GenY สนใจทำงานในองค์กรใหญ่…จริงหรือ

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

เชื่อกันว่าภายในปี 2020 GenY จะกลายเป็นกลุ่มประชากรที่ใหญ่ที่สุดในองค์กร อย่างไรก็ตามประเด็นร้อนของแต่ละองค์กรคือจะทำอย่างไรที่จะดึงดูดให้ GenY เข้ามาทำงาน และสำคัญไม่แพ้กันคือทำอย่างไรให้พวกเขาอยู่ในองค์กรได้นานๆ นี่คือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกและเราก็ได้เห็นเกิดการเปลี่ยนแปลงในหมู่ GenY ของไทยเช่นกัน  เหล่าGenY นั้นกำหนดเส้นทางอาชีพของตัวเองและมีเส้นทางที่ออกห่างจากการทำงานในองค์กรมากขึ้นเรื่อยๆ  ในช่วงนี้ทั่วโลกกล่าวถึงการที่ GenY มีการเปลี่ยนงานมากกว่า 5 งานภายในระยะเวลาเพียงแค่ 2 ปี กระโดดข้ามจากธุรกิจหนึ่งไปยังอีกธุรกิจหนึ่ง รวมไปถึงการเลือกสลับเปลี่ยนงานงานเพื่อสถานะทางการเงินที่ดีขึ้นมากกว่างานที่ทำงานเป็นเวลา 9 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็นร องค์กรเองจึงต้องปรับตัวเพื่อที่จะชนะใจและเพื่อให้ได้รับความภักดีจากกลุ่ม GenY เหล่านี้

อีกอย่างนึงที่น่าสนใจของกลุ่ม GenY คือการเปิดรับที่จะเรียนรู้และกล้าที่จะแดลออกถึงความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ทำให้สามารถสร้างแรงบันดาลใจและเป็นตัวกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการและวิธีการที่จะสื่อสารให้กับกลุ่ม GenY ในปัจจุบันด้วย

“ลักษณะของความเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เป็นผู้ประกอบการของกลุ่ม GenY”

แคทเธอลีน วิลเลี่ยม หัวหน้าการจัดทำรายงานชุดนี้ของมายด์แชร์ แนะนำว่าในบางครั้งธุรกิจต้องการการเรียนรู้ใหม่ๆจากกลุ่มเด็กที่ยังอายุน้อยบ้าง (reverse mentoring) เช่นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงแล้วสามารถเรียนรู้จากกลุ่ม GenY ที่ว่องไวและมีความคิดสร้างสรรค์ได้

จากการศึกษาในวัยรุ่นทั่วโลกที่เกิดระหว่างปี 1982 – 1995 ได้มีเห็นคุณลักษณะของการเป็นผู้มีความคิดริเริ่มในการประกอบการถึง 14 ประเภท โดยลักษณะดังกล่าวสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทพฤติกรรมนั่นคือ การเป็นนักสร้างสรรค์ นักสำรวจทางสังคม และ นักบุกเบิก ตัวอย่างที่ดีที่จะสนับสนุนว่ากลุ่ม GenY ของไทยเป็นกลุ่มใหญ่ของปรากฏการณ์นี้ดูได้จากจำนวนแฟนเพจบนเฟซบุคของนักสร้างสรรค์งานศิลปะซึ่งพวกเขาได้สร้างธุรกิจออนไลน์เล็กๆขึ้นเกี่ยวกับแฟชั่นและผลงานศิลปะ

www.facebook.com/shepherdbysiro, www.facebook.com/kutefan

“อะไรคือตัวผลักดันความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะเป็นผู้ประกอบการ”

  • • ได้แรงบันดาลใจจากบุคลคลสำคัญหรือผู้ที่มีอิทธิพลกับชีวิต
  • • มีประสบการณ์จากการเปลี่ยนแปลงของชีวิต • แรงจูงใจต่างๆ: อำนาจ,เงิน, ชื่อเสียง
  • • แรงปรารถนาที่จะออกจากโลกขององค์กร • การตามหาความสมดุลระหว่าง งาน-ชีวิต ด้วยการเสี่ยงภัยแบบลำพัง
  • • ตระหนักถึงประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อม และต้องการที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆเหล่านั้น
  • • ได้รับการสนับสนุนการพ่อ แม่
  • • อิทธิพลจากเพื่อนฝูง
  • • ความต้องการที่จะมีรายได้หรือเงินทุน: เพื่อการออม เพื่อจุนเจือครอบครัว  เพื่อการร่วมลงทุนในการทำธุรกิจ

ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.culturevulture.mindsharewrold.com Culture Vulture ยังมีแอปพลิเคชั่นที่สามารถดาวน์โหลดได้จาก iTunes สำหรับ iPad อีกด้วย http://itunes.apple.com/gb/app/mindshare-culture-vulture/id48802105?mt=8&Is=1

[via Mindshare Worldwide]
บทความจาก มายด์แชร์ เอเยนซี่เครือข่ายด้านการตลาดและการสื่อสาร โดย ปัทมวรรณ สถาพร- Head of Business Planning, MINDSHARE


  •  
  •  
  •  
  •  
  •