เมื่อแบรนด์ไม่ได้แค่ขายสินค้า แต่สร้างประสบการณ์ที่ฝังรากในชีวิตผู้คน
จากบทความที่ผ่านมา ของการเดินทางร่วมทริป LG HS Asia Press Tour 2025 ที่กรุงโซล เกาหลีใต้ “ก้าวข้ามเครื่องใช้ไฟฟ้า: สู่โลกใหม่แห่งการอยู่อาศัยอัจฉริยะ ประสบการณ์ตรงจากทริป LG ที่เกาหลีใต้“
Marketing Oops! ได้สัมผัสอีกมุมหนึ่งของ LG ที่น่าสนใจ มุมที่หลายคนอาจไม่เคยเห็นชัดเจน เนื่องจาก LG ไม่ได้มองตัวเองแค่แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้า แต่คือ “ผู้ออกแบบวิถีชีวิต” (Lifestyle Designer) ที่ปลูกฝังตัวเองในชุมชน ผ่านการสร้าง “พื้นที่ประสบการณ์” ที่มีความหมาย

แนวทางนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะกระแส CSR แต่คือยุทธศาสตร์ระยะยาว ที่มองเห็นว่าการสร้างสายใยระหว่างแบรนด์และผู้บริโภค ต้องลึกกว่าการขายและโฆษณา
ตลอดทริปนี้ เราได้ลงพื้นที่ 3 จุดสำคัญที่ LG ได้สร้างประสบการณ์ในชีวิตคนเกาหลีอยากน่าสนใจ ทั้ง LG Heritage & Inspiration Gallery, Goldstar Refreshment Center และ Another Campus ที่ Seoul National University ที่สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า
“แบรนด์ที่ยิ่งใหญ่ในอนาคต จะไม่ใช่แบรนด์ที่ขายเก่งที่สุด แต่เป็นแบรนด์ที่ฝังตัวได้แนบเนียนที่สุดในชีวิตประจำวันของผู้คน”
1. LG Heritage & Inspiration Gallery: เมื่อแบรนด์เล่าเรื่องตัวเองด้วยความจริงใจ
ที่เมืองชางวอน ประเทศเกาหลีใต้. LG สร้างพื้นที่ Heritage & Inspiration Galleryเพื่อเล่าเรื่องราวตลอด 60 ปีของตนเอง — ตั้งแต่วันแรกที่ใช้ชื่อ Goldstar ไปจนถึงการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี AI Core-Tech ในปัจจุบัน
สิ่งที่น่าสนใจคือ LG ไม่ได้เล่าแค่ “ความสำเร็จ” แต่กล้าที่จะเปิดเผย “วิวัฒนาการ” ของตนเอง ผ่านโซนต่างๆ เช่น
- Intro Zone: เล่าเรื่องจุดเริ่มต้นแบบดั้งเดิมที่เรียบง่าย
- History Zone: โชว์พัฒนาการทั้งด้านผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม
- Core-Tech Zones: เปิดเผยเบื้องหลังเทคโนโลยีที่ซ่อนอยู่ในสินค้าทุกชิ้น
การออกแบบให้ผู้เยี่ยมชมได้ “สัมผัส” และ “อิน” กับเส้นทางการเติบโตของ LG อย่างใกล้ชิด
สะท้อนให้เห็นว่าการสร้างแบรนด์ที่ยั่งยืน ต้องไม่ใช่แค่ขายสินค้าใหม่เท่านั้น แต่ต้องกล้าที่จะเล่า “ตัวตน” และ “ความตั้งใจ” ออกมาอย่างโปร่งใส


2. LG Goldstar Refreshment Center: เมื่อแบรนด์สร้างศูนย์เยียวยาคนเมืองอย่างมีกลยุทธ์
หนึ่งในพื้นที่ที่สร้างความประทับใจที่สุด คือ Goldstar Refreshment Center ย่านตลาดกยองดง (Gyeongdong Market)
ศูนย์กลางนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่าง LG และ Starbucks เพื่อเติมเต็มชีวิตคนเมืองผ่านประสบการณ์ที่หลากหลาย:
-
Heritage Corner: เล่าเรื่องความสำเร็จรุ่นแรกของ Goldstar
-
Refresh Corner: Personalized Video Therapy เพื่อปรับอารมณ์
-
Style Refresh Corner: ทดลองใช้ LG Styler และ ShoeCare รีเฟรชเสื้อผ้าและรองเท้า
-
TROMM House: พื้นที่ซักผ้าอัจฉริยะที่ใช้งาน AI จริง
-
Escape From Your Worries Corner: Room Escape ใช้เทคโนโลยี LG ThinQ
ที่น่าสนใจที่สุดคือ
Starbucks ในพื้นที่เดียวกัน ทำหน้าที่เป็น “Third Place” อย่างกลมกลืน —
ไม่ใช่แค่ร้านกาแฟ แต่เป็นส่วนหนึ่งของ Lifestyle Ecosystem ที่เชื่อมต่อเทคโนโลยี การพักผ่อน และความเป็นชุมชนเข้าด้วยกัน
Goldstar Refreshment Center คือบทพิสูจน์ว่า
แบรนด์ไม่ต้องอยู่ในโฆษณาอีกต่อไป — แบรนด์ต้อง “อยู่ในชีวิตจริง” ของผู้คน

3. Another Campus ณ SNU University: เมื่อแบรนด์เข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของคนรุ่นใหม่
อีกหนึ่งตัวอย่างเชิงกลยุทธ์ที่น่าศึกษาคือ Another Campusที่ LG เปิดตัวภายในมหาวิทยาลัยโซล (SNU)
ที่นี่ไม่ใช่แค่ “พื้นที่โปรโมตสินค้า” แต่เป็นการสร้างพื้นที่ “พักผ่อนระหว่างเรียน” สำหรับนักศึกษา — พร้อมติดตั้งผลิตภัณฑ์ LG ที่ผสานเข้ากับไลฟ์สไตล์ประจำวัน เช่น
- ตู้เย็น MoodUP เปลี่ยนสีตามอารมณ์
- Styler และ ShoeCare เพื่อดูแลเสื้อผ้าและรองเท้า
- เครื่องปลูกต้นไม้ tiiun mini สำหรับพื้นที่สีเขียวส่วนตัวเล็กๆ
- เก้าอี้นวด เครื่องดูดฝุ่น ทีวี และอุปกรณ์อื่นๆ
Another Campus ถูกออกแบบมาเพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้มีประสบการณ์จริงกับแบรนด์โดยไม่รู้สึกว่าถูกขายของ
สร้างการเชื่อมโยงเชิงอารมณ์ที่แน่นแฟ้นกว่าโฆษณาใดๆ และวางรากฐานลูกค้าในอนาคตอย่างแนบเนียน
เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น เราได้สัมภาษณ์นักศึกษาจาก Seoul National University ถึงความรู้สึกที่มีต่อพื้นที่แห่งนี้


Comment จากนักศึกษา: LG Life Experience ผ่านสายตาคนรุ่นใหม่
นักศึกษาคนหนึ่งเล่าให้เราฟังว่า
“ผมคิดว่าสเปซนี้เป็นโอกาสที่ดีมากสำหรับนักศึกษาอย่างพวกเรา เพราะก่อนหน้านี้ การไปดูเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาแพงเป็นเรื่องยากสำหรับนักศึกษา แต่ที่นี่ทำให้เราสามารถสัมผัสและคุ้นเคยกับรุ่นเรือธงของ LG ได้จริงๆ”
โอ้ปป้าคนนี้เสริมว่าผลิตภัณฑ์ LG ที่รู้สึกคุ้นเคยที่สุดคือ “เครื่องดูดฝุ่น” และยังใช้ “เก้าอี้นวด” และ “ไมโครเวฟ” อยู่เป็นประจำ
ส่วนมุมมองที่มีต่อแบรนด์ LG นั้น โอ้ปป้ายิ้มก่อนตอบว่า
“ในเกาหลีมีวลีที่พูดกันว่า ถ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ก็ต้อง LG”
อีกหนึ่งเสียงจาก Jinu Hong นักศึกษาชั้นปีสุดท้าย สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ เล่าอย่างประทับใจว่า
“โดยรวมแล้วผมคิดว่าที่นี่น่าประทับใจมากครับ เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายอย่างมีราคาค่อนข้างสูง เช่น Styler ซึ่งแม้ผมจะไม่ได้ใช้งานบ่อย แต่การมีอุปกรณ์แบบนี้ในมหาวิทยาลัยถือว่าน่าสนใจมาก”
Jinu Hong เล่าว่าอุปกรณ์ที่รู้สึกคุ้นเคยที่สุดคือ “ไมโครเวฟ” เพราะร้านสะดวกซื้อในมหาวิทยาลัยมีอาหารพร้อมอุ่นร้อนจำนวนมาก ทำให้กลายเป็นสิ่งที่ใช้จริงในชีวิตประจำวัน
เมื่อถามถึงภาพในอนาคตหากต้องสร้างบ้านของตัวเอง เขาตอบว่า
“ผมอยากใช้ผลิตภัณฑ์ของ LG หลายอย่างเลยครับ ทั้งตู้เย็น เก้าอี้นวด รวมถึงการใช้แอป IoT ที่เชื่อมต่อทุกอย่างเข้าด้วยกัน ทั้งระบบทำความร้อน ตู้เย็น และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้ชีวิตที่บ้านสะดวกสบายมากขึ้น”
น่าสนใจว่าความรู้สึกเหล่านี้ ไม่ได้เกิดจากการรับรู้แบรนด์ผ่านโฆษณา แต่เกิดจาก “การได้ใช้จริงในชีวิตประจำวัน” ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของแนวคิด Life Solution ที่ LG วางเอาไว้อย่างแนบเนียน
แนวทางต้นแบบ: สู่การออกแบบ Customer Lifestyle Experience อย่างแท้จริง
สิ่งที่ LG แสดงให้เห็นผ่านการสร้างพื้นที่ทั้งสามแห่ง ไม่ได้เป็นเพียงกลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์รูปแบบใหม่
แต่เป็นการวางรากฐานของ Customer Lifestyle Experience (CLX) อย่างเป็นระบบ
แทนที่จะมุ่งเน้นเพียงการนำเสนอสินค้า LG เลือกสร้าง “พื้นที่” และ “ประสบการณ์” ที่ทำให้ผู้บริโภคได้สัมผัสแบรนด์และผลิตภัณฑ์ในบริบทของชีวิตจริง โดยมีแกนกลางอยู่ที่การเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ของผู้คนอย่างกลมกลืน (Seamless Lifestyle Integration)
โมเดลที่เห็นชัดเจนในกรณีศึกษานี้ คือ
- From Product Display to Life Integration
จากการตั้งโชว์สินค้าสู่การสร้างพื้นที่ใช้ชีวิตจริง เช่น Another Campus ที่เครื่องใช้ไฟฟ้ากลายเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันของนักศึกษา ไม่ใช่แค่สินค้าที่ตั้งโชว์ให้ดู - From Brand Awareness to Emotional Affinity
จากการสร้างการรับรู้ (awareness) สู่การสร้างความผูกพัน (affinity) ผ่านประสบการณ์เชิงอารมณ์ เช่น การใช้ Goldstar Refreshment Center เพื่อเชื่อมโยงสุขภาพใจ ความสดชื่น และเทคโนโลยีของ LG เข้าด้วยกัน - From Product-Centric to Value-of-Life Focused
จากการนำเสนอ “คุณสมบัติสินค้า” สู่การนำเสนอ “คุณค่าของชีวิต” เช่นที่ LG Heritage & Inspiration Gallery ถ่ายทอดเรื่องราวการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เพียงเพื่อขายฟังก์ชันใหม่
โอกาสสำหรับแบรนด์ไทย
สำหรับแบรนด์ไทย การสร้าง Customer Lifestyle Experience ในลักษณะนี้
คือก้าวสำคัญในการยกระดับแบรนด์จากระดับ “ผู้ขาย” (Seller) ไปสู่ระดับ “ผู้ร่วมสร้างวิถีชีวิต” (Co-Creator of Lifestyle)
โดยแนวทางที่ควรนำไปปรับใช้ ได้แก่:
- Design Everyday Moments: ออกแบบพื้นที่หรือประสบการณ์ที่เชื่อมโยงแบรนด์เข้ากับ “ช่วงเวลาประจำวัน” ของกลุ่มเป้าหมายอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ใช่การหยิบมาใช้เฉพาะโอกาสพิเศษ
- Create Emotional Ecosystems: สร้างระบบนิเวศทางอารมณ์ที่แบรนด์มีบทบาทในการเติมเต็มหรือเยียวยา ไม่ใช่เพียงการขายฟีเจอร์ เช่น การออกแบบพื้นที่พักผ่อน ห้องรีเฟรช หรือ Co-Living Experience Center
- Shift from Selling to Living: ปรับวิธีคิดจากการ “นำเสนอสินค้า” เป็น “การนำเสนอชีวิตที่ดีขึ้น” แล้วค่อยนำสินค้าเข้าไปมีบทบาทในเส้นทางนั้น
ในยุคที่ผู้บริโภคไม่ต้องการเพียง “สินค้าที่ดี” แต่ต้องการ “ชีวิตที่ดี”
แบรนด์ที่เข้าใจและออกแบบประสบการณ์แบบ Customer Lifestyle Experience ได้ก่อน จะเป็นผู้ชนะในระยะยาว
LG แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนในครั้งนี้ว่า
การสร้างพื้นที่แห่งความรู้สึก ความผูกพัน และการใช้ชีวิตร่วมกับแบรนด์ — คือการลงทุนที่มีมูลค่าสูงกว่าแค่ยอดขายระยะสั้นหลายเท่า
และนั่น คือทิศทางที่แบรนด์ไทยควรเร่งมองหาและก้าวตามในอนาคตอันใกล้
เขียนโดย ณธิดา รัฐธนาวุฒิ
อ่านบทความ Exclusive Insider เพิ่มเติมได้ที่นี่
บทความ Exclusive นี้เผยแพร่บน Marketing Oops! เป็นที่แรกที่เดียว
Copyright© MarketingOops.com