สถานะการ Check-in พบว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่จะเผยแพร่สถานะไปยัง Twitter มากกว่า Facebook อย่างเห็นได้ชัด ผู้เขียนคาดว่าอาจเป็นเพราะฐานผู้ใช้ Foursquare เป็นกลุ่มที่มาจากผู้ใช้งาน Twitter มากกว่าผู้ใช้งาน Facebook

หากท่านใดต้องการศึกษาผลงานวิจัยฉบับเต็มสามารถติดต่อได้ที่ห้องสมุดของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้โดยตรง


  •  
  •  
  •  
  •  
  •