(สรุป) การทำแคมเปญ #อีเมล์ ยังสำคัญอยู่มั้ย? และอะไรคือพลังการตลาดแบบ #Personalization

  • 296
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ไม่ว่าโลกเราจะหมุนรอบสื่อโซเชียลไปมากแค่ไหน หรือมีแพลตฟอร์มสื่อสารอื่นๆ เพิ่มเข้ามา แต่สำหรับ #อีเมล์ ยังเป็นช่องทางสื่อสารคลาสิกที่คนยังใช้อยู่เป็นอันดับต้นๆ ทั่วโลก อย่างที่ RADICATI GROUP บริษัทวิจัยการตลาดเทคโนโลยี ที่เปิดเผยว่า มีผู้ใช้อีเมล์ (active users) ในปี 2020 ประมาณ 4,037 ล้านคนทั่วโลก และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 4,371 ล้านคนในปี 2023

และที่น่าสนใจคือ จำนวนอีเมล์ที่ส่งหากัน ไม่ว่าจะในองค์กร, การประชุม, ลูกค้า, ภาคธุรกิจ รวมๆ แล้วเฉลี่ยต่อวันมากถึง 306 พันล้านฉบับในปี 2020 และน่าจะแตะ 347 พันล้านฉบับในอีก 2 ปีข้างหน้า

พฤติกรรมเหล่านี้สะท้อนภาพเร็วๆ ว่า “อีเมล์ยังสำคัญต่อการสื่อสารบนโลกใบนี้”

อย่างที่ Join Adrian Turner, senior personalization lead ธนาคารเพื่อการพัฒนาธุรกิจในแคนาดา (BDC) ที่แชร์มุมมองเกี่ยวกับ #แคมเปญอีเมล์ ว่าทำไมถึงยังสำคัญแม้ว่าการทำการตลาดออนไลน์อื่นๆ จะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

“การติดต่อหรือส่งข้อความทางอีเมล์ จะช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าแข็งแรงขึ้นอย่างที่คิดไม่ถึง”

 

 

แต่สิ่งสำคัญคือ ในแต่ละอีเมล์ที่เราส่งไปหาลูกค้าจำเป็นต้องกลั่นกรองมาอย่างดีแล้วว่ามีประโยชน์จริงๆ เพราะปัจจุบันต้องบอกว่า การทำมาร์เก็ตติ้งแบบ #หว่านแห อาจใช้ไม่ได้ผลอย่างเมื่อก่อนแล้ว เพราะความเป็น Personalization หรือ เฉพาะบุคคลมากๆ จะสะท้อนถึงความเอาใจใส่ และความรู้จักคนๆ นั้นดีเพียงพอหรือไม่ เป็นต้น

และด้วยเหตุผลที่ผู้บริโภคนิยมความเป็น personal มากๆ ดังนั้น แคมเปญอีเมล์จึงเป็นช่องทางที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ เพราะเป็นรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ 1 ต่อ 1 กับ user นั้นๆ แค่คนเดียว นั่นหมายความว่า แคมเปญอีเมล์ที่ดีและดึงดูดลูกค้า นอกจากจะสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวได้ ยังเพิ่มโอกาสปิดการขายได้สูงด้วย

สำหรับบทวิเคราะห์ของ campaign monitor ได้พูดถึง องค์ประกอบ 3 อย่างที่จำเป็นมากๆ ในแคมเปญอีเมล์ เพื่อให้เข้าถึงผู้รับ เกิดประสิทธิภาพจริงๆ นั่นก็คือ

 

Relevant (ความเกี่ยวข้อง)

ในแต่ละวันจำนวนอีเมล์ที่ส่งไปมาทั่วโลกมีจำนวนมากอย่างมหาศาล ดังนั้น ถ้าเราต้องการสร้างแคมเปญอีเมล์ของเราไม่ให้กลายเป็นที่น่ารำคาญ หรือ หงุดหงิดใจที่ได้รับ สิ่งรกที่ต้องคำนึงถึงก็คือ ความเชื่อมโยงหรือความเกี่ยวข้องกับผู้รับ

เช่น ผู้รับเป็น user ที่อายุระหว่าง 18-24 ปี แต่ถ้าคุณส่งแคมเปญอีเมล์ไปด้วยข้อความที่เกี่ยวกับ #บ้านพักคนชรา หรือ นวัตกรรมสำหรับคนสูงอายุ ก็อาจจะทำให้ความสนใจในอีเมล์นั้นๆ ลดลงไปมาก

นอกจากนี้ ลักษณะการเลือกใช้คำให้ดูมีความเกี่ยวข้อง ด้วยการ #เรียกชื่อ #ระบุชื่อ ก็มีโอกาสในการถูกคลิกเปิดอีเมล์ที่มากกว่า

www.campaignmonitor.com

 

Timely (ทันเวลา)

แคมเปญอีเมล์ที่ดี อย่างน้อยๆ ต้องมีความ up to date หรือ ความทันสมัย ที่ไม่ได้หมายถึงแค่การดีไซน์ภาพ การดีไซน์ตัวอักษร หรือลำดับในการจัดวางเท่านั้น แต่การ pick up บริการหรือโปรดักส์นั้นๆ ถ้าไม่ร่วมสมัยก็คงลดความสนใจลงไปมากที่เดียวเช่นกัน

รวมไปถึง ทันเวาสำหรับเทศกาล วันสำคัญ หรือวันพิเศษในแต่ละปีด้วย ส่วนเรื่องเวลาที่เราส่งแคมเปญอีเมล์ล่วงหน้าไปถึงผู้รับ ก็มีความสำคัญมากเช่นกัน (ไม่เร็วไป และไม่สั้นเกินไป)

 

Comes from a person (อีเมล์มาจากบุคคล)

หากผู้ส่งมาจากภาพโลโก้ ชื่อบริษัท หรือภาพสินค้า อาจจะดูมีความน่าสนใจที่น้อยลง เผลอๆ แคมเปญอีเมลของเราอาจจะถูกส่งไปนอนในกล่อง #อีเมล์ขยะก็ได้ ดังนั้น ผู้ส่ง ควรเป็นบุคคล ภาพบุคคล เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือมากกว่า

ทั้งนี้ บทวิเคราะห์นี้สามารถยืนยันได้ว่า แคมเปญอีเมล์ที่เป็นรูปแบบ Personalize ยังสร้างโอกาสให้กับธุรกิจ/แบรนด์ค่อนข้างสูง แต่ต้องทำความเข้าใจปัจจัยอื่นที่เป็นองค์ประกอบร่วมด้วย อย่างน้อยๆ การดีไซน์ที่ถูกจริตของผู้รับเฉพาะคนนั้นๆ จะสร้างความประทับได้มากขึ้น

 

www.campaignmonitor.com

 

 

 

ที่มา: martechtoday, campaignmonitor


  • 296
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม