ยิ่งกว่าปลอดภัย! เมื่อสถานการณ์โลกเปลี่ยนไป เรียนรู้วิธียกเครื่อง ‘สนามบิน’ 5 ways ให้กลายเป็น ‘Super Technology’

  • 126
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ในช่วงนี้เริ่มมีข่าวเปิดประเทศกันบ้างแล้ว อย่างไต้หวัน และญี่ปุ่น ที่เริ่มกำหนดชัดเจนให้นักท่องเที่ยวต่างชาติสามารถเข้าประเทศได้อีก 2-3 เดือนข้างหน้านี้ หรือแม้แต่การที่รัฐบาลเริ่มวางแผนกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในให้เร็วที่สุด หลังจากที่การระบาดของ Coronavirus กัดกินเศรษฐกิจโลกมานานหลายเดือน

หนึ่งในอุตสาหกรรมที่ผู้เชี่ยวชาญหลายๆ แขนงลงความเห็นกันว่า ต้องปรับตัวโดยเร็วและอาจต้องใช้เวลานานก็คือ ‘อุตสาหกรรมการบิน’ ไม่ใช่แค่บรรดาสายการบินเท่านั้น แม้แต่สนามบินก็มีส่วนทำให้ความเชื่อมั่นของผู้โดยสารฟื้นคืนมาเร็วขึ้น ด้วยการปรับเปลี่ยนและยกเครื่องโครงสร้างในหลายๆ ส่วนให้เป็นมากกว่า ‘ความปลอดภัย’

ในเมื่อเราต่างก็เข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัวมานานแล้ว ดังนั้น ระบบภายในสนามบินอะไรบ้างที่ควรปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้นหลังจากนี้ บทความวิเคราะห์ของ Monica Pitrelli บรรณาธิการด้าน Global Traveler ของ CNBC  ได้หยิบยกประเด็น ‘สนามบินแห่งอนาคต(อันใกล้)’ ด้วยการชูกรณีศึกษาจากบางสนามบินที่เริ่มลงมือปฏิบัติไปบ้างแล้ว ว่ามีความน่าสนใจและน่าจะเป็น role model ให้กับสนามบินทั่วโลกได้

 

 

 

โดยมี 5 วิธีการยกเครื่องไปสู่ Airports of the (near) future

1.เทคโนโลยีไร้สัมผัสต้องมา (Touchless Technology Era)

ประเมินกันว่าเทคโนโลยีไร้สัมผัสจะได้รับความนิยมกันอย่างกว้างขวางมากขึ้นหลังจากที่หมดยุคของ COVID-19 แล้ว อย่างที่ Ibrahim Ibrahim ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาการดีไซน์สนามบินในกรุงลอนดอน กล่าวว่า

“พูดง่ายๆ คือนวัตกรรมที่เราคาดการณ์กันว่าจะนำมาใช้ในอีก 5 ปีข้างหน้า เราอาจได้เห็นเร็วขึ้นในอีก 5 เดือนข้างหน้า เพราะสถานการณ์โลกบังคับให้เราต้องเร่งการพัฒนา และนำมาประยุกต์ใช้ให้เร็วที่สุด ไม่ว่าเป็นการใช้ระบบเทอร์โบชาร์จ (turbo-charged) เพื่อสร้างความรวดเร็วในการตรวจสอบ, ระบบความปลอดภัยต่างๆ ภายในสนามบิน จนไปถึงการขึ้นเครื่อง”

นอกจากนี้ การตรวจสอบตัวตนของผู้โดยสารคาดว่าจะถูกแทนที่ทั้งหมดทุกกระบวนการด้วยเทคโนโลยีจดจำใบหน้า และการสแกนม่านตา เป็นต้น

ทั้งนี้ ในท่าอากาศยานนานาชาติฮาร์ทสฟิลด์–แจ็คสัน แอตแลนตา รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา ได้เริ่มใช้ระบบดังกล่าวตั้งแต่ปี 2018 ขณะที่สายการบินยูไนเต็ด มีโครงการนำร่องทดสอบการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ที่ซานฟรานซิสโก, วอชิงตัน, ดัลเลส และ ฮูสตัน ส่วนในหลายๆ ประเทศเองก็เริ่มเสนอโครงการทดสอบบ้างแล้ว อย่างท่าอากาศยานในแคนาดา, ญี่ปุ่น, อิตาลี, สเปน และประเทศไอซ์แลนด์

 

 

Andrew O’Connor รองประธานฝ่ายการจัดการพอร์ตโฟลิโอของ Sita บริษัทเทคโนโลยีการขนส่งทางอากาศ พูดไว้ว่า “โทรศัพท์มือถือของเราจะกลายเป็นรีโมตควบคุมและจัดการการเดินทางของคุณทั้งหมดต่อจากนี้ คุณจะสามารถตอบโต้กับตู้ Check-in, ตู้ฝากกระเป๋า หรือกระบวนการอื่นๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือของคุณเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น”

อีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจ คือ ท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ กับ ‘อุโมงค์อัจฉริยะ’ (smart tunnel) ที่ใช้เทคโนโลยีไบโอเมตริกสำหรับความปลอดภัยด้ายการตรวจคนเข้าเมือง เพียงสแกน-เช็ค-ส่งต่อข้อมูลหาเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ทั้งหมดใน 15 วินาที

Credit Photo : GIUSEPPE CACACE/AFP

 

2.การปรับวิธีเช็คความปลอดภัย (Changing the security line)

อย่างที่ทราบกันว่าแถวในการรอตรวจสอบกระเป๋าสัมภาระ สิ่งต้องห้ามต่างๆ  และผู้โดยสารยาวเป็นหางว่าวเกือบทุกประเทศทั่วโลก เพราะกระบวนการตรงนี้ใช้เวลาพอสมควรในการเช็คตรวจสอบเพื่อความปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นจุดเสี่ยงสำหรับสถานการณ์โลกแบบนี้ด้วย เพราะผู้คนจะแออัดเป็นพิเศษ

 

 

ดังนั้น การบุกกิ้งเพื่อจองคิวในการตรวจสอบสัมภาระเหล่านี้ จะเป็นหนึ่งในกระบวนการที่ช่วยลดความแออัดลงได้ อย่างเช่นที่ท่าอากาศยาน Montréal–Trudeau International ในแคนาดา ผู้โดยสารจำเป็นต้องบุกกิ้งคิว screenings สัมภาระของตัวเอง อีกทั้งยังเป็นการช่วยให้ภายในสนามบินสามารถจัดการกับพื้นที่และจำนวนผู้โดยสารในแต่ละช่วงได้ดีขึ้น

นอกจากนี้ ประเมินกันว่าในอนาคตจะมีเทคโนโลยีประเภทอื่นที่มาช่วยในด้านความปลอดภัยให้ดีขึ้น เช่น เทคโนโลยีที่ใช้ภาพรังสีเอกซ์ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ (computed tomography) apply ด้วยระบบอัลกอริทึม (Algorithm) และการจับภาพแบบ 3D สำหรับการตรวจสอบระเบิด และวัตถุต้องห้าม เป็นต้น

 

Credit Photo : bibiphoto/Shutterstock

3.ทำความสะอาดแบบหมดจด ทั้งคน – สัมภาระ (Cleaning everything from luggage to people)

บริษัท Simpliflying บริษัทให้บริการด้านกลยุทธ์การตลาดของสายการบิน ประเมินว่า สนามบินแห่งอนาคตน่าจะมีกระบวนการหนึ่งที่เปลี่ยนไป นั่นคือ การทำความสะอาดทั้งคน และสัมภาระทุกชิ้น ยกระดับความปลอดภัยแบบขั้นกว่า โดยเรียกระบบนี้ว่า ‘sanitagged’ เป็นการ check-in สัมภาระบนสายพานอย่างหนึ่งยืนยันได้ว่า ผ่านมาฆ่าเชื้อมาทุกรูปแบบแล้ว ทั้งวิธีการพ่นละอองแอลกฮฮล์ – ฆ่าเชื้อด้วยแสง UV เข้มข้น – เทคนิคการสแกนสิ่งของอย่างเร็วเพื่อประหยัดเวลา

Credit Photo : Uskarp/Shutterstock

และไม่ใช่แค่สัมภาระเท่านั้นที่จะถูกทำความสะอาดจนเกลี้ยง แต่ผู้โดยสารเองก็ต้องถูกทำความสะอาดด้วย ตัวอย่างที่ท่าอากาศยานฮ่องกง ที่ใช้ full-body CleanTech ฆ่าเชื้อโรคตั้งแต่หัวจรดเท้าภายใน 40 วินาที ส่วนในหลายๆ พื้นที่ภายในอาคารผู้โดยสาร หุ่นยนต์ทำความสะอาดจะคอยทำงานฆ่าไวรัส, แบคทีเรียภายในอากาศ เคลมไว้ว่าจะช่วยป้องกันได้ 99.99%

 

Credit Photo : Sorbis/Shutterstock

 

 

4.อาคารโดยสารต้องไร้การแออัด (More relaxed and spacious terminals)

ผู้เชี่ยวชาญประเมินกันว่า ‘ห้องรับรองผู้โดยสารขาออก’ จะมีร้านค้าหรือสิ่งอำนวยความสะดวก เอ็นเตอร์เทนเมนท์ต่างๆ เพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้โดยสารอาจใช้เวลากับตัวเองมากขึ้น มากกว่าที่จะพูดคุยกับคนอื่นเพื่อลดความเสี่ยง นอกจากนี้ หากกระบวนการตรวจสอบตั้งแต่ตั้งแต่ check-in ตั๋วโดยสาร จนไปถึงกระบวนการสแกนความปลอดภัยเร็วขึ้น ผู้โดยสารจะเหลือเวลาในการใช้จ่ายภายในอาคารขาออกมากขึ้น

 

Credit Photo : Courtesy of Louisville Muhammad Ali International Airport/CNBC

ขณะที่ประเมินว่าภายในสนามบินอาจใช้ระบบการชำระเงินแบบดิจิทัลมากขึ้น แทนที่เพิ่มจำนวนพนักงานที่เป็นคน หรือมีความเป็นไปได้ที่จะเห็นการติดต่อพนักงานขายเสมือนจริงผ่านหน้าจอแทน อย่างเช่น ที่ท่าอากาศยานนานาชาติ Louisville Muhammad Ali ในรัฐเคนทักกี สหรัฐฯ

 

5.เพิ่มขั้นตอนตรวจสอบด้านสุขภาพ/โรค (A check on disease, rather than a conduit)

สิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้เลยก็คือ เพิ่มจุดคัดกรอง หรือตรวจสอบด้านสุขภาพมากขึ้นภายในสนามบิน ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น ใช้เวลาน้อยลง และต้องสะดวกสบายที่สุดสำหรับผู้โดยสาร

Credit Photo : NAUFAL ZAQUAN/Shutterstock

 

อย่างเช่นที่ ท่าอากาศยานนานาชาติอาบูดาบี จุดคัดกรองของสายการบิน Etihad ที่เพิ่มขึ้นตอนตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย, การเต้นของหัวใจ และตรวจวัดระบบทางเดินหายใจของผู้โดยสารอีกครั้ง ก่อนที่จะเข้าสู่ Gate เพื่อขึ้นเครื่องบินโดยสาร

หรือที่ท่าอากาศยานนานาชาติฮาหมัด โดฮา ประเทศการ์ตา ที่เจ้าหน้าที่จุดคัดกรองโรคจะสวมใส่หมวกกันน็อคอัจฉริยะ ที่สามารถประเมินอุณหภูมิในร่างกายอย่างเร็ว โดยใช้วิธีการถ่ายภาพด้วยความร้อน และระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการประมวลผล ซึ่งจะเป็นการประมวลผลในแบบ deep data ที่ช่วยในเรื่องความแม่นยำขึ้น สำหรับผู้ป่วยติดเชื้อที่ยังไม่แสดงอาการชัดเจน เป็นต้น

Credit Photo : Courtesy of Hamad International Airport/CNBC

ทั้งนี้ บริษัท Simpliflying ประเมินว่า ช่วงเวลาหลังจากนี้กว่า 70 ท่าอากาศยานทั่วโลกจะปรับเปลี่ยน และนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น คาดว่าจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ช่วงปลายปีนี้เป็นต้นไป

Credit Photo : nunawwoofy/Shutterstock

 

 

ที่มา : cnbc, simpliflying-report


  • 126
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม
CLOSE
CLOSE