ในวันที่คุณคิดจะเริ่มธุรกิจออนไลน์ หรือมีธุรกิจเป็นของตัวเอง แน่นอนว่าเป้าหมายแรกที่คุณตั้งคือ ประสบความสำเร็จ และเติบโตอย่างมั่นคง
ปัญหาแรกที่คุณต้องเผชิญคือ การทำทุกอย่างด้วยตัวเอง การใช้ความพยายามที่มีทั้งหมดให้เกิดประโยชน์ที่สุด มาเรียนรู้แนวคิดการดำเนินธุรกิจ 21 วิธี ที่จะช่วยให้คุณอยู่รอดได้บนโลกออนไลน์
1. รู้จักตัวเอง
ก่อนจะเริ่มต้นธุรกิจใดๆ ก็ตาม คุณต้องเชื่อมั่นในตัวเองเสียก่อน ต้องถามตัวเองว่าคุณพร้อมจะเจอกับอุปสรรคหรือไม่ พร้อมจะทนกับแรงกดดันมากแค่ไหน และค้นหาจุดแข็ง-จุดอ่อนของตัวเองให้เจอ อะไรที่ควรเข้าหา และอะไรที่ควรหลีกเลี่ยง ใช้เวลาที่มีให้มีประสิทธิภาพที่สุด ฯลฯ คุณต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ก่อนลงมือทำ
2. รู้จักใช้ สัญชาตญาณ และ แรงกระตุ้น
ที่ผ่านมาคุณอาจเห็นผู้บริหารหลายราย ที่ใช้สัญชาตญาณในการบริหารธุรกิจ และคุณอาจเห็นผู้บริหารบางคน ที่ใช้แรงกระตุ้นทำงาน เป็นเรื่องสำคัญที่คุณต้องทราบความแตกต่างของทั้ง 2 อย่างให้ได้ คิดอย่างระมัดระวังก่อนจะทำอะไร พิจารณาให้ดี อย่าไว้วางใจอะไรสุ่มสี่สุ่มห้า
3. เขียนเป้าหมาย
แม้จะเป็นเรื่องจริง แต่ได้โปรดอย่าเขียนคำว่า “เพื่อเงิน” นำกระดาษแผ่นเล็กๆ เขียนสิ่งที่คุณต้องการลงไป คนแบบไหนที่คุณอยากจะเป็น (ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับธุรกิจก็ได้) หรือเป็นเป้าหมายระยะยาว แล้วค่อยลงรายละเอียดถึงสิ่งที่จะทำแบบเฉพาะเจาะจง เช่น “ฉันอยากมีเวลามากขึ้น เพื่อ….” “ฉันต้องการความอิสระ” ฯลฯ โดยเป้าหมายนี้จะเป็นเครื่องเตือนใจในการทำงานได้ ปล. แนะนำให้เขียนด้วยลายมือตัวเอง อย่าพิมพ์เด็ดขาด
4. หาข้อมูล
ในการทำธุรกิจ จะหวังพึ่งพาสัญชาตญาณอย่างเดียวก็คงไม่ได้ หรือจะใช้ความเห็นส่วนตัวก็คงไม่หนักแน่นพอ คุณจำเป็นต้องมีเครื่องมือเพื่อมายืนยันการตัดสินใจ ก่อนจะเลือกทำตลาดกับผู้บริโภคในกลุ่มใด ก็ต้องทำการวิจัยผู้บริโภคในกลุ่มนั้นเสียก่อน เพื่อดูแนวโน้มความเป็นไปได้ของแบรนด์ สำรวจความต้องการ ในช่วงแรกนี้ ทุกการกระทำคุณต้องมีคำอธิบายที่ชัดเจนว่า ทำไมถึงทำ
5. รู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร
ในทุกๆ ธุรกิจ ย่อมมีเรื่องต้องห้าม เรื่องที่ไม่ควรเอ่ยถึง เรื่องที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกแย่ ภาษาที่ไม่ควรใช้ ประเด็นที่ละเอียดอ่อน ฯลฯ ยกตัวอย่างเช่น ถ้ากลุ่มเป้าหมายของคุณทานมังสวิรัติ คุณก็ไม่ควรโพสอะไรที่เกี่ยวกับสัตว์ หรือเนื้อสัตว์ เพราะถ้าคุณยังทำผิดอยู่ นั่นแสดงให้เห็นว่าคุณไม่ได้ใส่ใจพวกเขาอย่างแท้จริง
6. ลองอะไรใหม่ๆ
อย่างที่เราได้กล่าวไปแล้วในข้อ 2 เรื่องแรงกระตุ้น เราไม่ได้บอกว่าการใช้แรงกระตุ้นในการทำธุรกิจเป็นสิ่งผิด แต่คุณควรใช้แรงกระตุ้นเพื่อทำสิ่งใหม่ๆ สร้างโอกาสทางการตลาดออนไลน์ให้มากขึ้น
7. เป็นเจ้าแรก
ทุกคนย่อมต้องการเป็นรายแรก เป็นเจ้าแรก และเป็นต้นฉบับที่ดี คุณต้องพยายามทำในสิ่งที่แตกต่าง โดดเด่น เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้เป็นที่จดจำ เป็นเจ้าแรกที่ทำ แต่ต้องทำในสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ ดึงดูดความสนใจ และสร้างความตื่นเต้นได้
8. มียุทธศาสตร์ และวางแผนล่วงหน้า
การวางแผนที่ดีนั้น ต้องช่วยสนับสนุนเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งการวางแผนระยะสั้น ระยะยาว เขียนสิ่งที่ต้องทำใน 10 ปี 5 ปี 1 ปี และ 1 เดือน เจาะลึกให้ถึงวิธีการดำเนินการ
9. พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
แม้ว่าจะมีแผนธุรกิจในระยะยาวแล้ว แต่อนาคตคุณก็คาดเดาอะไรไม่ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างพร้อมจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งพฤติกรรมผู้บริโภค เทคโนโลยี เป็นต้น อย่ายึดติดกับกลยุทธ์แบบเดิมมากเกินไป ต้องเตรียมความพร้อมอยู่เสมอ
10. ตามติดทุกฝีก้าว
อย่างที่กล่าวไปสักครู่ว่าทุกสิ่งมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา คุณต้องเฝ้าระวัง เกาะกระแสอย่าให้คลาด ทั้ง Social Network, Email, Apps ฯลฯ เพื่อสังเกตแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง และคาดการณ์ค่าใช้จ่ายในอนาคต
11. ทุกอย่างต้องมีเอกสาร
การให้ความสำคัญกับเอกสาร จะมีผลต่อผลประกอบการอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการปรับแก้เว็บไซต์ หรือผลิตภัณฑ์ รวมถึงอีเมลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ รายจ่ายเล็กๆ น้อยๆ เพราะคุณไม่มีทางรู้เลยว่า วันหนึ่งคุณอาจต้องแสดงเอกสารเหล่านี้เพื่อเป็นหลักฐานทางกฎหมายก็ได้
12. ตั้งงบประมาณ
ในการวางแผนกลยุทธ์ สิ่งสำคัญคือ การจัดสรรงบประมาณที่ชัดเจน และอย่าลืมคำนึงค่าใช้จ่ายฉุกเฉินด้วย ทั้งนี้ การแบ่งงบประมาณจะขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจคุณ
13. อย่ารีรอ
แค่คิดอยากจะเป็นอิสระ มีธุรกิจเป็นของตัวเอง “อย่ารีรอ” การเริ่มต้นคือส่วนที่ยากที่สุด ยากที่ต้องแบกภาระไว้บนบ่า แต่ถ้ามัวแต่ผัดวันประกันพรุ่ง คุณได้ไม่ได้เริ่มทำอะไรสักที จงทำในสิ่งที่ตัวเองอยากทำ และทำให้ดี
14. แสดงความรับผิดชอบ
ในช่วงแรก การลงมือทำ อาจทำให้คุณกล้าๆ กลัวๆ “การพูด” จึงง่ายกว่า แต่ถ้าได้เอ่ยปากไปแล้ว ก็ยากที่จะเรียกคำพูดเหล่านั้นกลับคืน และเมื่อพูดไปแล้ว ก็ต้องแสดงความรับผิดชอบ ขั้นแรกจึงต้อง บอกคนอื่นเกี่ยวสิ่งที่กำลังจะทำ เป้าหมายที่มี และการวางแผน แล้วอย่าลืมแบ่งปันความคิดเหล่านี้ไปยัง Social Media ด้วย เช่น Medium.com เพื่อช่วยกระตุ้น ผลักดันให้คุณลงมือทำได้เร็วขึ้น
15. ต้องเป็นไปได้
ต้องเป็นไปได้ ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง การกำหนดเป้าหมายของธุรกิจ แต่หมายถึง ความคาดหวังจากตัวเองในทุกๆ วัน ทั้งในเรื่องการใช้ชีวิต การทำงานอย่างเป็นขั้นตอน รวมไปถึงคนรอบข้างด้วย ช่วยกันพัฒนาศักยภาพของกันและกัน เพื่อไปให้ถึงจุดหมาย
16. ติดตาม Influences
ไม่ว่าจะอยู่ในธุรกิจใด ตัวพ่อ ตัวแม่ในวงการ ก็เป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลอย่างมาก การติดตามพวกเขาจะช่วยให้คุณทราบถึงความเคลื่อนไหวในแวดวงธุรกิจของคุณ ซึ่งจะช่วยพัฒนาการทำงานได้ เรื่องไหนเป็นกระแส เรื่องไหนกำลังได้รับการพูดถึง คนเหล่านี้จะบอกคุณเอง
17. สร้างเครือข่าย
ในการทำธุรกิจคุณจะอยู่คนเดียวไม่ได้ การสร้างเครือข่ายทั้งแบบออนไลน์ และออฟไลน์จะช่วยขยายฐานธุรกิจให้ไกลขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมสัมมนา การเสวนา การตั้งกลุ่มบน Social Network คุณต้องทำความรู้จักกับคนให้มากขึ้น และติดต่อกับพวกเขาสม่ำเสมอ
18. เรียนรู้จากคนอื่นๆ
ในขณะที่คุณกำลังสร้างเครือข่าย คุณก็ต้องเรียนรู้จากคนเหล่านั้นด้วย หมั่นสังเกตุว่าพวกเขารู้สึกอย่างไร ต่อสถานการณ์นั้นๆ ทำความเข้าใจต่อพฤติกรรมผู้บริโภค เรียนรู้การเข้าถึงผู้บริโภค
19. ให้เครดิตคนสำคัญ
สำหรับผู้ที่ให้ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ หรือการอ้างอิงใครสักคน คุณควรให้เครดิตพวกเขาด้วย ทั้งการใส่ลิ้งก์บัญชี Social Media และบล็อก เพื่อแสดงความขอบคุณ
20. เลือกทีมที่ชาญฉลาด
ในท้ายที่สุด ธุรกิจของคุณก็จำเป็นต้องมีทีมงาน ส่วนจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กร และนี่คือเหตุผลที่คุณต้องใช้เวลาในการสร้างทีมที่มีคุณภาพ เมื่อคุณพบคนที่เหมาะสม พยายามสร้างบรรยากาศการทำงานให้มีความสุข จัดสรรผลตอบแทนอย่างเป็นธรรม
21. ผ่อนคลาย
หลังจากแบกภาระไว้เต็มบ่า เมื่อเสร็จสิ้นภาระกิจบางอย่าง ก็ได้เวลาผ่อนคลาย พักสมอง พักร่างกาย เพื่อชาร์จแบต เตรียมเข้าสู่แผนการต่อไป
จาก 21 วิธี ที่กล่าวไปนั้น เป็นการแนะนำแนวคิดดีๆ สำหรับการทำธุรกิจ ตั้งแต่กระบวนการคิดริเริ่ม ไปจนถึงภาพรวมการบริหารองค์กร เชื่อว่าหลายๆ คนจะได้เจอเมื่อเริ่มลงมือทำจริง ทั้งนี้ คุณก็สามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเองได้