ประเมินค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวจีนในไทย ช้อปปิ้งอะไรบ้าง

  • 292
  •  
  •  
  •  
  •  

ประเมินค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวจีน

นักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาในประเทศไทย มีพฤติกรรมในการจับจ่ายซื้อของหรือมีค่าใช้จ่ายสำหรับการช้อปปิ้งกันอย่างไรบ้าง

เชื่อว่าคำถามนี้หลายคนอาจสงสัยและกำลังค้นหาข้อมูลกันอยู่ ซึ่งบางอย่างก็อาจจะค้นหาได้ในอินเทอร์เน็ต แต่เชื่อเถอะว่ามีของบางอย่างที่เป็นกระแสอยู่อย่างเงียบ ๆ แล้วท่านไม่ทราบ ไม่มีใครบอก นอกจากต้องลงไปสำรวจตลาดด้วยตนเอง หรือต้องทดลองขายด้วยตนเอง

วันนี้เราจึงรวบรวมข้อมูลที่มาจากการสำรวจเชิงปริมาณของนักท่องเที่ยวจีนจากในปี 2017-2018 ที่ผ่านมา แล้วรวมเข้ากับสถิติที่น่าสนใจอื่น ๆ รวมถึงประสบการณ์ส่วนตัวของแอดมินในการสำรวจตลาดของนักท่องเที่ยวจีน ซึ่งพบข้อมูลน่าสนใจออกมาดังนี้

ระยะเวลาในการท่องเที่ยว

คนจีนที่เข้ามาในประเทศไทยต่อทริป เฉลี่ยแล้วจะใช้เวลาอยู่ประมาณ 5 – 7 วัน กรณีนี้ยังรวมถึงกรุ๊ปทัวร์ด้วย ซึ่งแต่ละคนมีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 25,000 – 50,000 บาท ต่อหัว

สัดส่วนค่าใช้จ่าย

สัดส่วนการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวจีน ทั้งนี้จากการสำรวจของกลุ่มนักท่องเที่ยวแบบ FIT หรือพวกที่มาเอง เที่ยวสะพายเป้แบบแบ็กแพ็ก พอจะแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

ค่าใช้จ่ายส่วนนี้แทบจะไม่มีในกรณีกรุ๊ปทัวร์ แต่ถ้าเป็นการเที่ยวอิสระ ปรากฏว่าเป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายอันดับต้นๆ ตามมาด้วยการช้อปปิ้ง ซึ่งสินค้าเพื่อความงามมาเป็นอันดับหนึ่ง แล้วจึงเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องอาหาร

สถานที่พัก และกิจกรรมผ่อนคลาย

มีข้อมูลที่บ่งชี้ว่า สถานที่พักเป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายอันดับต้นๆสำหรับนักท่องเที่ยวจีน และมีแนวโน้มที่คนจีนให้ความสนใจออกมาเที่ยวเพื่อชื่นชมธรรมชาติ ทั้งในประเทศจีนเองและในต่างประเทศมากขึ้น ประเทศไทยเองก็เช่นกัน

ในปัจจุบัน สถานที่พักก็ไม่ได้จำกัดแค่โรงแรมชื่อดังทั่วไปเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสถานที่พักแบบอพาร์ทเมนต์ Guest House และการเช่าห้องแบบรายวัน ซึ่งการจองที่พักก็สามารถทำได้ผ่าน Agency แล้วในเวลานี้ที่พักในประเทศไทยหลายแห่งก็เริ่มดีลร่วมกับ Ctrip ซึ่งเป็นบริการเว็บไซต์สำหรับจองที่พักของจีนด้วย

นอกจากนี้ ยังมีอีกกิจกรรมที่คนจีนชอบมากก็คือการถ่ายรูปเซลฟี่ตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เพื่อนำไปรีวิวลงโซเชียลของเขาด้วย ดังนั้นถ้าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ไม่ได้ทำจุดไว้ให้สำหรับการถ่ายเซลฟี่ ถือว่าเป็นการเสียโอกาสอย่างน่าเสียดายครับ

ช้อปปิ้ง

นักท่องเที่ยวจีนเป็นลูกค้าชั้นดีอันดับต้นๆของร้านค้าไทย ซึ่งมีการสำรวจพบว่าสินค้าที่ซื้อไปส่วนใหญ่แล้วเป็นการซื้อไปใช้เองถึง 70% โดย 3 อันดับแรก ได้แก่ 1.อาหาร 2.ขนมขบเคี้ยว 3.เครื่องสำอาง

สำหรับกลุ่มที่ซื้อของฝาก มีราว 25% ขึ้นไป โดยผลิตภัณฑ์ทีได้รับความนิยมมากที่สุดได้แก่ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ สมุนไพร งานหัตถกรรม เครื่องสำอาง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม กลุ่มเครื่องสำอางยังได้รับความนิยมในแง่ซื้อเพื่อนำไปขายต่อด้วย ตามมาด้วยเสื้อผ้า และสมุนไพร

ทั้งนี้เราอาจพบว่า เครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม จะติดอันดับอยู่ทั้งหมดในทั้ง 3 ประเภทที่กล่าวมา

สำหรับกลุ่มหนึ่งที่เป็นกระแสภายในวง ได้แก่ พระเครื่อง เครื่องรางของขลัง ซึ่งเป็นที่นิยมมาตั้งแต่สมัยที่ดารานักแสดงฮ่องกงเข้ามาเช่าที่ประเทศไทยแล้วนั่นเอง

ทัวร์บริโภค

มาเที่ยวเมืองไทย แต่ไม่ได้ลิ้มรสอาหารไทยชื่อดังทั้งหลายโดยเฉพาะร้านอาหารแบบ Street Food สำหรับคนจีนแล้วถือว่ายังมาไม่ถึงเมืองไทย

ปัจจุบันร้านอาหารแนว Street Food ในเมืองไทย มีชื่อเสียงมากในระดับโลก ตัวอย่างเช่น ร้านเจ๊ไฝที่เป็นร้านแนวนี้ร้านเดียวที่ได้รับดาวมิชลินเมื่อปีก่อน ทำให้เกิดกระแสของร้าน (ที่ก็ดังอยู่แล้ว) ซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องราคาต่อเมนูที่แพงมาก แต่ขณะเดียวกันก็อัดวัตถุดิบดี ๆ เข้าไปเต็มที่ แล้วเมนูเหล่านั้นก็มักจะเป็นเมนูอาหารทั่วไปที่เข้าถึงได้ แต่มีเสน่ห์ที่ชวนให้ลิ้มรสชาติ เช่น ไข่เจียวปู ต้มยำกุ้ง เป็นต้น

นอกจากนี้แล้ว กลุ่มผลไม้ไทย และขนมหวาน ก็ถือว่ามีชื่อเสียงและมีการรีวิวในโซเชียลของจีนอยู่ตลอดเช่นกัน โดยอันดับหนึ่งของผลไม้ไทยที่คนจีนอยากมาลิ้มลองก็คือ ทุเรียน ส่วนขนมหวาน เท่าที่สำรวจล่าสุดก็คือ ไอศกรีมกะทิ เป็นต้น

โดยสรุป ถ้าทราบข้อมูลเหล่านี้แล้ว อย่างน้อยก็สามารถช่วยให้เราวางแผนในการทำตลาดกับคนจีนได้ดียิ่งขึ้น

เขียนโดย อิทธิชัย อรรถกระวีสุนทร
Expertise: China Marketing
อ่านบทความ Exclusive เพิ่มเติมได้ที่นี่

Copyright © MarketingOops.com


  • 292
  •  
  •  
  •  
  •  
Ittichai
ผู้ก่อตั้ง บริษัท เลเวลอัพ โฮลดิ้ง จำกัด ที่ปรึกษาด้านการตลาดจีน เจ้าของเพจ Level Up Thailand, Level Up China และ เว็บไซต์ Level Up Thailand (https://www.levelupthailand.com) มีความรู้ด้านการตลาดออนไลน์ในจีน เป็นนักพูดสร้างสรรค์ และผู้เขียนหนังสือ “บุกตลาดจีนด้วยโซเชียลมีเดีย”
CLOSE
CLOSE