เช็คพฤติกรรมนักชอป เมื่อคนถูกใจแบรนด์ที่ขายทั้งออนไลน์และออฟไลน์ – เทรนด์ Digital Goods เติบโต

  • 344
  •  
  •  
  •  
  •  

insight-lazada-customer

อาจเป็นเรื่องที่ได้ยินและเห็นบ่อยครั้งในช่วงที่ผ่านมา สำหรับ Insight ของเหล่านักชอปออนไลน์ แต่เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ยังคงอยู่ ผู้บริโคจึงต้องเลือกซื้อสินค้าต่าง ๆ ผ่านออนไลน์เป็นหลัก ทำให้นักการตลาดและแบนด์ยังคงจำเป็นต้องเรียนรู้พฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าต่อไปเช่นกัน

ล่าสุด Lazada ได้เปิดเผย Insight จากผู้บริโภคบนแพลตฟอร์ม โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

 

ใช้เวลาอยู่บนแอปนานขึ้น

ผู้บริโภคใช้เวลาบนแอปต่อเดือนนานขึ้น เฉลี่ย 70 นาที และเข้าใช้งานเฉลี่ย 7 ครั้งต่อเดือน

 

ยอดซื้อต่อครั้งลด รอซื้อตอนมีโปรฯ

ปัจจุบันจะพบว่ายอดใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้ง (Average budget size spending) ของผู้บริโภคลดลงถึง 30% เมื่อเทียบกับยอดใช้จ่ายในปี 2563 โดยการจัดเซ็ตสินค้าพร้อมโปรโมชันจะช่วยเพิ่มความคุ้มค่าให้กับสินค้าและบริการ ช่วยจูงใจให้ผู้บริโภคตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

 

ผู้หญิงชอปเก่ง แต่ผู้ชายก็ไม่แพ้

บนแพลตฟอร์ม Lazada สัดส่วนนักชอปทั้งชายหญิงไม่ห่างกัน แบ่งเป็นผู้หญิง 52% และผู้ชาย 48% โดยสินค้าผู้หญิงที่ได้รับความนิยมสูงสุดได้แก่ สกินแคร์ เครื่องสำอาง เสื้อผ้า ขณะที่ ร้านค้าและสินค้าผู้ชาย ก็มีจำนวนมากขึ้นราว 30% เมื่อเทียบกับปี 2563

 

ต่างจังหวัดก็ชอปออนไลน์มากขึ้น

จากเดิมที่สัดส่วนนักชอปบน Lazada จะอยู่ที่กรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ แต่ปัจจุบัน พบว่า 85% เป็นผู้บริโภคที่อาศัยในต่างจังหวัดเป็นหลัก เนื่องจากเป็นการปรับพฤติกรรมมาเลือกซื้อสินค้าทางออนไลน์จากช่วงที่ภาครัฐออกมาตรการล็อกดาวน์ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน

 

Gen Y เข้าสู่เส้นทางนักชอป

พบว่าอายุของนักชอปออนไลน์ในกลุ่ม Gen Y มีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก โดยคิดเป็น 70% ของนักชอปทั้งหมด

 

คนไทยชอบให้แบรนด์มีทั้งออนไลน์และออฟไลน์

จากรายงาน Future Shopper 2021 ของวันเดอร์แมน ธอมสัน ระบุว่าคนไทย 82% นิยมซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่มีร้านทั้งออฟไลน์และออนไลน์ การมีร้านทั้งสองช่องทางจะช่วยให้แบรนด์ชนะใจผู้บริโภคง่ายขึ้น โดยเฉพาะการขยายไปอีคอมเมิร์ซที่ช่วยให้สามารถเข้าถึงนักชอปได้ทั่วประเทศ

 

ของใช้เกี่ยวกับ COVID-19 ขายดี

แน่นอนว่าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 เป็นสินค้าที่ได้รับความนิยม รวมถึงอุปกรณ์สำหรับ Home Isolation เช่น หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ เครื่องวัดอุณหภูมิ เครื่องวัดออกซิเจนจากปลายนิ้ว ถุงขยะสีแดงมีหูผูกสำหรับขยะติดเชื้อ เป็นต้น โดยตั้งแต่เดือน มิ.ย. สินค้าในกลุ่มดังกล่าวมีความต้องการเพิ่มขึ้น 70%

 

สินค้า Digital Goods เติบโต

กลุ่มสินค้าดิจิทัล (Digital Goods) ได้รับความนิยมอย่างมาก เช่น บัตรเติมเงินมือถือ บัตรกำนัล ประกัน แพ็กเกจตรวจสุขภาพ ใบจองคอนโด โดยที่ผ่านมายอดขายแพ็กเกจตรวจสุขภาพของโรงพยาบาลต่าง ๆ บน Lazada เติบโตขึ้นกว่า 1,000% สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพ สะท้อนว่า…อนาคต สินค้าที่ไม่สามารถจับต้อง ก็สามารถขายบนช่องทางออนไลน์ได้

 

นักชอปคาดหวังกับบริการจัดส่งพัสดุ

แน่นอนว่าเมื่อสั่งซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ บริการด้านการจัดส่งจึงกลายเป็นหนึ่งในความคาดหวังของผู้บิโภค โดยเฉพาะ ส่งฟรี ที่ทำให้ร้านค้าได้รับความสนใจมากขึ้น พบว่าร้านค้าที่มีโปรโมชันส่งฟรีมียอดขายเพิ่มขึ้นถึง 40% โดยตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมียอดใช้งานจัดส่งฟรีบน Lazada ไปแล้วกว่า 117 ล้านครั้ง ขณะที่ แคมเปญส่งเสริมการขายอื่น ก็ช่วยเพิ่มยอดขายเช่นกัน อาทิ ช้อป 9 บาททุกวัน ที่ดันยอดขายให้ร้านค้าถึง 560% เป็นต้น


  • 344
  •  
  •  
  •  
  •  
Ms.นกยูง
เมื่อโลกไม่เคยหยุดหมุน เราก็ไม่ควรหยุดเรียนรู้... ชวนคุณมาทำความรู้จักหลากหลายเรื่องราว ทั้งสาระและสีสันบนโลกดิจิทัลไปพร้อมกัน
CLOSE
CLOSE