ถอดรหัสการทำโฆษณาชวนเชื่อ ทำไมคนถึงเชื่อไปได้

  • 196
  •  
  •  
  •  
  •  

 

การทำโฆษณาชวนเชื่อนั้นมีมาเนิ่นนานจากในอดีต นับตั้งแต่ยุคอาณาจักรโบราณที่มีการทำโฆษณาชวนเชื่อถึงความสามารถของกษัตริย์ การรบ การปกครอง จนถึงเรื่องศาสนา โดยการทำโฆษณาชวนเชื่อมาจากภาษาอังกฤษที่เรียกว่า Propaganda โดยมีรากศัพท์มากจากวลีภาษาละตินในศตวรรษที่ 17 ว่า  Congregatio de Propaganda Fide”  แปลเป็นอังกฤษคือ The Congregation for the Propagation of the Faith, เป็นคณะกรรมการที่ก่อตั้งจากศาสนาคริสต์ในช่วงปี 1622 ที่มาหน้าที่มาต่อต้านความเชื่อแบบ Protestant และขยายศรัทธาของ Catholic

การใช้โฆษณาชวนเชื่อในยุคอดีตมักจะเกี่ยวข้องกับศาสนา จนถึงเมื่อเข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงมีการใช้โฆษณาชวนเชื่อในการสื่อสารกับประชาชนให้สนับสนุนสงคราม หรือเตรียมพร้อมทำสงคราม พร้อมทั้งสร้างภาพที่เลวร้ายให้ศัตรูขึ้นมา และมีมากสุดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่โฆษณาชวนเชื่อนั้นสามารถหล่อหลอมคนในชาติหนึ่งให้เกลียดกลัวเชื้อชาติ และกลุ่มคนบางประเทศ แล้วสร้างความขัดแย้งให้กลายเป็นสงครามที่เกิดขึ้นทั่วโลกได้ และต่อเนื่องมาถึงสงครามเย็น ซึ่งมีผลมาถึงประเทศไทยที่มีการทำโฆษณาชวนเชื่อในยุคปฏิรูปประเทศ และสงครามต่อต้านคอมมิวนิสต์ ที่มีการทำโฆษณาชวนเชื่ออย่างมาก

การได้ผลของโฆษณาชวนเชื่อนั้นไม่ใช่อยู่ที่แค่การใช้ข้อความในการกระตุ้นความเชื่อของคนให้เชื่อตาม แต่อยู่ที่การออกแบบโฆษณานั้นๆ ที่เอาสื่อที่ต้องการจะสื่อนั้น ส่งผ่านมายังการรับรู้ได้ ซึ่งพื้นฐานของการออกแบบงานโฆษณาชวนเชื่อจะประกอบด้วย

Simplicity : ความเรียบง่าย โดยการทำข้อความที่สื่อตรงๆ ทำให้เข้าใจได้ทันทีว่าต้องการสื่ออะไร และมีการแบ่งแยกเขากับเรา มิตรกับศัตรู ดีและชั่ว ถูกและผิด ทำให้สามารถเข้าใจ จดจำได้ทันที

Repetition : การทำซ้ำเป็นพื้นฐานอย่างหนึ่งของการทำโฆษณาชวนเชื่อ โดยการทำสื่อโฆษณาซ้ำๆ หรือทำสัญลักษณ์นั้นซ้ำๆ ทำให้ข้อความ สัญลักษณ์นั้นถูกจำเข้าสู่จิตสำนึกและทำให้ยอมรับว่านี่คือความจริง

Emotion Appeal : การทำโฆษณาชวนเชื่อคือการสร้างกระตุ้นทางอารมณ์ โดยการสร้างภาพบรรยายที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ให้โกรธ เกลียด กลัว หรือภูมิใจและเห็นใจ

Symbolism : มีการใช้สัญลักษณ์เพื่อช่วยในการสื่อสาร ทำให้เข้าใจ จดจำได้ โดยสัญลักษณ์นี้รวมถึงธงชาติ สีสันสัญลักษณ์ ภาพผู้นำ หรือคนเองก็ตาม

การรวมกลุ่มและสร้างศัตรู : การทำโฆษณาชวนเชื่อคือการสร้างแนวความคิดในการรวมกลุ่มให้แน่นและเชื่ออย่างเดียวกันโดยหาเหตุนั้นมาให้รวมกลุ่ม และสร้างศัตรูร่วมกันขึ้นมา เพื่อแบ่งแยก เขา กับ เรา ออกจากกัน

ทั้งนี้การที่โฆษณาชวนเชื่อนั้นได้ผลขึ้นมาก็เกิดขึ้นเพราะมีพื้นฐานมาจากทางจิตวิทยาที่ช่วยเสริมการออกแบบโฆษณาชวนเชื่อนั้นให้ได้ผล ทำให้สามารถควบคุมความคิดคนและสร้างลักษณะพฤติกรรมของคนที่ต้องการชวนเชื่อได้ออกมานั้นคือ

Leon Festingers Cognitive Dissonance Theory คือ ทฤษฎีความไม่คล้องจองของปัญญา ซึ่งเป็นกระบวนการที่บุคคลจะเกิดความไม่สบายใจ จึงต้องพยายามลดความไม่คล้องจองทางปัญญา (ความเชื่อ) ที่เกิดขึ้นและเพิ่มความกลมกลืนเพื่อลดความไม่สบายใจนั้น ทำให้หักล้างความเชื่อเดิมของคนไปเรื่อย ๆ ได้ กับ confirmation bias ที่เป็นทฤษฏีทางจิตวิทยาที่อธิบายปรากฏการณ์ที่ว่ามนุษย์เรานั้นเมื่อกำลังตัดสินใจอะไรบางอย่างหรือกำลังสร้างประเด็นในการถกเถียงเราก็จะหาข้อมูลต่างๆ ที่มาสนับสนุนความคิดเห็นต่างๆ ของเราขึ้นมา ทำให้โฆษณาชวนเชื่อตอกย้ำความเชื่อนี้เพิ่มขึ้นไปอีก

นอกจากนี้ยังมีทางสังคมวิทยาที่อธิบายว่าทำไมโฆษณาชวนเชื่อถึงได้ผล โดยการใช้เรื่องการแบ่งแยกเขากับเรา ทำให้คนที่อยู่รวมในสังคมและไม่อยากแตกต่างก็ต้องอยู่ภายใต้การกระทำและความเชื่อแบบเดียวกันในโฆษณาชวนเชื่อไป และเมื่อรวมกับการที่เห็นโฆษณาชวนเชื่อนั้นนานๆ ก็สามารถเปลี่ยนความคิดของคนที่เห็นโฆษณาชวนเชื่อนั้นได้อีกด้วยขึ้นมา

การทำโฆษณาชวนเชื่อนั้นถือเป็นเครื่องมือแบบหนึ่งที่ใช้ได้ถูกวิธี ก็จะสามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างมากในการสื่อสารเพื่อสร้างพลังที่สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมร่วมกัน แต่ถ้าใช้ไม่ดี ก็ทำให้เกิดความขัดแย้งที่มากมายจนทำลายกันเองได้ขึ้นมา


  • 196
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ
CLOSE
CLOSE