สถานการณ์ COVID-19 ทำให้เราต้องใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์มากขึ้น ไม่ใช่แค่เพียงการสั่งซื้ออุปกรณ์ป้องกันไวรัส ข้าวของเครื่องใช้ หรืออาหาร แต่ยังรวมถึง “ข้อมูล” ที่ผู้คนต้องการค้นหาและติดตามอย่างใกล้ชิด
“Google ประเทศไทย” ได้เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจ จากพฤติกรรมการค้นหาของคนไทยผ่าน Google ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เกี่ยวกับเชื้อไวรัส COVID-19 โดยพบว่า…
– ประเทศไทย อยู่ในอันดับ 230 จาก 250 ประเทศ ที่สนใจค้นหาเกี่ยวกับไวรัสดังกล่าวในช่วงเดือนมีนาคม
– 15 มีนาคม เป็นวันที่ผู้คนให้ความสนใจค้นหาเกี่ยวกับไวรัส COVID-19 สูงเป็นประวัติการณ์
– จังหวัดที่มีการค้นหาเกี่ยวกับเชื้อไวรัสดังกล่าวสูงสุดในเดือนมีนาคม คือ กระบี่ พังงา และภูเก็ต (ตามลำดับ)
– ในเดือนดังกล่าวยังพบว่าจำนวนการค้นหา “สถิติโลกตามเวลาจริงของการติดเชื้อไวรัส” พุ่งขึ้นกว่า 3,900%
– การค้นหาว่า “สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาจะสิ้นสุดลงเมื่อใด” ก็เพิ่มขึ้นกว่า 3,700%
– มีการค้นหา “การติดตามสถานะผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา” เพิ่มขึ้นเช่นกัน มากถึง 960%
– เช่นเดียวกับการค้นหา “ข่าวไวรัสโคโรนาในประเทศไทย” ก็เพิ่มขึ้นกว่า 610%
นอกจากนี้ ยังมีคำถามยอดนิยมเกี่ยวกับ COVID-19 ในประเทศไทยอีกด้วย อาทิ…
– How many cases in each country
– Is sneezing a sign of coronavirus
– วิธีป้องกันไวรัสโคโรนา
– How is coronavirus transmitted
– How long does it take to recover from coronavirus
– How many coronavirus cases in Philippines
– How long do coronavirus symptoms last
– How many cases of coronavirus in Thailand
– How many coronavirus cases in the world
– Is coronavirus airborne
ส่วนการค้นหายอดนิยม 10 อันดับแรกของคนไทย เกี่ยวกับไวรัสโคโรนาเมื่อเดือนมีนาคม ได้แก่…
– Coronavirus tips
– Coronavirus USA
– Thailand coronavirus fälle
– Coronavirus tracker
– Tom Hanks
– Coronavirus Belgique
– Death total coronavirus
– Laos coronavirus
– UK coronavirus
– Thailand coronavirus news
อย่างไรก็ตาม “Google Trends” ยังเปิดเผยว่าคนไทยสนใจค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ “อาการของโรค” ด้วย โดยมีทั้ง “โคโรนาไวรัส” และ “อาการ ไข้หวัดใหญ่” แต่อัตราการค้นหาแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยอาการโคโรนาไวรัส มีสัดส่วนการค้นหาสูงถึง 96% ส่วนอาการไข้หวัดใหญ่มีเพียง 4%
ขณะที่การค้นห่เกี่ยวกับ “หน้ากากอนามัย – เจลล้างมือ – วิธีล้างมือ” ก็ยังมีอยู่ต่อเนื่อง โดยเรียงลำดับจำนวนการค้นหามาก – น้อย ตามลำดับ