ฮีลใจตัวเองอย่างไรให้เวิร์ก เมื่อเกิดอาการ Burnout Syndrome ภาวะหมดไฟของวัยทำงาน

  • 162
  •  
  •  
  •  
  •  

 

“การตื่นเช้าไปทำงานทำไมถึงทรมานมาก”

“ฉันทำงานได้ไม่ดีเท่าเดิม”

“หรือฉันกำลังเป็นซึมเศร้า”

 

เคยไหม? ที่รู้สึกไม่อยากเข้าแอปพลิเคชั่นไลน์ เพราะไม่อยากเห็นข้อความเกี่ยวกับงาน ชีวิตที่ดำเนินไปด้วยงานผสมปนเปกับชีวิตส่วนตัว จนแยกไม่ออกว่าไหนเวลางาน ไหนเวลาส่วนตัว ยิ่งในยุคปัจจุบันผู้คนเริ่มทำงานที่ไหนก็ได้ ทำงานที่บ้านได้ ช่องว่างระหว่าเวลางานกับเวลาส่วนตัวเริ่มหายไป คนทำงานทั่วโลกนั้นยังคงรู้สึกว่ากำลังทำงานเกินกำลัง และมีภาวะ Burnout ภาวะที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโรคใหม่ขององค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อไม่นานมานี้ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจที่เป็นผลจากความเครียดเรื้อรังในสถานที่ทำงาน

 

มนุษย์เงินเดือนหลายคนก้มหน้าทำงานแบบหัวใจเริ่มแตกสลาย ปากบอกไหวแต่ใจกำลังหมดไฟ Burnout Syndrome ภาวะสุดฮิตของคนวัยทำงาน คนทำงานเกือบครึ่งกำลัง Burn Out ซึ่งล่าสุดผลวิจัยจากบริษัท Microsoft ที่สำรวจกลุ่มตัวอย่าง 20,000 คนใน 11 ประเทศระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาพบว่ามีพนักงานเกือบ 50% และพนักงานระดับผู้จัดการอีก 53% รายงานว่ามีอาการ Burnout จากการทำงาน

 

อาการ Burnout Syndromeภาวะหมดไฟของวัยทำงาน

สำหรับอาการ Burnout หรือ “ภาวะหมดไฟในการทำงาน” นจะมีลักษณะอาการดังต่อไปนี้

  • เหนื่อยล้าทางอารมณ์
  • รู้สึกหมดพลัง
  • สูญเสียพลังใจ
  • มีทัศนคติเชิงลบต่อความสามารถของตนเอง
  • ลดทอนความมั่นใจตัวเอง
  • ขาดความเชื่อมั่นในความสำเร็จ
  • ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
  • ความสัมพันธ์ในที่ทำงานทั้งกับผู้ร่วมงานและลูกค้าแย่ลง

สำหรับการสังเกตตัวเองว่าเกิดภาวะหมดไฟในการทำงานหรือไม่ก็ดูได้จากหลายด้านเช่น

  • ด้านอารมณ์ จะเกิดอาการหดหู่ เศร้า หงุดหงิด โมโหง่าย อารมณ์แปรปรวน ไม่พอใจในงานที่ทำ หมดความมั่นใจ
  • ด้านความคิด อาจเกิดอาการมองคนอื่นในแง่ลบ โทษคนอื่น หนีปัญหา และไม่มั่นใจในศักยภาพของตัวเอง นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมผัดวันประกันพรุ่ง ขาดความกระตือรือร้น บริหารจัดการเวลาไม่ได้ เป็นต้น
  • ผลกระทบกับร่างกายเช่นเกิดอาการเหนื่อยล้า ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย รวมถึงนอนไม่หลับ และอาจนำไปสู่การตัดสินใจลาออกจากงานในที่สุดหากไม่ได้รับการแก้ไข

 

วิธีฮีลใจเมื่อเกิดอาการ Burnout Syndrome

  1. พักผ่อนกลับมาดูแลร่างกายให้ดี

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของสุขภาพ การพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์หรืออาหารที่ชอบก็สามารถทำให้หายเครียดได้ พยายามเลี่ยงสิ่งเสพติด ไม่ว่าจะเป็น เหล้า บุหรี่ หรือว่ากาแฟ อาจจะลองลาพักผ่อนเป็นช่วงสั้น ๆ เพื่อให้ร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ของคุณได้รีเฟรชและคืนความสมดุลกลับมา

 

  1. จัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำ

บางครั้งสิ่งที่ทำให้เกิดความกดดันคือการมองว่าทุกสิ่งที่ต้องทำสำคัญทุกอย่าง ซึ่งในความจริงแล้วเราสามารถเรียงลำดับความสำคัญของสิ่งเหล่านั้นได้ ให้เป็นขั้นเป็นตอนและลงมือทำอย่างไม่กดดันการให้แนวทางและจัดลำดับความสำคัญของงานที่มีอยู่จะช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น

 

  1. Social Detox ลดการใช้มือถือ แท็ปเลต และหาทางผ่อนคลายด้วยวิธีอื่น

ลดการเล่นมือถือ หรือการใช้ Social Detox คือการทำกิจกรมบนออนไลน์ให้น้อยลง และลองหาวิธีผ่อนคลายทางอื่น เช่น อ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง ออกกำลังกาย ปลูกต้นไม้ หรือเที่ยวในสถานที่ใหม่ ๆ อะไรก็ได้ทำคุณชอบ และพอได้ทำแล้วก็รู้สึกมีความสุข หรือจะลองนั่งสมาธิ ก็เป็นการผ่อนคลายที่ดีและยังช่วยฝึกจิตใจให้สงบสุขอีกด้วย

 

  1. ปรับเปลี่ยนวิธีการวัดประสิทธิภาพในการทำงาน

ปรับทัศนคติในการทำงาน เรียนรู้ความสามารถของตัวเองสังเกตและกลับมาทบทวนว่าคุณมีความสามารถในการทำงานอย่างไร ทำอะไรได้ดี อะไรที่ต้องพัฒนา งานแบบไหนที่เราชอบหรือไม่ชอบ ลองกลับมาทำความเข้าใจตัวเองอีกครั้ง และพยายามมองทุกสิ่งอย่างที่มันเป็น รวมถึงความเครียด ซึ่งเป็นตัวการสำคัญของภาวะหมดไฟ ลองมองความเครียดในแง่ใหม่ มองว่าเป็นธรรมชาติของการทำงาน จากเดิมที่วัดจากงานที่ทำเพียงอย่างเดียวเป็นการดูที่ผลของงานนั้นๆด้วย เป็นสิ่งที่สามารถมีได้ เพราะการมีความเครียดในระดับที่พอดี จะทำให้คุณมีความใส่ใจในการทำงาน ทำให้ผลงานออกมาเป็นที่น่าพอใจ

 

  1. ปรึกษาจิตแพทย์

ถ้าคุณยังอยู่ในระยะเริ่มต้นของภาวะ Burnout หรือคิดว่าสิ่งที่เป็นอยู่นั่นคืออะไร หาทางออกไปเจอกับปัญหานี้อาจจะลองคุยกับเพื่อนหรือคนรอบข้างดูก่อนก็ได้ อีกทางเลือกหนึ่งคือการพบจิตแพทย์เพื่อเป็นการพูดคุย ประเมินอาการ ก่อนจะนำไปสู่สภาวะเครียด จนถึงสภาวะซึมเศร้า การพบจิตแพทย์ในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องแปลก คำแนะนำคำปรึกษาของจิตแพทย์ที่ช่วยเป็นแนวทางในการทำงานต่อไปได้ จนคุณกลับมาเป็นคนที่มีแรงบันดาลใจ มีไฟในการทำงานอย่างเต็มเปี่ยมอีกครั้ง

 

สังคมในปัจจุบันคอยกดดันให้เราประสบความสำเร็จอยู่เสมอ ซึ่งคำว่าความสำเร็จดังกล่าวไม่ได้มีตัววัดตายตัวเสมอไป แต่ละคนตีความคำว่าความสำเร็จต่างกัน บางครั้งแค่เรามีความสุขเล็กๆ น้อยๆ ระหว่างวันมันอาจจะเป็นความสำเร็จสูงสุดของวันนั้นๆได้แล้ว อย่าลดทอนคุณค่าของตัวเองเพียงแค่เรื่องงานจงเติมไฟให้ตัวเองอยู่ตลอดเวลา


  • 162
  •  
  •  
  •  
  •